ThaiPBS Logo

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย

นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย (หรือ การปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท) เป็นหนึ่งในนโยบายปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ของรัฐบาลในด้าน “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

นำร่องนโยบายค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของ รฟท. และรถไฟฟ้ามหานคร (สายสีม่วง) มีผลถึง 30 พ.ย. 2567

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • นโยบายอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566 – 14 มีนาคม 2567 (5 เดือน) ในภาพรวมทั้งสายสีแดง และสายสีม่วง พบว่า มีผู้โดยสารใช้บริการรวม 2 สาย เฉลี่ยวันละ 92,714 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้น 17.94% จากเดิมก่อนมีมาตรการฯ ทั้ง 2 สายรวมกัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 78,611 คน-เที่ยว
  • รถไฟชานเมืองสายสีแดง ทั้งสายกรุงเทพอภิวัฒน์ – ตลิ่งชัน และสายกรุงเทพอภิวัฒน์ – รังสิต มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 27,683 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นจากก่อนมีมาตรการฯ 27.97% ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 21,632 คน-เที่ยว
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – คลองบางไผ่ พบว่า มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 65,179 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นจากก่อนมีมาตรการฯ 14.39% ที่มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 56,979 คน-เที่ยว

 

ช่วงหาเสียง

นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หรือมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงชูโรงของพรรคเพื่อไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเน้นย้ำถึงเรื่องการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ จะต้องสะดวกและปลอดภัย บนเวทีปราศรัย ‘คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคนกรุงเทพฯ’ เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566

ในรายละเอียดนโยบายหาเสียง ตามมาตรา 57 พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ของพรรคเพื่อไทย ระบุวงเงินที่ต้องใช้ 40,000 ล้านบาท + 8,000 ล้านบาทต่อปี (ใช้การบริหารงบประมาณปกติ) ที่มาจากการบริหารระบบงบประมาณ การบริหารระบบภาษี เงินกู้ และเงินนอกงบประมาณ

 

นโยบายรัฐบาล

แม้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะไม่ปรากฎในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ในวันที่ 11 ก.ย. 2566 แต่ก็มีการชี้แจงจาก สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ต่อรัฐสภา ในวันเดียวกัน ถึงนโยบายดังกล่าว โดยประกาศ

  • เส้นทางการเดินรถของรัฐ ได้แก่ สายสีแดง และสายสีม่วง นำร่องผลักดันภายใน 3 เดือน 
  • เส้นทางอื่น ๆ ทุกเส้นทาง ภายใน 2 ปี 

 

สถานการณ์ปัจจุบัน

ครม. อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย สำหรับ

  • รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
    • สายนครวิถี (บางซื่อ – ตลิ่งชัน)
    • สายธานีรัถยา (บางซื่อ – รังสิต)
  • รถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง : เตาปูน – คลองบางไผ่) ของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  • สามารถเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง-แดง ได้ที่สถานีบางช่อน ภายในระยะเวลา 30 นาที โดยต้องใช้บัตรโดยสารใบเดียวกันหรือบัตร EMV Contactless เท่านั้น

มีผลจนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2567

 

ผลกระทบ

  • มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องใช้งบประมาณอุดหนุนส่วนต่างค่าโดยสารรถไฟฟ้าปีละประมาณ 130 ล้านบาท

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • นโยบายอัตราค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย ใน 3 เส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค.2566 - 14 มี.ค. 2567 (5 เดือน) ยอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น 14-20%

    20 มี.ค. 2567

  • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ระบุว่าอีกปีครึ่งได้ใช้รถไฟฟ้า 20 บาททุกสาย ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำพระราชบัญญัติตั๋วร่วม

    30 ม.ค. 2567

  • สภาผู้บริโภคศึกษาการกำหนดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพูสูงสุดตลอดสายไม่เกิน 20 บาท เชื่อว่าสามารถทำได้จริง มองว่าราคาเริ่มต้น 15-45 บาทต่อเที่ยวเป็นราคาที่สูงไป

    8 ม.ค. 2567

  • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม แจงที่ประชุมสภา รถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง 20 บาทตลอดสาย ทำกำไรแน่นอน ไม่ขาดทุน อยู่ระหว่างการเสนอครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วมฯ ขยายรถไฟฟ้าสายสีอื่น

    4 ม.ค. 2567

  • เริ่มคิดค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย เดินทางระหว่างรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) กับรถไฟฟ้ามหานคร (สายสีม่วง) เชื่อมต่อที่สถานีบางซ่อน โดยใช้บัตร EMV Contactless

    30 พ.ย. 2566

  • ครม. อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ของ รฟท. และรถไฟฟ้ามหานคร (สายสีม่วง) ของ รฟม. มีผลทันทีจนถึง 30 พ.ย. 2567

    16 ต.ค. 2566

  • บอร์ด รฟม. อนุมัติการปรับราคารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีม่วงในราคา 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาล

    29 ก.ย. 2566

  • บอร์ด รฟท. อนุมัติการปรับราคารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงในราคา 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายของรัฐบาล

    21 ก.ย. 2566

  • ชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เผยความคืบหน้ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เตรียมนำร่องรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม่วง

    18 ก.ย. 2566

  • BTS เรียกร้องให้รัฐบาลทำนโยบาย 20 บาทตลอดสาย-ทุกเส้นทาง เพื่อความเป็นธรรม โดยเอกชนยินดีให้ความร่วมมือลดราคา แต่ขอให้รัฐบาลจ่ายอุดหนุนด้วยเช่นกัน

    17 ก.ย. 2566

  • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม กล่าวต่อที่ประชุมสภา นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นำร่องสายสีแดง-ม่วง ภายใน 3 เดือน และส่วนที่เหลือ ภายใน 2 ปี

    11 ก.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทย ปล่อยคลิปวิดีโอ 'เลือกตั้ง66: คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคมนาคมไทย' พูดถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย และระบบตั๋วร่วม ลดค่าเดินทางในกรุงเทพฯ

    28 เม.ย. 2566

  • พรรคเพื่ื่อไทย ปราศรัยนโยบายลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสาย ในเวที 'คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อคนกรุงเทพ'

    24 มี.ค. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสาย ทุกเส้น ทุกสี
ภายใน 2 ปี (เดือนก.ย. 2568)