ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วประเทศได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล ทั้งยังเป็นคำเตือนให้ประเทศไทยเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในอนาคต
ประเทศไทยประกาศเป้าหมายชัดเจนในการประชุมระดับสูงของ COP ครั้งที่ 29 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยมุ่งตามเป้า NDC สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ท่ามกลางการจับตาว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน และแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ อย่างไรบ้าง
ภัยพิบัติมีแนวโน้มเกิดมากขึ้นทั่วโลก สร้างความเสียหายรุนแรงต่อเนื่อง นำมาสู่การระดมสมองเตรียมพร้อมรับมือเพื่อป้องกันและลดความสูญเสีย ด้วยกลไกทางกฎหมาย การบริหารจัดการ และนวัตกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิกาศในยุคโลกเดือด
ระบบป้องกันภัยพิบัติที่ใช้กันทั่วโลกมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งมีจุดแข็ง จุดอ่อนแตกต่างกันไป การเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเปรียบเทียบและนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
ปี 2567 ไทยอยู่กับน้ำท่วมแทบตลอดทั้งปี ล่าสุดรวมพื้นที่น้ำท่วมแล้ว 51 จังหวัด ข้อมูลจาก GISTDA ระบุว่าในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 4 พ.ย. 67 มีพื้นที่น้ำท่วม 1.66 ล้านไร่ กระทบ 2.4 แสนหลังคาเรือน ท่ามกลางการจับตาสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าปีผ่านมา
โลกเดือด หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมาเร็วขึ้น คาดว่าในปี 2570 อุณหภูมิโลกจะแตะระดับ 1.5 องศาเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้ส่งผลกระทบรุนแรงและบ่อยขึ้น แต่ในแง่การค้าขาย จะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมาแก้ปัญหาโลกร้อน
ความเสียหายรุนแรงจากน้ำท่วมเชียงรายรอบนี้ นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงกลไกการแก้ไขปัญหาที่หลาย ๆ รัฐบาลทุ่มงบประมาณหวังลดความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาในหลายจุด ทั้งการแจ้งเตือน ระบบฐานข้อมูล จนต้องกลับมาตั้งคำถามว่าสิ่งที่ทำมาในอดีตมาถูกทางแล้วหรือไม่ และต้องทำอะไรเพิ่ม
ไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งสลับกับน้ำท่วมฉับพลันที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากวิกฤตสภาพอากาศสุดขั้ว นักวิจัยวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้จะกระทบเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับบน เตือนทุกฝ่ายร่วมกันลดปล่อยก๊าศเรือนกระจก และปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ธปท.ชี้ไทยต้องเริ่มปรับตัวภาคธุรกิจให้ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ป้องกันตกขบวนการค้าโลก พร้อมให้สถาบันการเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียวให้ครอบคลุมธุรกิจ SMEs ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