ThaiPBS Logo

เรียนดีมีความสุข (ลดภาระครู-นร.)

‘เรียนดี มีความสุข’ นโยบายการศึกษา โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งผู้ปกครอง หวังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษา 2 ข้อหลัก คือ การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

4 ด้าน นโยบายการทำงาน : ลดภาระครู-บุคลากรทางการศึกษา

  1. ปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดขั้นตอนมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะที่เน้นตามสภาพจริง ลดการทำเอกสาร-ขั้นตอนการประเมิน ไม่ซับซ้อนและเป็นธรรม
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น สามารถโยกย้ายกลับภูมิลำเนาด้วยความโปร่งใส ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง พร้อมสำรวจสถานการณ์ครูขาดแคลนในแต่ละพื้นที่ตามภูมิลำเนาเดิม
  3. แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการวางแผนการใช้เงินและการเก็บออมเงิน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีพ รวมทั้งเร่งช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ NPL โดยเร่งด่วน
  4. จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ 1 ครู 1 Tablet สนับสนุนจัดหาอุปกรณ์ช่วยจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงระบบออนไลน์รองรับการใช้งานให้เพียงพอกับจำนวนครูผู้สอน

6 เรื่องเร่งด่วน: ลดภาระนักเรียน – ผู้ปกครอง

  1. Anywhere Anytime เรียนทุกที่ ทุกเวลา เรียนฟรี มีงานทำ
    ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (1 นักเรียน 1 Tablet) ด้วยการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน (สถานประกอบการ) ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษา โดยให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมในระหว่างการเรียนหรือฝึกอาชีพ นำแพลตฟอร์มการเรียนรู้แห่งชาติมาผสมผสานการเรียนการสอนแบบเดิมในห้องเรียนกับการเรียนการสอนออนไลน์ (Hybrid Education) ผู้เรียนจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และขยายการเรียนรู้ไปถึงประชาชนทุกช่วงวัยทั่วประเทศให้มีโอกาสทางการศึกษา เข้าถึงเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ตลอดจนพัฒนาการศึกษาผ่านระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกัน
  2. จัดให้มี 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพต้นแบบอย่างน้อย 1 โรงเรียนในแต่ละอำเภอหรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อนำร่องการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สื่อ อุปกรณ์ และงบประมาณในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่องทุกปีงบประมาณ
  3. ระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยจัดให้มีระบบแนะแนวตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบแนวทางการเรียน และเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดระยะเวลาการเรียน
  4. การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ด้วยการนำหน่วยกิตที่สะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษา สามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน
  5. จัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบ ด้วยการจัดทำระบบการเทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์หรือสมรรถนะจากระบบเดียวกัน แต่ต่างสถานศึกษา หรือจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งหรือจากต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเข้าศึกษาหรือการรับรองระดับการศึกษาต่างสถานศึกษาหรือต่างระบบได้
  6. มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) ด้วยการจัดการอาชีวศึกษาระดับวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับเทคนิค โดยมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ให้ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพได้ทันต่อความต้องการกำลังคนของประเทศ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

6 เรื่องสั่งการ ทำทันที

  1. ผู้บริหารทุกภาคส่วนในสังกัด นํานโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (Action Plan)
  2. ดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โดยเน้นย้ำห้ามซื้อ-ขายตําแหน่ง ห้ามทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ ชุดนักเรียน อาหารกลางวัน ฯลฯ และต้องจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
  3. น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ
  4. ให้ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาด
  5. ส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นกระบวนการ โดยครูต้องเป็นต้นแบบ ในการรักการอ่าน
  6. การลงพื้นที่ตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม ให้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับการตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม โดยให้ดำเนินการอย่างเรียบง่ายและประหยัด เช่น ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ ไม่มีของที่ระลึกหรือของฝาก

นโยบายหาเสียง ‘ก่อนเลือกตั้ง’ เพื่อไทย-ภูมิใจไทย

ช่วงก่อนหาเสียงเลือกตั้ง ทั้ง 2 พรรคการเมืองได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาได้ โดยพรรคภูมิใจไทยซึ่งเป็นพรรคต้อนสังกัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยนายกมล รอดคล้าย คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ระบุว่า

  • เรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี
  • ระบบธนาคารหน่วยกิต
  • สอนอาชีพธุรกิจดิจิตอล
  • Virtual School ทั้งออนไลน์และออนไซต์
  • ระบบจัดสรรครู จัดให้มีครูทั่วถึง 80,000 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 10 คน
  • เงินยืมเพื่อการศึกษา ระยะสั้น ไม่คิดดอกเบี้ย

ขณะที่พรรคเพื่อไทย มีนโยบายด้านการศึกษาดังนี้

  • ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านขั้นตอน Learn to Earn” เพื่อ “เรียนรู้มีรายได้ เรียนรู้ง่ายตลอดชีวิต” ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกช่วงทุกวัย สามารถโอนหน่วยกิตที่สะสมไว้ หางานได้ในทุกช่วงของชีวิต
  • จบปริญญาตรีอายุ 18 ปรับระบบการศึกษาจาก 6-6-4 ไปสู่ระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อสนับสนุนคนเข้าตลาดแรงงานเร็วขึ้น
  • “Free tablet for all” โครงการ 1 นักเรียน 1 แท็บเล็ต และ โครงการ 1 ครู 1 แท็บเล็ต เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาผ่านออนไลน์
  • โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน (ODOS) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับประชาชน
  • เรียนฟรีต้องฟรีจริง เพิ่มงบอาหารกลางวันและบริการรถรับส่งนักเรียนฟรี
  • เรียนอาชีวะฟรีมีอยู่จริง ปั้นสถานอาชีวะเป็นศูนย์สร้างสรรค์สร้างตัวได้
  • โรงเรียน 2 ภาษาในทุกท้องถิ่น สอนภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาจีน ตั้งแต่ ป.1 ใช้ครูต่างประเทศสอนเสริมร่วมกับครูไทย ทั้งในห้องเรียนและออนไลน์
  • มีศูนย์การเรียนรู้แบบ TCDC และ TK Park ให้ครบทุกจังหวัด

จำนวนบุคคลากร-ครู-นักเรียน ในระบบการศึกษา (ข้อมูลปัจจุบัน ก.ย. 2566)

  • บุคลากรสังกัด ศธ. 702,097 คน
  • นักเรียนสังกัด สธ. 10,450,442 คน
  • สถานศึกษาสังกัด สธ. 51,285 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สพฐ.และ สช. 15,874 แห่ง, สถานศึกษานอกระบบ 1,050 แห่ง, สถานศึกษาอาชีวะ 880 แห่ง

กฎหมาย แผนยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
  • แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 – 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 28/2559 ลงวันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2559 เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี

 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ครม.อนุมัติงบกลาง 618.80 ล้านบาท จ้างเหมานักการภารโรงทั่วประเทศนาน 5 เดือน ให้ทันก่อนเปิดเทอม พ.ค. 67 เพื่อลดภาระครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ   ดูเพิ่มเติม ›

    9 เม.ย. 2567

  • รัฐบาลเตรียมดำเนินโครงการแห่งความรัก 14 โครงการ และอีก 1 แนวทางสนับสนุนกิจกรรม 3 ด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากร  ดูเพิ่มเติม ›

    14 ก.พ. 2567

  • ครม.มีมติยกเลิก "ครูเวร" ทั่วประเทศ

    23 ม.ค. 2567

  • พล.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. พบหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอานาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย หารือความร่วมมือด้านการศึกษากับจีน มุ่งให้นักเรียน “เรียนดี มีความสุข”

    1 ธ.ค. 2566

  • ศธ.หารือร่วมกับ ป.ป.ช. เพื่อจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้ความรู้ และเน้นการป้องกัน สอดแทรกกับการเรียนวิชาต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนทุกช่วงวัย ในลักษณะของสื่อออนไลน์ e-Book e-Learning

    27 พ.ย. 2566

  • พล.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เปิดงานมหกรรมวิชาการ นนทบุรี ภายใต้ “เรียนดี มีความสุข วิถีนนท์ วิถีคุณภาพ” เด็กนนท์เรียนได้ทั่วไทย-ทั่วโลก

    25 พ.ย. 2566

  • สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ.มอบนโยบาย ประชุม ผอ.สพท. ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3/2566 เดินหน้า “เรียนดี มีความสุข"

    16 พ.ย. 2566

  • รมว.ศธ.ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) แสดงจุดยืนนโยบายการศึกษาไทย “เรียนดี มีความสุข” สอดรับตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG4 ในเวทียูเนสโก

    8 พ.ย. 2566

  • ศธ. ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567 ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (ต.ค.66 – พ.ค.67) และแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

    19 ต.ค. 2566

  • สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย ให้แก่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

    4 ต.ค. 2566

  • พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. แถลงนโยบายการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”

    14 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สัดส่วนครูที่ทำงานหนักเกินจำนวน 8 ชั่วโมงต่อวัน (เพิ่ม/ลดลง เทียบกับตัวเลข ร้อยละ 94.6 จากการสำรวจในปี 2562)
สัดส่วนครูที่ใช้เวลาทำงานที่ไม่ใช่การสอนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เพิ่ม/ลดลง เทียบกับตัวเลข ร้อยละ 58 จากการสำรวจในปี 2562)

อินโฟกราฟิก

1-1024x576

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
คะแนน PISA ย่ำแย่ ปัญหามากกว่าเรื่องระบบการศึกษา

คะแนน PISA ย่ำแย่ ปัญหามากกว่าเรื่องระบบการศึกษา

เด็กในคำขวัญ = เด็กในผัน เมื่อระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์

เด็กในคำขวัญ = เด็กในผัน เมื่อระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์

“มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย” เป็นคำขวัญวันเด็กปีนี้ ที่นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มอบไว้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2567 แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ เมื่อคำขวัญไม่ตอบโจทย์
สรุปข้อเสนอยกระดับการศึกษา หลัง PISA เด็กไทยต่ำ

สรุปข้อเสนอยกระดับการศึกษา หลัง PISA เด็กไทยต่ำ

หลัง ศธ. แถลงผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) 2565 ซึ่งเป็นการวัดผลเกี่ยวกับเรื่องความคิดความอ่าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทุก ๆ 3 ปี พบว่าอันดับของเด็กไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี Policy Watch รวบรวมความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย