หนี้ครัวเรือน นับเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลที่พยายามแก้ไขมานาน เพราะหากครัวเรือนในประเทศมีหนี้ครัวเรือนสูง ย่อมส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ในขณะเดียวกันในระดับครัวเรือน อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว เพราะรายได้ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องนำไปใช้หนี้ และยิ่งมีภาระหนี้มากก็ยิ่งกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว
“หนี้ครัวเรือน” หมายถึง เงินที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาที่มีถิ่นที่อยู่ภายในประเทศ โดยบุคคลธรรมดานั้นอาจนำเงินที่กู้ยืมไปใช้จ่ายต่าง ๆ หรือเพื่อประกอบธุรกิจ ซึ่งหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ หรือช่วงที่ประสบปัญหาการว่างงานหรือรายรับลดลง
ข้อมูลหนี้ครัวเรือนครอบคลุมเฉพาะเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน 2 กลุ่ม ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเก็บข้อมูลได้ กลุ่มแรก คือ สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันรับฝากเงินอื่น ๆ กลุ่มที่สอง คือ สถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ได้แก่ บริษัทบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อส่วนบุคคล บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต บริษัทหลักทรัพย์ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน โรงรับจำนำ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ทั้งนี้ หนี้ครัวเรือนไม่รวมถึงหนี้นอกระบบ
ย้อนอดีต หนี้ครัวเรือนเพิ่มจากภาวะเศรษฐกิจ
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เกิดจากปัญหาเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลาเป็นหลัก โดยดัชนีที่ใช้วัดภาวะ “วิกฤติ”ของหนี้ครัวเรือน” คือ สัดส่วนหนี้ครัวเรือน (ไม่นับหนี้นอกระบบ) ต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) หากมีส่วนส่วนที่สูง ย่อมหมายถึงว่าการบริโภคภายในประเทศจะลดลง ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดรวม ดังนั้นหน่วยงานของรัฐอย่างธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พยายามหามาตรการหลายอย่างเพื่อลดหนี้ครัวเรือน
แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้ครัวเรือนขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศด้วย หากในช่วงภาวะเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีเหมือนในอดีต ที่มูลค่าจีดีพีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สัดส่วนหนี้ครัวเรือนมักจะไม่สร้างปัญหาในทางนโยบาย แต่หากเศรษฐกิจชะลอตัว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีก็จะเพิ่มสูงขึ้น
หากย้อนไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ในช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นล้วนแต่มาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ โดยแบ่งได้ตามช่วงเวลาดังนี้
ปี 2555-2558 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่สร้างความเสียหายในวงกว้าง ทั้งภาคประชาชนและธุรกิจ ทำให้เกิดความต้องการสินเชื่อสูงขึ้น ทั้งจากธนาคารพาณิชย์และจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ขยับขึ้นจาก 76.1% เป็น 85.9%
ปี 2559-2563 เป็นช่วงการฟื้นตัวจากสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้ดีและสินเชื่อขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ค่อนข้างคงที่ โดยช่วงปลาย ๆ ปี อยู่ที่ 84.1% ก่อนจะทะยานขึ้นในช่วงปลายปีจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ปี 2563-2565 เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้างมากและกินเวลายาวนาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนี้ครัวเรือนพุ่งสูงขึ้นมากที่สุด ในช่วงต้นปี อยู่ที่ 94.2% และสูงสุดในปี 2564 ที่ระดับ 94.7%
ปี 2565-2566 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่ทั่วถึง รวมทั้งสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนทรงตัวอยู่ที่ ระดับ 91%
จีดีพีขยายตัวเกินคาด หนี้ครัวเรือนลดต่ำ 91%
วรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวระหว่างแถลงภาพรวมธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 1 ปี 2567 ว่าด้านหนี้ครัวเรือนของไทย เมื่อเทียบกับจีดีพี (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 91.3% และจากการที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศจีดีพีไทยไตรมาส 1 เติบโตกว่าที่คาด 1.5% ทำให้คาดการณ์ว่าหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1 ปี 2567 มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยต่ำกว่า 91% ซึ่งจะประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า
สศช. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยใน ไตรมาสที่หนึ่งของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.1 จากไตรมาสที่สี่ของปี 2566 โดยแนวโน้มในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 2.5) ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการขยายตัวร้อยละ 1.9
แต่แนวโน้มผิดชำระเพิ่มสูงขึ้น
ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงและการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(Non-Performing Loans: NPLs) และสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นพิเศษ (Special Mention Loans: SMLs) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ยังคงอยู่ในระดับสูงร้อยละ 7.2 และร้อยละ 11.7 และสูงกว่าร้อยละ 4.6 และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ตามลำดับ
