โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นมหกรรมแก้หนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ด้วยการตัดเงินต้น พักดอกเบี้ย 3 ปี และปิดจบหนี้ แต่โครงการนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ขึ้นกับประเภทของลูกหนี้ ดังนั้นยังมีข้อสงสัยอีกมากเกี่ยวกับเงื่อนไขและลูกหนี้จะได้อะไร และได้ประโยชน์จริงหรือ?
“คุณสู้ เราช่วย” โครงการแก้หนี้รายย่อย 2.1 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 8.9 แสนล้านบาท ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ธุรกิจขนาดเล็ก SMEs โดยจะลดต้นและพักดอกเบี้ยนาน 3 ปี เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 67
รัฐบาลเล็งลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู FIDF ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อชดเชยการพักดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 1 ปี ล่าสุด ธปท.เผยกำลังหาข้อสรุปที่ชัดเจนกับกระทรวงการคลัง ยอมรับลดส่งเงินเข้ากองทุนฯกระทบยืดจ่ายหนี้จากวิกฤตต้มยำกุ้งตั้งแต่ปี 40
'สักกะภพ' ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ออกมาชี้แจงเรื่องสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ โดยระบุว่าเป็น "ความเห็นส่วนตัว" ไม่เกี่ยวกับแบงก์ชาติ แม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นการตอบโต้ใคร แต่หากใครที่ติดตามจะรู้ว่าเป็นตอบโต้คำวิจารณ์ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ในเวที “Forbes Global CEO Conference”
ภายหลัง กนง.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบกว่า 4 ปี จาก 2.50% สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในไทยต้องทยอยประกาศปรับลดดอกเบี้ยลงตาม แล้วประชาชนคนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการลดดอกเบี้ยครั้งนี้
คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% เหลือ 2.25% มีผลทันทีในการประชุม 16 ต.ค. 2567 แต่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยตาม มีเพียงธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปรับลดลง 0.25% แต่มีผล 1 พ.ย. 2567
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี
ธปท.จับมือแบงก์พาณิชย์ ตั้งเป้าหมายผลักดันธนาคารออกผลิตภัณฑ์การเงินสำหรับกลุ่มลูกค้าที่พร้อมปรับตัวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คาดออกในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปี 2567 และหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเกิดการปรับตัว เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย