บทความ
ทส.ประกาศเพิ่ม 16 อุทยานฯ ให้ชาวบ้านเก็บของป่า
ทส.ยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ เพิ่มพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 16 แห่ง ให้ชาวบ้านในพื้นที่หาของป่าได้โดยไม่กระทบป่าและทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดระยะเวลา 20 ปี
ทส.ปรับใหม่พื้นที่ "คนอยู่กับป่า" จาก 14 เหลือ 6 แห่ง
ทส.ปรับปรุงเขต "คนอยู่กับป่า" ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตาม One Map ให้ประชาชนอยู่อาศัยได้หากอยู่มาก่อนพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 รวมถึงเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในป่าที่ฟื้นตัวได้ตามฤดูกาล จากประกาศเดิม 14 พื้นที่ เหลือ 6
ป่าไม้ลดมากสุดรอบ 10 ปี ภาคเหนือหนักสุด1.7แสนไร่
พื้นที่ป่าไม้ของประเทศลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี เหลือสภาพป่าทั้งประเทศ 31.75% ขณะที่ตามแผนพัฒนาฯและแผนยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 40% ในช่วงปี 2566 ลดลงมากถึง 3.17 แสนไร่ โดยภาคเหนือมากที่สุด 1.7 แสนไร่
จริงหรือ? ทส.รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงทุกปี แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยในปีที่ผ่านมา กลับระบุว่าดีขึ้นและทรงตัว ไม่มีด้านใดที่เลวร้ายลง
แนวเขตทับลาน เทียบแผนที่3ฉบับ เหลือพื้นที่เท่าไร
ปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เมื่อประกาศเขตอุทยานแห่งชาติและมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งภาครัฐพยายามแก้ไขด้วยการ "ขีดเส่นแบ่ง" เพื่อให้เกิดความชัดเจน แต่ที่สำคัญคือ มีการใช้แผนที่หลายฉบับ ทำให้เกิดปัญหาว่าจะใช้แผนที่ฉบับไหน แม้แต่หน่วยงานรัฐ
เปิดบันทึกบอร์ดอุทยาน ค้านผู้ตรวจการแผ่นดิน "เฉือนป่าทับทาน"
เปิดผลการประชุมบอร์ดอุทยานแห่งชาติ ครั้งหลังสุดเมื่อปี 2563 ค้านแนวทางผู้ตรวจการแผ่นดิน เพิกถอนแนวเขตทับลานบางส่วน เผยเสี่ยงกระทบมรดกโลกและการดำเนินคดีบุกรุกป่า โดยเฉพาะพวกนายทุนกลุ่มรีสอร์ทและโรงแรม เทียบความแตกต่างพื้นที่อุทยานจากแผนที่ 3 ฉบับ หากใช้ One Map ผืนป่าทับลานจะเหลือราว 1.1 ล้านไร่
ฟ้องศาลปกครอง"คุ้มครอง" ช่องทางทุนบุกรุกพื้นที่ป่า
ประเด็นความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทเข้าไปก่อสร้างกันได้อย่างไร จนเกิดการบุกรุกโดยรอบพื้นที่ ซึ่งจากการประชุมบอร์ดอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2563 พบว่าผู้ประกอบการใช้วิธียื่นศาลปกครองขอคุ้มครองชั่วคราว
มหากาพย์ครึ่งศตวรรษ ปัญหาที่ดินอุทยานแห่งชาติทับลาน
ปัญหาที่ดินบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นประเด็นที่มีมานานกว่าครึ่งศวรรษ นับตั้งแต่มีการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ว่าบางส่วนจะสามารถแก้ปัญหาไปได้ แต่ก็มีบางส่วนที่ยากต่อการแก้ไขเพราะเป็นการบุกรุกพื้นที่ป่ารายใหม่ และเป็นกลุ่มทุนที่มีอิทธิพลทางการเมืองที่มีการบุกรุกต่อเนื่องรอบพื้นที่อุทยาน
"เผา-บุกรุก"ป่า ผลพวงการพัฒนามุ่งแต่เม็ดเงิน
การบุกรุกและเผาป่า นับวันจะรุนแรงขึ้น โดยที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการอะไรได้ นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้นตอการเผ่าป่า ทั้งเพื่อบุกรุกพัฒนาการท่องเที่ยวและปลูกข้าวโพดเพื่อส่งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ล้วนแต่มาจากนโยบายของรัฐบาลเองที่มุ่งไปที่ "เม็ดเงิน" แต่ละเลยสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทย
รัฐถือครองที่ดินเกินจำเป็น ไม่เอื้อประชาชนอยู่ดีกินดี
รัฐไทยถือครองที่ดินราว 60% ของทั้งประเทศ แต่การบริหารยังขาดความเป็นระบบเดียวกัน นำมาซึ่งปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่มากถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ ก่อให้เกิดข้อพิพาทกับชาวบ้านที่ถูกกีดกันออกจากพื้นที่ป่าดั้งเดิมมาอย่างต่อเนื่อง
เปิดบันทึก 4 ข้อตกลง แก้ข้อพิพาทที่ดิน"ส.ป.ก.-อุทยานฯ"
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2567 เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเขตที่ดินระหว่างอุทยานแห่งชาติและสำนักงานส.ป.ก. โดยเฉพาะข้อพิพาทพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จะทำให้เสร็จภายใน 2 เดือน
ย้อนรอยออก ส.ป.ก.อุทยานเขาใหญ่ ใครคือไอ้โม่ง?
เปิดไทม์ไลน์ "ข้อพิพาทที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" จะช่วยให้เราเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ และมีความ "ผิดปกติ" เกิดขึ้นในกระบวนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.4-01 นำไปสู่การตั้งกรรมการสอบเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก.โคราช จนในที่สุดในการตั้งคณะอนุกรรมการแก้ปัญหาให้เสร็จเรื่องเขตพื้นที่ในเวลา 2 เดือน
จาก"ทับลานโมเดล" สู่ "เขาใหญ่" กลืนป่ามรดกโลก
ส.ป.ก.ปักหมุดอาณาเขตรุกล้ำพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กลายเป็นปัญหาระดับชาติ เมื่อพื้นที่ป่ากำลังจะเป็นโฉนดที่ดิน นำไปซื้อขายต่อได้หลังถือครองครบ 5 ปี และกรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วบนพื้นที่กว่า 900 ไร่ ในอุทยานแห่งชาติทับลาน
ปรับเกณฑ์จำแนกที่ดินใหม่ กันพื้นที่"ป่าไม้ถาวร"
การจำแนกประเภทที่ดินเป็นขั้นตอนแรก ๆ ในการจัดสรรที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ส.ป.ก.) แต่จากปัญหาพิพาทที่ดินอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กรมพัฒนาที่ดินปรับเกณฑ์ใหม่ โดยจะไม่มีการจำแนกที่ดินในเขตป่าเพื่อสงวนไว้เป็นป่าถาวร
ห้ามออกส.ป.ก.พื้นที่อุทยาน-ป่าสงวน
ปัญหาที่ดินส.ป.ก.ในพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานได้ข้อยุติ โดยเฉพาะพื้นที่เขาใหญ่ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติและป่าสงวน เมื่อรมว.เกษตรฯออกคำสั่งห้ามจัดสรรที่ดินส.ป.ก. แต่ก็ยังสุ่มเสี่ยง เนื่องจากต้องรอใช้แผนที่ทหาร และ เป็นเพียงคำสั่งรมว.เกษตร ขณะที่การออกที่ดินส.ป.ก. เป็นกฎหมาย