ThaiPBS Logo

สันติภาพชายแดนใต้

ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (11 ก.ย. 2566) ไม่ได้มีการพูดแนวทางการแก้ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แต่บทบาทในการแก้ปัญหามาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

อยู่ระหว่างการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (JCPP)

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

สถานการณ์ล่าสุด 15 ต.ค. 2567

  • 15 ต.ค. 67 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นอำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้งและอำเภอสุคิริน จังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน และจังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่ 20 ต.ค. 67 ถึง 19 ม.ค. 68 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาครั้งที่ 78
  • 26 ก.ย. 2567 ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศ “พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร” ในเขตพื้นที่อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอมายอ อำเภอไม้แก่น อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอเบตง อำเภอรามัน อำเภอกาบัง และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  • 19 ก.ย. 2567 อัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้อง 8 ผู้ควบคุมรถและพลขับ กรณีขนย้ายผู้ชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 78 ศพ โดยเร่งให้ตำรวจตามตัวแจ้งข้อหาให้ทันสั่งฟ้อง 25 ตุลาคม 2567 ก่อนคดีหมดอายุความ

สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 22 ก.ย. 2566 เครือข่าย Peace Survey ได้สรุปสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงประมาณกลางปี 2566 พบว่า

  • – เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ 22,166 ครั้ง 
  • – มีผู้เสียชีวิต 7,520 คน 
  • – มีผู้บาดเจ็บ 13,968 คน

และยังมีความรุนแรงต่อประชาชนและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ทั้งความรุนแรงทางตรง เช่น การทำร้ายร่างกาย และความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เช่น ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเลือกปฏิบัติ และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น

นอกจากนี้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษหรือกฎหมายความมั่นคงที่เพิ่มเติมจากพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย 3 ฉบับซึ่งแตกต่างกัน ได้แก่

  • 1. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
    • – นายกฯ โดยความเห็นชอบของครม. มีอำนาจขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมายครั้งละไม่เกิน 3 เดือน
    • – ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารร่วมกันป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง ฟื้นฟู หรือช่วยเหลือประชาชน
    • – นายกฯ มีอำนาจจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะ มีอำนาจประกาศเคอร์ฟิว ห้ามชุมนุม ห้ามนำเสนอข่าวที่ทำให้เกิดความหวาดกลัวหรือบิดเบือน กำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามใช้อาคาร หรือสั่งอพยพประชาชน
  • 2. พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 
    • – มอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มีหน้าที่ป้องกัน ปราบปราม ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  • 3. กฎอัยการศึก หรือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457
    • – เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารสามารถ ปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม และควบคุมตัว โดยไม่ต้องมีหลายค้น หมายจับ และหมายควบคุมจากศาล
    • – เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลไว้ไม่เกิน 7 วัน หากได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้

ซึ่งประกาศใช้ในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน (ตามมติครม. วันที่ 9 ก.ค. 2567) ดังนี้

  • 1. พื้นที่บังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (บังคับใช้ถึง 19 ต.ค. 2567) ได้แก่
    • – จ.ยะลา ในอำเภอ เมืองยะลา / บันนังสตา / ธารโต / ยะหา
    • – จ.ปัตตานี ในอำเภอ เมืองปัตตานี / โคกโพธิ์ / หนองจิก / สายบุรี / ยะรัง / ศรีสาคร
    • – จ.นราธิวาส ในอำเภอ เมืองนราธิวาส / ตากใบ / บาเจาะ / ระแงะ / รือเสาะ / สุไหงปาดี / จะแนะ / เจาะไอร้อง / ศรีสาคร
  • 2. พื้นที่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้ว แต่ยังมีการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ได้แก่
    • – จ.ยะลา ในอำเภอ เบตง / กาบัง / กรงปินัง / รามัน
    • – จ.ปัตตานี ในอำเภอ มายอ / ไม้แก่น / ยะหริ่ง / กะพ้อ / แม่ลาน / ทุ่งยางแดง / ปะนาเระ
    • – จ.นราธิวาส ในอำเภอ แว้ง / สุคิริน / สุไหงโก-ลก / ยี่งอ
    • – จ.สงขลา ในอำเภอ จะนะ / นาทวี / เทพา / สะบ้าย้อย

กมธ.วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้

คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กมธ.วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้) ถูกแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2566 มีบทบาทในการเสนอแนะนโยบายต่อฝ่ายบริหาร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการลดความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีการตรวจสอบติดตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

ในวันที่ 8 พ.ย. 2566 กมธ.วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้ เชิญหน่วยงานที่มีบทบาทดูแลพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) มาชี้แจงและให้ข้อมูล โดยมองว่าทั้ง 3 องค์กร มีปัญหาในการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังมีการเสนอทบทวน พ.ร.บ. การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

กอ.รมน. ยุบ-ไม่ยุบ?

