ในการประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 19 พ.ย.67 เห็บชอบหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยังยื่นในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นการกำหนดพื้นที่อุทยานฯให้ชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณอุทยานแห่งชาติสามารถเก็บหาของในป่าได้ โดยต้องไม่สร้างผลกระทบต่อป่า สัตว์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาการดำรงชีพตามวิถีชุมชน หรือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่อยู่โดยรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติ ซึ่งโครงการนี้บัญญัติอยู่ในกฎหมายพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562
เพิ่ม 16 พื้นที่อุทยานฯหาของป่า
ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยังยื่นในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการเพิ่มเติมรายชื่อโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ บัญชีข้อมูลประเภทและชนิดของทรัพยากรธรรมชาติภายในโครงการอนุรักษ์ฯ และแผนที่แสดงแนวเขตโครงการอนุรักษ์ตามร่างประกาศดังกล่าวในบัญชีและแผนที่ท้ายร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณามาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งมีสาระสำคัญเช่นเดียวกับร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง โครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. โดยเพิ่มจำนวนโครงการอนุรักษ์ฯ อีก 16 แห่ง ดังนี้
กำหนดแนวเขตพื้นที่เพื่อจัดโครงการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายร่างประกาศนี้ จำนวน 16 แห่ง ดังนี้
- อุทยานแห่งชาติคลองพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อุทยานแห่งชาติคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
- อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์
- อุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด จังหวัดประจวบศรีขันธ์
- อุทยานแห่งชาติตาพระยา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสระแก้ว
- อุทยานแห่งชาติแม่จริม จังหวัดน่าน
- อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดพังงา
- อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จังหวัดจันทบุรี
- อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์
- อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล
- อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก
- อุทยานแห่งชาติสาละวิน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล
- อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์
- อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จังหวัดราชบุรี
โดยให้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 20 ปี นับแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดำเนินการสำรวจชุมชนที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ หรืออยู่อาศัยโดยรอบอุทยานแห่งชาติตามรายชื่อข้างต้น ที่เข้ามาเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ในอุทยานแห่งชาติโดยเป็นการดำรงชีพตามวิถีชุมชนหรือวิถีชีวิตตั้งเดิม และให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติโดยความเห็นชอบของผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์แห่งท้องที่นั้น ดำเนินการต่อไปนี้
- ประกาศรายชื่อชุมชน โดยปิดประกาศให้ประชาชนในเขตพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติทราบโดยทั่วกัน ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่ทำการเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล และที่ทำการกำนันหรือที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
- ประกาศกำหนดพื้นที่โครงการที่อนุญาตให้เข้าไปเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในแนวเขตพื้นที่โครงการฯ ตามข้อ 1 โดยประกาศดังกล่าวให้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งจัดทำบัญชีประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในท้ายร่างประกาศนี้
คุณสมบัติผู้ได้รับอนุญาต
กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปในอุทยานแห่งชาติเพื่อเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในเขตพื้นที่โครงการ ดังนี้
1. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านตามที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติได้สำรวจชุมชนตามข้อ 2
2. การเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลาตามที่อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งประกาศกำหนด ทั้งนี้ จำนวนสมาชิกในแต่ละครัวเรือนในการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์ดังกล่าว จะต้องสอดคล้องกับประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ ฤดูกาลช่วงระยะเวลา และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการแบ่งปัน การจัดสรร และการควบคุมดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ ซึ่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งจะประกาศกำหนด โดยผ่านการรับฟังความคิดเห็นของผู้แทนหัวหน้าครอบครัวและหัวหน้าครอบครัว และหารือร่วมกับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการแบ่งปันฯ ดังกล่าว
ข้อกำหนดหาของป่า
กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตปฏิบัติ ดังนี้
1. เก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ภายในพื้นที่ที่กำหนด ตามประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ และฤดูกาลช่วงระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปเพื่อการดำรงชีพอย่างเป็นปกติธุระ กล่าวคือ จะต้องเป็นไป เพื่อการบริโภคหรือการใช้สอยภายในครัวเรือน หากเก็บไปเพื่อการค้าขาย ห้ามใช้ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะในการขนส่ง เว้นแต่ เป็นชนิดที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกำหนดจำนวน ปริมาณที่สามารถใช้ยานพาหนะหรือสัตว์พาหนะในการขนส่งได้ และไม่สามารถให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บุคคลในครัวเรือนเก็บหาหรือใช้ประโยชน์แทนได้
2. ไม่เก็บหาหรือใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะต้องห้ามเพื่อการสงวนหวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาตินั้นหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติควบคุม หรือทรัพยากรธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์หรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ห้ามเก็บตามประกาศ แต่ละท้องที่ในจังหวัดนั้น
3. ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โครงการ และโดยรอบโครงการ รวมทั้งร่วมฟื้นฟูสภาพพื้นที่ให้คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
4. ไม่บุกรก แผ้วถาง หรือขยายพื้นที่เก็บหาหรือการใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจากที่ได้รับอนุญาต
5. ไม่เคลื่อนย้ายหรือทำลายหลักเขตหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตโครงการ ในกรณีที่พบว่าหลักเขตหรือเครื่องหมายชำรุดหรือสูญหายให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ทันที
6. ดำเนินการตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลโครงการ
มอบอำนาจหัวหน้าอุทยานฯควบคุม
กำหนดให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแล ตรวจสอบ และติดตามการเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ในเขตพื้นที่โครงการ เพื่อให้เป็นไปตามขอบเขตพื้นที่ ประเภท ชนิด จำนวน ปริมาณ และฤดูกาลช่วงระยะเวลาตามที่ประกาศ โดยหากมีการกระทำที่มีผลกระทบต่อสภาพธรรมชาติ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศ ให้มีคำสั่งระงับการกระทำดังกล่าว
กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินโครงการ โดยให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติประเมินผลการดำเนินโครงการและรายงานให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากคณะกรรมการฯ ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่ทดแทนได้ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ หรือไม่ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาต ให้อธิบดีฯ ตรวจสอบและพิจารณาทบทวนการดำเนินโครงการ
และรายงานต่อรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งให้ยุติการดำเนินโครงการ และสั่งการให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ นำพื้นที่นั้นมาฟื้นฟูสภาพหรือดำเนินการอนุรักษ์ให้คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่อไป
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง