เด็กไทยจำนวนนับล้านคนกำลังมีปัญเข้าไปไม่ถึงระบบการศึกษาในปัจจุบัน โดยเฉพาะเด็กในครัวเรือนเกษตรกรรมของไทยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จากรายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัวประจำปี 2024 ของคิด for คิดส์ ร่วมกับ The101.world พบว่าเด็กที่เติบโตในครัวเรือนเกษตร อายุไม่เกิน 25 ปี มีจำนวน 7.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.2 ของจำนวนเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ โดยนับรวมทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและแรงงานการเกษตร กิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ปลูกพืช ป่าไม้ หาของป่า เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ และประมง
ครอบครัวเกษตร 19.6% ฐานะยากจน
ข้อมูลสํานักงานสถิติแห่งชาติในปี 2023 เผยว่า ครัวเรือนเกษตรที่มีเด็กและเยาวชน มีรายได้เฉลี่ย 21,983 บาทต่อเดือน และสินทรัพย์สะสม 117,820 บาท น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของครัวเรือนทั่วประเทศร้อยละ 23.1 และ 22.3 ตามลำดับ
เมื่อเทียบตามเกณฑ์เส้นความยากจนที่รายได้ 2,997 บาทต่อคนต่อเดือน เด็กและเยาวชนในครัวเรือนเกษตรร้อยละ 19.6 ยังมีฐานะยากจน สูงกว่าสัดส่วนเด็กและเยาวชนยากจนทั้งประเทศ เกือบหนึ่งเท่าตัวหรือร้อยละ 9.25 สถิติข้างต้นสะท้อนว่าพวกเขามีแนวโน้มเผชิญความยากลำบากในการดำรงชีพ
ซึ่งความไม่แน่นอนของรายได้การเกษตร ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความฝันของเด็ก โดยครัวเรือนเกษตรกรรมที่ปลูกพืช ต้องประสบกับความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำและสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลหรือปีการผลิต โดยเฉพาะเกษตรกรนอกเขตชลประทานที่พึ่งพาน้ำฝนในการเพาะปลูก อีกทั้งเสี่ยงกับโรค แมลง และศัตรูพืชซึ่งไม่อาจคาดหมายได้ รวมถึงปัจจัยการผลิตหลายชนิดยังมีต้นทุนผันผวนตามราคาตลาด เช่น ยากำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยที่แม้จะราคาสูงแต่ก็ยังจำเป็นต่อการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตดี ซึ่งส่งผลให้ปริมาณผลผลิตไม่แน่นอนตามไปด้วย โดยในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา (2012-2024) อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณผลผลิตพืชเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 7.4 ต่อปี และในปี 2020 ผลผลิตน้อยลงจากปีก่อนหน้าเกือบร้อยละ 15.66
ขณะเดียวกันราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ก็ผันผวนตามกลไกตลาดโลก โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่อปี แม้รัฐบาลจะมีนโยบายอุดหนุนเกษตรกร เพื่อเป็นหลักประกันรายได้จากความผันผวนดังกล่าว แต่เงินอุดหนุนส่วนมากก็ถูกจ่ายไปยังเกษตรกรรายใหญ่ ซึ่งไม่ใช่รายย่อยที่มีแนวโน้มยากจนเปราะบาง และต้องการการสนับสนุนมากที่สุด ดังนั้นครัวเรือนเกษตรจึงมีรายได้ไม่แน่นอนสูงในแต่ละฤดูกาล หรือปีการผลิต
นอกจากรายได้ไม่แน่นอนในแต่ละปีแล้ว ครัวเรือนเกษตรยังมีรายได้ไม่คงที่ภายในปีหนึ่งๆ ด้วย สำหรับครัวเรือนที่มีกำไรการเกษตรเป็นหลัก ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวและขายผลผลิตจะมีรายได้ก้อนใหญ่ ซึ่งเงินก้อนนี้ต้องแบ่งใช้ และจะลดลงตามลำดับจนถึงฤดูเก็บเกี่ยวถัดไป หากเงินก้อนนี้ไม่พอใช้จ่ายก็จะต้องพึ่งพางานรับจ้างอื่นที่ไม่มีความแน่นอนในแต่ละวัน