นโยบายยุบ กอ.รมน. เป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคก้าวไกล โดย รอมฎอน ปันจอร์ สส.พรรคก้าวไกล ได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 พ.ศ. … โดยให้เหตุผลในเรื่องของการใช้งบประมาณที่มากเกินจริง ความไม่โปรงใสในการบริหารกำลังพล การดำเนินงานทับซ้อน การปฏิบัติการข่าวสารทางการทหาร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ 

อย่างไรก็ตาม เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายยุบกอ.รมน. แต่จะมีการพัฒนาให้เป็นไปตามบริบทของสังคมต่อไป

คืนสภาที่ปรึกษาฯชายแดนใต้

ในวันที่ 13 ส.ค. 2567 ที่ประชุมวุฒิสมาชิก (สว.) มีมติ 187  ต่อ 0 เสียง งดออก 3 เสียง ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎร (สส.) ลงมติเห็นชอบผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้

หลักจากนี้ให้กลับไปใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ในการเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนร่วมกับระบบสรรหา (เดิม) เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเอง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ศาลจังหวัดนราธิวาสมีคำสั่งจำหน่ายคดีตากใบ เนื่องจากขาดอายุความ เนื่องจากไม่สามารถนำจำเลยเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล เป็นเหตุให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่สามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อได้   ดูเพิ่มเติม ›

    28 ต.ค. 2567

  • ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม เสียใจคดีตากใบหมดอายุความในวันนี้ เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มที่แล้ว ไม่มีปัญหากรณี UN กังวล ยันรัฐบาลไม่ได้ปล่อยให้คดีหมดอายุความ ขอให้เป็นบทเรียน  ดูเพิ่มเติม ›

    25 ต.ค. 2567

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอโทษคดีตากใบ ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ แจงเหตุไม่เข้าเกณฑ์ออก พ.ร.ก.เพื่อต่ออายุไม่ได้ ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ  ดูเพิ่มเติม ›

    24 ต.ค. 2567

  • ครม.เห็นชอบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่ 20 ต.ค. 2567 ถึง19 ม.ค. 2568

    15 ต.ค. 2567

  • ศาลจังหวัดนราธิวาส ออกหมายจับ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี สส.พรรคเพื่อไทย ในฐานะอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 คดีสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบ เหตุหลบหนีไม่มาตามศาลตามกำหนด

    3 ต.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบิกษา ลงประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค. 67-30 ก.ย. 68  ดูเพิ่มเติม ›

    26 ก.ย. 2567

  • อัยการสูงสุดสั่งฟ้องคดีตากใบ ผู้ต้องหา 8 คน แต่ต้องได้ผู้ต้องหาส่งฟ้องศาล ก่อนคดีหมดอายุความ 25 ต.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    18 ก.ย. 2567

  • ศาลนราธิวาส รับฟ้องคดีตากใบ เอาผิด 9 จำเลย จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าสภ.ตากใบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ศาลนัดอีกครั้ง 12 ก.ย.

    23 ส.ค. 2567

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. 67 - 19 ต.ค. 67)

    9 ก.ค. 2567

  • กมธ. พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 เห็นชอบร่างรายงาน และจะนำเสนอเข้าที่ประชุมสภาต่อไป เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. ให้คำสั่ง คสช. นี้ยุติลง เนื่องจากทำให้เกิดอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหา  ดูเพิ่มเติม ›

    28 พ.ค. 2567

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่ 20 เม.ย. 2567 - 19 ก.ค. 2567)

    9 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ลงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส)

    27 - 29 ก.พ. 2567

  • การพูดคุยสันติสุขระหว่างคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย และ BRN ได้เห็นชอบใน 3 หลักการ คือ การลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชน และการแสวงหาทางออกทางการเมือง  ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

  • กมธ.สันติภาพ เสนอ 7 ข้อเสนอด่วนถึงรัฐบาล ลดเงื่อนไขขัดแย้งชายแดนใต้  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.พ. 2567

  • เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งและกระบวนการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ จ.ปัตตานี

    19 - 20 ม.ค. 2567

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่ 20 ม.ค. 2567 - 19 เม.ย. 2567)  ดูเพิ่มเติม ›

    16 ม.ค. 2567

  • กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ อาจขยายเวลาการดำเนินงานต่อไปอีก จากกรอบเวลาเดิม 90 วัน เบื้องต้นอาจขยายถึงกลางเดือนม.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง​ ให้สัมภาษ​ณ์ กรณีการหารือกับอันวาร์ อิบราฮิม​ นายกรัฐมนตรี​มาเลเซีย มีการพูดคุยเรื่องสันติสุข​ชายแดนใต้ระหว่างไทยและมาเลเซียกันตลอด  ดูเพิ่มเติม ›

    28 พ.ย. 2566

  • แต่งตั้ง ฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นหัวหน้าคณะพูดคุย ถือเป็นหัวหน้าคณะพูดคุย ที่เป็นพลเรือนคนแรก  ดูเพิ่มเติม ›

    27 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงประเด็นไม่ยุบกอ.รมน.