ทั้งนี้ ภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นข้อจ ากัดต่อความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มธุรกิจ SMEs ในขณะเดียวกัน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาสที่สี่ของปี 2566 อยู่ที่ร้อยละ 91.3 ใกล้เคียงกับร้อยละ 91.4 ในไตรมาส เดียวกันของปีก่อน แต่ยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 84.1 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ภายใต้คุณภาพสินเชื่อที่ลดลงส่งผลให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อกับธุรกิจมากขึ้น อาทิ การเพิ่มเงื่อนไขประกอบสัญญาเงินกู้ การเพิ่มหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงสภาพคล่องของกลุ่มธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
คุณภาพสินเชื่อครัวเรือนแย่ลง
ข้อมูลสินเชื่อที่เผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ให้เห็นว่า สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในไตรมาสแรกของปี 2567 มูลค่ารวม 5.43 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ 2.1 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการ ลดลงและการชะลอลงของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วย (1) สินเชื่อเพื่อการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มูลค่าคงค้างอยู่ที่ 1.16 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้า (2) สินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ (Personal Loan) มูลค่าคงค้าง 1.33 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5 ชะลอลงจากร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า (3) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มูลค่าคงค้าง 2.68 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และ (4) สินเชื่อบัตรเครดิต มูลค่าคงค้าง 0.21 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
การชะลอตัวของสินเชื่อส่วนหนึ่งเป็นผลจากสถาบันการเงินที่เพิ่มความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากภาระหนี ที่อยู่ในระดับสูงและคุณภาพสินเชื่อที่มีแนวโน้มปรับลดลง เห็นได้จากข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลที่ด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loan: NPL)ต่อสินเชื่อรวม (หมายถึง สินเชื่อที่มียอดคงค้างชำระเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป นับตั้งแต่วันครบก้าหนดสัญญา) อยู่ที่ร้อยละ 2.88 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.79 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 2.62 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพสินเชื่อของภาคครัวเรือนที่ปรับลดลงต่อเนื่อง และเป็นการปรับลดลงในสินเชื่อทุกวัตถุประสงค์
โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อรถยนต์ที่มีสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือหนี้เสียสูงขึ้นเร็วกว่าสินเชื่อสาขาอื่น ๆ โดยสัดส่วนของสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมของบัตรเครดิต อยู่ที่ร้อยละ 3.57 เพิ่มขึ นจากร้อยละ 3.34 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 3.12 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมของสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ร้อยละ 2.13 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.10 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 1.88 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาแนวโน้มของคุณภาพสินเชื่อภาคครัวเรือนจากสัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loans: SM) ต่อสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ (หมายถึงสินเชื่อที่มียอดคงค้างช้าระเงินต้นหรือดอกเบี้ยเกินกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน และมีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นข้อมูลสินเชื่อก่อนที่จะเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 พบว่า มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 6.86 เพิ่มขึ นจากร้อยละ 6.66 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 6.58 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วน SM ที่ร้อยละ 4.96 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.45 ในไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.88 ณ สิ นปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนโควิด-19 เช่นเดียวกันกับสินเชื่อรถยนต์ที่มีสัดส่วน SM สูงถึงร้อยละ 14.29 เทียบกับร้อยละ 14.55 ในไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 7.43 ณ สิ นปี 2562 สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพของสินเชื่อในทั้ง 2 สาขาดังกล่าวจะยังคงมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในระยะต่อไป
หนี้ครัวเรือนในช่วงต้นปี 2567 แม้ว่าแนวโน้มมีสัดส่วนขยับลง แต่เป็นการปรับลงทางเทคนิคที่เกิดจากการขยายตัวของจีดีพี แต่ “ตัวเลขภาระหนี้ที่แท้จริง” ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ชี้ให้เห็นว่าหนี้ครัวเรือนยังเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
รายละเอียดความเห็นธปท. ดิจิทัลวอลเล็ต5แสนล้าน