ส่วนครัวเรือนที่ไม่มีกำไรจากการทำการเกษตร ก็ต้องอาศัยรายได้จากการรับจ้างเป็นหลัก โดยรายได้แหล่งเดียวที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ได้รับอย่ำงสม่ำเสมอ คือ สวัสดิการรัฐ เช่น เงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและเบี้ยผู้สูงอายุ
เด็กช่วยครอบครัวทำงานบั่นทอนการเรียน
คิด for คิดส์ และ The101.world ยังพบว่า รายได้ส่งผลให้เด็กครัวเรือนเกษตรไม่สามารถกินดูอยู่ดีเท่าที่ควร โดยในช่วงขาดรายได้ ครอบครัวจำเป็นต้อลดการอุปโภคบริโภคในระยะสั้น และเด็กจะถูกลดเงินที่ได้ไปโรงเรียน หากตรงกับช่วงที่มีรายจ่ายสูง ครอบครัวก็อาจไม่มีเงินพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเรียนของเด็ก เช่น ค่าเครื่องแบบนักเรียน และอุปกรณ์การเรียน ซึ่งอาจทำให้เด็กขาดแคลนสิ่งเหล่านั้น หรือครอบครัวต้องยอมไปกู้เงินเป็นหนี้มากขึ้นเพื่อมาจ่าย
นอกจากนี้เด็กอาจต้องช่วยครอบครัวทำงานหารายได้เพิ่ม หรือทำงานอย่างอื่นแทนผู้ใหญ่ เพื่อให้ผู้ใหญ่มีเวลาออกไปหารายได้เพิ่มมากขึ้น แม้การทำงานจะเป็นนอกช่วงเวลาเรียน แต่ก็พบว่าเด็กที่ทำงานหนักจะเหนื่อยสะสมจนกระทบกับการเรียน หรือไม่มีเวลาทำการบ้าน รวมถึงกรณีครอบครัวที่ขาดรายได้รุนแรง เด็นจะต้องหยุดเรียนและทำงานในเวลาเรียนเป็นครั้งคราวด้วย
จากความไม่แน่นอนด้านรายได้ของครอบครัว ทำให้เด็กหลายมีทัศนคดีไม่อยากเสี่ยงลงทุนกับเป้าหมายที่เห็นผลช้า และมีความไม่แน่นอน เช่น ไม่อยากลงทุนเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปนานหลายปี เพราะไม่มั่นใจว่าการเงินทางบ้านจะมีเพียงพอจ่ายค่าเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษาหรือไม่ ทั้งนี้เด็กจะเลือกจำกัดฝันในแบบที่เห็นผลได้ง่าย รวดเร็ว และแน่นอน เช่น อยากรีบหางานที่มีรายได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องใช้ทักษะที่สูง
เด็กครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ฝันอยากทำงานทักษะต่ำถึงปานกลาง เพราะคนรอบตัวทำแล้วมีรายได้ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยนของคนในท้องถิ่น เช่น พนักงานทวงหนี้นอกระบบ พนักงานร้านสะดวกซื้อ ร้านชำ และร้านอาหาร กรรมกรก่อสร้างและโรงงาน คนขับรถ และไรเดอร์ ซึ่งมีเด็กเพียงส่วนน้อยที่ตั้งเป้าหมายถึงอาชีพทักษะสูงในพื้นที่ เช่น ครู พยาบาล และตำนรวจ ดังนั้นเด็กจำนวนมาจึงไม่เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องศึกษาต่อขั้นสูง และต้องการเพียงวุฒิมัธยมศึกษา ซึ่งมองว่าเพียงพอสำหรับอาชีพที่ตนมุ่งหวัง
โรงเรียนชนบทห่างไกล-เข้าถึงยาก
ขณะเดียวกันการศึกษาในพื้นที่ชนบทยังเข้าถึงได้ยากและมีคุณภาพต่ำ โดยในต่างจังหวัดสถานศึกษามักตั้งอยู่ไกลจากบ้านของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาทุกประเภทกระจายอยู่เฉลี่ย 0.1 แห่งต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีสถานศึกษาทุกประเภทเฉลี่ย 0.5 แห่งต่อพื้นที่หนึ่งตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยิ่งระดับการศึกษาสูงมากขึ้น สถานศึกษาก็จะยิ่งมีน้อยลงและห่างไกลมากขึ้น
จากประเด็นดังกล่าวทำให้เด็กในครัวเรือนเกษตรหลายคนต้องนั่งมอร์เตอร์ไซค์ รถสองแถว หรือรถโรงเรียนข้ามอำเภอหรือจังหวัด เพื่อเดินไปเรียน ทำให้มีต้นทุนในการเดินทางสูง คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของรายได้ต่อคนของครัวเรือน สูงกว่าต้นทุนของเด็กนักเรียนในเมืองเล็กน้อยที่ร้อยละ 3.0 และยังไม่นับรวมกลุ่มที่บ้านอยู่ไกลจนต้องย้ายไปอยู่หอพักใกล้โรงเรียน ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนขึ้นไปอีก