    2 พ.ย. 2566

  • กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ เห็นชอบตั้งอนุกรรมาธิการ 2 คณะ “เพิ่มประสิทธิผลเจรจาสันติภาพ-สร้างการมีส่วนร่วม”  ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ย. 2566

  • ครบรอบ 19 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบ นับถอยหลังคดีความหมดอายุในอีก 1 ปี (ปี 2567)

    25 ต.ค. 2566

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เรียกร้องทางการไทยให้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบ  ดูเพิ่มเติม ›

    25 ต.ค. 2566

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่ 20 ต.ค. 2566 - 19 ม.ค. 2567)

    16 ต.ค. 2566

  • สภาฯ เห็นชอบตั้งกมธ.สันติภาพชายแดนใต้

    11 ต.ค. 2566

  • แม่ทัพภาคที่ 4 ประชุมและแถลงแผนเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    11 ต.ค. 2566

  • ที่ประชุมกบฉ. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 3 เดือน (ตั้งแต่ 20 ต.ค. 2566 - 19 ม.ค. 2567)

    11 ต.ค. 2566

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศเรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

    28 ก.ย. 2566

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกไปอีก 1 เดือน และมอบหมายให้สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกฯ เป็นประธานฯ กบฉ.

    18 ก.ย. 2566

  • องค์กรสิทธิมนุษยชนและภาคประชาสังคม 35 องค์กร เสนอครม. ต้องมีมติไม่ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดชายแดนใต้

    17 ก.ย. 2566

  • รอมฎอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาลว่า ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาชายแดนใต้

    12 ก.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

    11 ก.ย. 2566

  • รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศคสช. ฉบับที่ 98/2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

    30 ก.ค. 2557

  • รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศ พ.ร.บ.การบริหารราชการจังหวัดชายแดนใต้

    29 ธ.ค. 2553

  • รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ทำให้ กอ.รมน. กลายมาเป็นหน่วยงานรัฐอย่างถาวร อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

    27 ก.พ. 2551

  • รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศ พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

    20 ก.ค. 2548

  • เหตุการณ์สลายการชุมนุมหน้า สภ.อ.ตากใบ จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 84 ราย

    25 ต.ค. 2547

  • เหตุการณ์โจมตีจุดตรวจและฐานปฏิบัติการของราชการ มีผู้เสียชีวิต 111 ราย ตามมาด้วยเหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะ จ.ปัตตานี มีผู้เสียชีวิต 32 ราย

    28 เม.ย. 2547

  • รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ประกาศ พ.ร.บ. กฎอัยการศึก 2457 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

    5 ม.ค. 2547

  • เหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง และปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ที่ จ.นราธิวาส

    4 ม.ค. 2547

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม (JCPP)
ข้อตกลงสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง

เชิงกระบวนการ

เปิดเวทีพูดคุย
จะมีการจัดเวทีพูดคุย โดยเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและมีทุกกลุ่มเข้ามาร่วม ทั้งเวทีแบบเปิดและปิด

เชิงการเมือง

สันติสุขชายแดนใต้
ใน 2568 ความรุนแรงในพื้นที่จะยุติลง และยกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2

บทความ

ดูทั้งหมด
7 ข้อจำกัดที่นักสันติวิธี พยายามเดินข้าม

7 ข้อจำกัดที่นักสันติวิธี พยายามเดินข้าม

ทำไมแก้ปัญหาแบบไม่ใช้ความรุนแรง และ ปัญหาความเหลื่อมล้ำแก้ยากในสังคมไทย "มารค ตามไท" สรุปบทเรียนหลังจากทำงานด้านสันติวิธีมายาวนาน เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังตระหนักถึงความยากลำบากที่ต้องพูดคุยกับ "อำนาจ"

ถอดบทเรียน 2 ทศวรรษ  สู่สันติภาพชายแดนใต้

ถอดบทเรียน 2 ทศวรรษ สู่สันติภาพชายแดนใต้

ผ่านมา 20 ปี กับนายกรัฐมนตรี 8 คน แต่จนถึงวันนี้ ทำไมปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ยังไม่มีทิศทางว่าจะจบ ? และสันติภาพยังคงเป็นเป้าหมายที่เดินไปไม่ถึง ?

2 ทศวรรษชายแดนใต้... สันติภาพที่ยังไปไม่ถึง

2 ทศวรรษชายแดนใต้... สันติภาพที่ยังไปไม่ถึง

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังก้าวเข้าสู่ 2 ทศวรรษ ซึ่งตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาความรุนแรงที่ตั้งแต่ช่วงปี 2547 จนถึงปัจจุบัน นำไปสู่ความสูญเสียชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และเจ้าหน้าที่ อย่างประเมินค่าไม่ได้