
ตีกรอบทิศทางวิจัยการศึกษาแห่งชาติ แก้ปัญหางานวิจัย “ขึ้นหิ้ง”
รัฐบาลกำหนดทิศทางวิจัยการศึกษาของชาติปี 2568-2570 ครั้งแรก แก้ปัญหางานวิจัยด้านการศึกษาไร้ทิศทาง สะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคม จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตีกรอบ 4 ด้าน จัดระบบโครงสร้างการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่

พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ รอมานาน 26 ปี..ยังต้องรอต่อไป
ความหวังการปฏิรูปการศึกษาจากการผลักดัน พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ ยังต้องรอต่อไป แม้มีความพยายามแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่ใช้มานาน 26 ปี เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยในหลายด้าน แต่ร่างกฎหมายใหม่ยังไปไม่ถึงไหน ยังไม่ผ่านการพิจารณาของครม. และมีแนวโน้มไม่ทันใช้ในรัฐบาลนี้

จำนวนนักเรียนโรงเรียนนานาชาติเพิ่ม สวนทางนักเรียนไทยลด
ในปี 2568 ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในไทยโต 9.7% ชะลอตัวจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยจากจำนวนโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่ 8 โรงเรียน น้อยกว่าที่เปิดในปี 2567 อยู่ 5 โรงเรียน แต่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปสู่นอกกรุงเทพฯ มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่จำกัดและการแข่งขันที่สูงในเมืองหลวง

ฟื้นชีพแจกแท็บเล็ตนักเรียน งบผูกพัน 5 ปี กว่า 2.9 หมื่นล้าน
"แจกแท็บเล็ต" ฟื้นชีพ รอบนี้งบพุ่งกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท แถมด้วยงบผูกพัน 5 ปี แจกนักเรียน มัธยมปลาย 1.2 ล้านคนทั่วประเทศ อ้างเหตุผล ให้เด็กเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา และทันยุคทันสมัย

10 ทักษะงานมาแรง รับเทรนด์ AI
World Economic Forum ออกรายงาน Future of Jobs 2025 จากการสำรวจภาคธุรกิจทั่วโลก พบว่ามีความต้องการมากแรงงานที่มีทักษะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI มากที่สุด ขณะที่ Sotf Skill เป็นเรื่องรอง จุฬาฯชี้การศึกษาไทยต้องปรับตัว เพิ่มหลักสูตรที่พัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีความฉลาด ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

คนหนีหลักสูตรการศึกษาไทย แห่ส่งลูกเรียนอินเตอร์
นักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงตามจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ลดลง ส่งผลโรงเรียนทยอยปิดตัว แต่ไม่ใช่กับโรงเรียนนานาชาติที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะหลักสูตรการศึกษาต่างประเทศมีความทันสมัย แตกต่างจากหลักสูตรไทย ผู้ปกครองที่มีทุนทรัพย์จึงนิยมส่งลูกไปโรงเรียนนานาชาติกันมากขึ้น

ความยากจนเกษตรกรไทย ฉุดคุณภาพชีวิตเด็ก
ครอบครัวเกษตรกรไทยที่มีเด็กและเยาวชน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากถึง 19.6% อีกทั้งโรงเรียนพื้นที่ชนบทห่างไกลและเข้าถึงยาก ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร และเลือกศึกษาในระดับไม่สูงมาก

ผลวิจัยชี้ “พ่อมีเมียน้อย-ตีบุตร” กระทบทุนมนุษย์เด็ก
ปัจจุบัน "ครอบครัว" มีความหลากหลาย ในแต่ละแบบจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของลูกแตกต่างกัน ผลการวิจัยเผยในครอบครัวที่มีเมียน้อยจะกระทบต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็ก เช่นเดียวกับครอบครัวที่มีการตีลูก นักเศรฐศาสตร์ประเมินกระทบจีดีพีกว่า 2% คิดเป็นต้นทุนคนละกว่า 7 แสนบาท

ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา หวังความเป็นเลิศ
รัฐบาลดันร่างกฎหมายใหม่ จัดตั้ง"กองทุนพัฒนาการอุดมศึกษา" หวังส่งงบให้กับมหาวิทยาลัยโดยตรง พัฒนา "ความเป็นเลิศ" ตามความต้องการของประเทศ มีงบประมาณและคณะกรรมการบริหารโดยเฉพาะ