ปู่ย่าตายายในชนบทไม่การเติบโตเด็ก
ครัวเรือนเกษตรจำนวนมากเป็น “ครัวเรือนแหว่งกลาง” คือ มีปู่ย่าตายายอาศัยอยู่กับหลานเท่านั้น จากผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2023 พบว่า เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ในครัวเรือนเกษตร ไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ คิดเป็นร้อยละ 31.9 และครัวเรือนลักษะนี้จะกระจุกตัวนอกเขตชลประทาน เพราะมีรายได้การเกษตรต่ำและไม่แน่นอน พ่อแม่จึงมีแนวโน้มอพยพออกไปทำงานที่อื่นมากกว่า
โดยทั่วไปครัวเรือนแหว่งกลาง มักเผชิญปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของผู้ปกครองที่เป็นปู่ย่าตายายกับบุตรหลาน อีกทั้งผู้ปกครองเหล่านี้มักเข้าไม่ถึงการศึกษามากนัก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 68.6 ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น จึงทำให้ผู้ปกครองกลุ่มนี้ไม่สามารถสอนการบ้านเด็ก ส่งเสริมการเรียนรู้นอกโรงเรียน และกระตุ้นให้คิดฝัน และวางแผนอนาคตอันไกลของเด็กได้มากนัก นอกจากนี้ยังปล่อนปละ หรือตามใจเด็ก จนมีปัญหาบานปลายเรื้อรัง เช่น ปัญหาโภชนาการ ติดโทรศัพท์ ติดเกม และติดสารเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า กัญชา กระท่อม และยาบ้าน
นอกจากนี้ผู้ปกครองที่เป็นปู่ย่าตายายจำนวนหนึ่งยังอยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น ชราภาพ พิการ ป่วยหนัก และป่วยติดเตียง ส่งให้บุตรหลานต้องรับผิดชอบดูและและหารายได้แทน จึงกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยกีดกันไม่ให้เด็กเติมเต็มความฝันได้อย่างอิสระ
แนะรัฐบาลเพิ่มอุดหนุนเด็ก-ลดต้นทุนการศึกษา
ความไม่แน่นอนของรายได้ในครัวเรือนเกษตรกรจะส่งผลกระทบต่อเด็ก โดยรัฐบาลควรขยายเงินอุดหนุนเด็กและเยาวชนวันเรียนให้ทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเป็นตาข่ายรองรับมิให้พวกเขาถูกกระทบจากความไม่แน่นอนของรายได้การเกษตรรุนแรงเกินไป
ทั้งนี้ควรลดต้นทุนการเข้าถึงการศึกษา โดยจัดตั้งระบบโรงเรียนและ/หรือรถประจำทางสาธารณะในชนบทที่ครอบคลุมและค่าโดยสารต่ำ รวมถึงจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับนักเรียนในเมืองศูนย์กลางการศึกษาของแต่ลภูมิภาค พร้อมทั้งลงทุนพัฒนาคุณภาพบริการการศึกษาในชนบท ควบคู่กับกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมตัดสินใจจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับความฝันและบริบทของเด็กและเยาวชนในพื้นที่
ชณะเดียวกันรัฐบาลควรส่งเสริมทักษะการเลี้ยงดูและสนับสนุนเด็กและเยาวชนแก่ผู้ปกครองในเชิงรุก โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ปกครองเป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยผลักดันบุตรหลานให้กล้าและเติมเต็มความฝันของตนได้อย่างดีที่สุด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- ผลวิจัยชี้ “พ่อมีเมียน้อย-ตีบุตร” กระทบทุนมนุษย์เด็ก
- ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา หวังความเป็นเลิศ
- 10 ปีผ่านไป นโยบายแจกแท็บเล็ตเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ที่มา : เด็กและครอบครัวไทยที่ไม่ถูกมองเห็น: รายงานสถานการณ์เด็กและครอบครัว ประจำปี 2024