การเมืองเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศยังเกิดขึ้นเป็นระยะ นับตั้งแต่อดีตพรรคไทยรักไทย จนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน หลังจากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมักจะมีความเห็นกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เรื่องการนำมาใช้อยู่เสมอ แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ต่อปี มองเศรษฐกิจไทยโตใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ แต่กังวลความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้าจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะทิศทางนโยบายการค้าโลก พร้อมปรับนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจมีปัญหา
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด
กระแสการเมืองส่งคนนั่งบอร์ดแบงก์ชาติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต "สมชัย จิตสุชน" อดีตกนง.มองว่าหากการเมืองส่งคนเข้ามา มีความเสี่ยงมากขึ้นจากความเชื่อมั่น แม้อาจไม่ถึงขั้นหายนะ ขึ้นกับการทำงานมากกว่า หากยึดหลักตามมาตรฐานวิชาชีพและมองระยะยาว
รายงานประชุม กนง. ส่งสัญญาณไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อขยับเข้ากรอบล่างเป้าหมายปลายปี 67 แต่กังวลหนี้เสียเริ่มขยายวงไปยังกลุ่มรายได้สูง พร้อมเฝ้าระวังกระทบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงมาตั้งแต่ต้นปี 67 และมีแนวโน้มจะแย่ลงเรื่อย ๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน แม้นโยบายการเงินจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไม่มาก แต่ก็มีการคาดว่า กนง.อาจยอมลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปลายปี 67 เพื่อลดแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศ
กนง.-คลัง กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2567 คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1-3% เป็นเป้าหมายสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะกลาง แต่อาจมีบางช่วงเคลื่อนไหวนอกกรอบ เพราะปัจจัยชั่วคราว
มติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ 2.50% กนง.พร้อมยินดีรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย ถือเป็นความหวังดีและเป็นประโยชน์ หลังถูกกดดันหนักจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ส่งสัญญาณถึง 3 ครั้งให้ลดดอกเบี้ยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ
อะไรคือนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยควรลดหรือไม่? เป็นข้อถกเถียงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาเรื่อง "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" และเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ซึ่ง ดร.สมชัย จิตสุชน อดีตกรรมการ กนง. มีคำตอบ