ThaiPBS Logo

แก้หนี้

แก้หนี้โดยการ "ปรับโครงสร้างหนี้" เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมุ่งแก้ปัญหาสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ซึ่งเป็นนโยบายต่อเนื่องจากรัฐบาลก่อนที่เน้นไปที่หนี้นอกระบบและหนี้เกษตรกร

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านและรถยนต์

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้าล่าสุด 5 ต.ค. 67

11 ธ.ค. 68 คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” นับเป็นการประสานบทบาทของทั้งภาครัฐ เอกชน และลูกหนี้ ในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนในกลุ่มเปราะบาง โดยลูกหนี้จะต้องลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการและชำระหนี้ตามเงื่อนไข ขณะที่ภาครัฐและสถาบันการเงินจะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง (50%) เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ร่วมโครงการ ประกอบด้วย 2 มาตรการ

มาตรการที่ 1 “จ่ายตรง คงทรัพย์” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อบ้าน รถ และ SMEs ขนาดเล็กที่มีวงเงินไม่สูงมาก ให้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้แบบลดค่างวดและพักภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยค่างวดที่จ่ายจะนำไปตัดชำระเงินต้นทั้งหมด ขณะที่ดอกเบี้ยที่พักไว้ตลอดระยะเวลา 3 ปี จะได้รับการยกเว้น หากลูกหนี้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ตลอดระยะเวลาของมาตรการ (ชำระเงินตรงเวลาและไม่ทำสัญญาสินเชื่อเพิ่มเติมในช่วง 12 เดือนแรกของการเข้าโครงการฯ) มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” มีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่วงเงินไม่สูงมาก ให้สามารถรักษาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันทั้งบ้าน รถ และสถานประกอบการไว้ได้ โดยจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้กับลูกหนี้ โดยค่างวดที่ลดลงจะทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องเหลือสำหรับดำรงชีพเพิ่มเติมระหว่างอยู่ในมาตรการ ขณะที่ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นจะช่วยให้ภาระหนี้โดยรวมของลูกหนี้ลดลง

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) โดยลูกหนี้จะต้องเข้ามาเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมาตรการ “จ่าย ปิด จบ” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียและยอดหนี้ไม่สูง สามารถเปลี่ยนสถานะการเป็นหนี้ จาก “หนี้เสีย” เป็น “ปิดจบหนี้” และเริ่มต้นใหม่ได้เร็วขึ้น

5 ต.ค. 67 สมาคมธนาคารไทยร่วมกับภาครัฐ เตรียมออกมาตรการปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย ที่วงเงินไม่สูง ในสินเชื่อบ้าน รถยนต์และเอสเอมอีขนาดเล็ก โดยจะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยหากดำเนินการตามเงื่อนไขหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล คือ “จะผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้านและรถ ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน ควบคู่กับการเพิ่มความรู้ทางการเงินและส่งเสริมการออมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย โดยจะดำเนินนโยบายผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์”

จากปัญหาหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ดังจะเห็นได้จากหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในสัดส่วนค่อนข้างสูงกว่า 90% ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากขาดกำลังซื้อ และ กระทบต่อคุณภาพชีวิตของครัวเรือนที่ติดหนี้สินจำนวนมาก

รัฐบาลที่ผ่านมา มีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้เป็น “รายกลุ่ม” และในบางกรณีในช่วงวิกฤติของประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะออกมาตรการแก้หนี้ “ทั้งระบบ” อาทิ ในช่วงวิกฤติการเงินโลก และ เศรษฐกิจชะลอในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

แต่มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ประหนึ่งดาบสองคม เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสถาบันการเงินของประเทศ และอาจเกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ซึ่งในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม มาตรการสำคัญของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะหนี้จากสินเชื่อบ้านและรถยนต์ ซึ่งพบว่าในช่วงที่ผ่านมา ลูกหนี้มีปัญหาผ่อนชำระอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าสถานการณ์หนี้เสียของสถาบันการเงินปรับเพิ่มสูงขึ้น

หนี้เสีย

การแก้ปัญหาหนี้ มีหลายวิธี แต่ที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่สามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาว คือ การปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทั้งฝ่ายลูกหนี้จะสามารถผ่อนชำระได้ ในขณะะที่เจ้าหนี้จะไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับการเบี้ยวหนี้

ทั้งนี้ โครงการปรับโครงสร้างหนี้ ธปท.ร่วมกับสถาบันการเงิน เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2560 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร?

จากความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจที่คนเราต้องเผชิญในเศรษฐกิจยุคใหม่ ทำให้ลูกหนี้มีความเสี่ยงจากรายรับไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งที่ผ่านมา คนไทยมักจะกังวลเมื่อต้องไปเผชิญหน้ากับสถาบันการเงิน

แต่ทางแก้ไขต้องรีบดำเนินการ ไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านไป โดยสิ่งแรกที่ลูกหนี้ต้องรีบดำเนินการคือ ติดต่อกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่

ธปท.ระบุว่า การปรับโครงสร้างหนี้ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญากู้เงินที่เคยทำไว้กับเจ้าหนี้ได้อีกต่อไปได้ ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายรับที่ลดลงหรือความสามารถในการชำระหนี้ที่เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย (Non-Performing Loan : NPL) เพราะหากปล่อยปัญหาหนี้ไว้นานเกินไปอาจส่งผลเลวร้ายกว่าที่คิด เช่น ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ และหาทางออกได้ยากยิ่งขึ้น

ทางเลือกในการปรับโครงสร้างหนี้

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ศึกษารูปแบบการปรับโครงสร้างหนี้ว่าแบบไหนเอื้อให้สามาระผ่อนชำระต่อไปได้ โดยมีหลายวิธี

1. ขอขยายเวลาชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป ซึ่งจะทำให้ค่างวดลดลง เช่น สัญญาฉบับเดิมมีระยะเวลาการกู้อยู่ที่ 10 ปี ค่างวดอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ผ่อนชำระมาแล้ว 7 ปี เหลือระยะเวลาผ่อนอยู่ 3 ปี แต่เมื่อเริ่มผ่อนไม่ไหว จึงขอเจรจาขยายเวลาชำระหนี้กับเจ้าหนี้ออกไปจาก 3 ปีเป็น 5 ปี เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลงต่ำกว่า 10,000 บาท เพื่อลดภาระในการจ่ายค่างวดแต่ละเดือนให้แก่ลูกหนี้ได้

2. รีไฟแนนซ์ (refinance) คือ “การเปลี่ยนเจ้าหนี้”หรือการ “ปิดหนี้” จากเจ้าหนี้รายเดิมมาเป็นเจ้าหนี้รายใหม่หรือทำสัญญาใหม่กับเจ้าหนี้เดิมที่เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง แล้วนำเงินที่ได้มาปิดหนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่ แต่ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ควรคำนึงถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าจดจำนอง ค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ ค่าประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ การทำสัญญาใหม่ รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้กับเจ้าหนี้

3. ขอลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ค่างวดที่เราจ่ายในแต่ละเดือนสามารถนำไปตัดเงินต้นได้มากขึ้น หมดหนี้เร็วขึ้น ทั้งนี้ เจ้าหนี้อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เช่น พิจารณาจากอายุของลูกหนี้ ประวัติการผ่อนชำระ และความสามารถในการชำระหนี้หลังปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ดังนั้น ลูกหนี้ต้องเริ่มจากติดต่อสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นเจ้าหนี้ก่อน เพื่อสอบถามแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ร่วมกัน จากนั้นลองศึกษาวิธีการหรือเงื่อนไขในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้รูปแบบต่าง ๆ

ทั้งนี้ ควรประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ และต้องไม่รับเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ทำไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการผ่อนชำระหนี้ไม่ไหวตามมา

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ครม.อนุมัติมาตรการแก้หนี้ลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)รายเล็ก เพื่อช่วยแก้ปัญหาหนี้ในบัญชีสินเชื่อบ้าน รถยนต์ และเอสเอ็มอีรายย่อย ด้วยการยกเว้นดอกเบี้ย  ดูเพิ่มเติม ›

    11 ธ.ค. 2567

  • ทักษิณ ชินวัตร ระบุว่านางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าในเดือนธ.ค.67 รัฐบาลจะออกมาตรการแก้ปัญหาหนี้

    14 พ.ย. 2567

  • สมาคมธนาคารไทย เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย สำหรับลูกหนี้บ้าน รถยนต์และเอสเอ็มอีขนาดเล็ก

    5 พ.ย. 2567

  • เอกสารแถลงนโยบายรัฐบาล ระบุว่าจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์และที่อยู่อาศัย

    6 ก.ย. 2567

  • โครงการคลินิกแก้หนี้เดินหน้าเข้าสู่ “ระยะที่ 3” โดยได้ขยายขอบเขตให้สามารถแก้ไขหนี้บัตรที่มีเจ้าหนี้รายเดียว และหนี้บัตรที่อยู่ในกระบวนการของศาลและมีคำพิพากษาแล้ว

    1 ก.พ. 2563

  • โครงการคลินิกแก้หนี้ ระยะที่ 2 ขยายขอบเขตให้รวมลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ non-bank 19 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ

    15 พ.ค. 2562

  • สมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารนานาชาติ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) โดยการสนับสนุนของ ธปท. ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560  ดูเพิ่มเติม ›

    1 มิ.ย. 2560

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ
เน้นสินเชื่อรถยนต์และบ้าน

เชิงกระบวนการ

สำรวจลูกหนี้
ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ธนาคารพาณิชย์และบริษัทบริหารสินทรัพย์

เชิงการเมือง

แก้ปัญหาลูกหนี้ได้
ให้ความรู้และการออมใหม่ ๆ เช่น หวยเกษียณ

บทความ

ดูทั้งหมด
“คุณสู้ เรา (ควร) ช่วย (อย่างไร?)” เปลี่ยนมุมคิด...พิชิตหนี้อย่างยั่งยืน

“คุณสู้ เรา (ควร) ช่วย (อย่างไร?)” เปลี่ยนมุมคิด...พิชิตหนี้อย่างยั่งยืน

เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้ล้นพ้นตัว คือสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของคนไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ โดยไตรมาส 2 ของปี 2567 หนี้ครัวเรือนไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 89.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่คาดว่าจะไม่สร้างรายได้

คนไทยหนี้ท่วม มาจากรายได้ไม่พอ ต้องกู้นอกระบบ

คนไทยหนี้ท่วม มาจากรายได้ไม่พอ ต้องกู้นอกระบบ

นโยบายแก้หนี้ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น แต่ยังไม่ตอบโจทก์มากพอในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาใหญ่มาจากรายได้ไม่เพียงพอ แม้มีมาตรการช่วเหลือ ลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ รัฐบาลควรดำเนินการระยะยาวและมีฐานข้อมูลเพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด

ตอบข้อสงสัยพักหนี้รายย่อย “คุณสู้ เราช่วย” ลูกหนี้ได้อะไร?

ตอบข้อสงสัยพักหนี้รายย่อย “คุณสู้ เราช่วย” ลูกหนี้ได้อะไร?

โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นมหกรรมแก้หนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ด้วยการตัดเงินต้น พักดอกเบี้ย 3 ปี และปิดจบหนี้ แต่โครงการนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ขึ้นกับประเภทของลูกหนี้ ดังนั้นยังมีข้อสงสัยอีกมากเกี่ยวกับเงื่อนไขและลูกหนี้จะได้อะไร และได้ประโยชน์จริงหรือ?