นโยบายทั้งหมด
ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
“นโยบายเร่งด่วนถัดมา คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที" - คำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 11 ก.ย. 2566
ส่งเสริมการมีบุตร
นโยบายส่งเสริมการมีบุตรเป็นหนึ่งใน 13 นโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส ที่เตรียมผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ หวังเพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจการมีบุตรเมื่อพร้อม และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม “มีลูก มีแต่ได้” สร้างคลินิกส่งเสริมการมีบุตร จังหวัดละ 1 แห่ง ภายในสิ้นปี 2566
ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ เพื่อพัฒนาแรงงานทักษะสูง สร้างงานและรายได้ ขยายอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมการส่งออก และผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านซอฟต์พาวเวอร์
สังคมสูงวัย
ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ผู้สูงอายุกลายเป็นนโยบายระดับรัฐบาลครั้งแรกที่มีบทบัญญัติไว้ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐ จากนั้นมาทุกรัฐบาลก็มีนโยบายต่อประชากรผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และยิ่งสังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุขั้นสุดยอด ทำให้รัฐบาลต้องมาดูแลมากยิ่งขึ้น
การทูตแบบสมดุล
รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น
เรียนดีมีความสุข (ลดภาระครู-นร.)
‘เรียนดี มีความสุข’ นโยบายการศึกษา โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งผู้ปกครอง หวังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษา 2 ข้อหลัก คือ การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต
การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก
นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล ได้เน้นย้ำนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างสมดุล เปิดประตูการค้าครั้งใหญ่ และยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งหวังเป็นผู้นำในอาเซียน หลังจากบทบาทของไทยลดน้อยลงไปในช่วงที่ผ่านมา
แก้ไขรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลแถลงนโยบายว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยจะมีการจัดทำประชามติ ตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยมาโดยจะยึดถือเป็นหลัก
สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งชิ้นส่วนต่างๆ (EV Hub) ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคและของโลก