พ.ศ.2506 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2506 ให้รักษาพื้นที่ป่านครราชสีมา-ปักธงชัย-โชคชัย เป็นพื้นที่ป่าไม้ จึงได้กำหนดให้ ป่าภูเขาหลวง/ป่าวังน้ำเขียว/ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่/ป่าเขาสะโตน/ป่าคร เป็น “ป่าไม้ถาวร”
พ.ศ. 2509 กฎกระทรวง ฉบับที่ 176 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้ป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลแชะ ตำบลจระเข้หิน ตำบลสระตะเคียน และตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2510 กฎกระทรวง ฉบับที่ 239 (พ.ศ. 2510) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน ในท้องที่ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี ตำบลบ้านแก้ง ต้าบลปี่ฆ้อง ต้าบลท่าแยก อำเภอสระแก้ว และตำบลหนองน้ำใส ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2515 กฎกระทรวง ฉบับที่ 505 (พ.ศ. 2515) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้ป่าวังน้ำเขียว ในท้องที่ต้าบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2516 กฎกระทรวง ฉบับที่ 576 (พ.ศ. 2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนปห่งชาติ พ.ศ. 2507 กำหนดให้ป่าเขาภูหลวง ในท้องที่ตำบลตะขบ และต้าบลสะแกราช อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2518 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่กิ่งอำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2520-2523 รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือราษฎีที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2519 และวันที่ 28 มิ.ย. 2520 อนุมัติให้ส.ป.ก.ประสานกรมป่าไม้เพื่อขอดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่มีสภาพเสื่อมโทรม จำนวน 29 ป่า (ป่าเก่าหรือ ป่า F)
ต่อมากรมป่าไม้ร่วมกับ ส.ป.ก. และหน่วยงานด้านความมั่นคง (หน่วยบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร 2021 (พตท. 2021) กอ.รมน.ภาค 2) ได้สำรวจรังวัดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังน้ำเขียว (ป่าวังน้ำเขียวแปลง 1 และป่าวังน้ำเขียวแปลง 2) ที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้วเสร็จ
ในการสำรวจรังวัดมีการโยงยึดค่าพิกัดหมุดหลักฐานแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร ตามหลักวิชาชีพของงานช่างสำรวจ ระบบพิกัดฉาก UTM.DATUM INDIAN 1975 เพื่อทราบตำแหน่ง รูปแปลง และเนื้อที่ที่แน่นอน เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาการในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งใช้เงินกู้จากธนาคารโลก (WORLD BANK) และโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคง ซึ่งรัฐได้อพยพราษฎรที่อยู่อาศัยอย่างกระจัดกระจายในพื้นที่ป่า มาอยู่รวมกันโดยจัดสรรพื้นที่ให้อยู่อาศัยทำกิน และจัดตั้งเป็นหมู่บ้านใช้ชื่อว่า “บ้านไทยสามัคคี” โดยที่กรณีนี้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าพื้นที่บริเวณณดังกล่าวมีราษฎรอยู่อาศัยทำกินมาเป็นเวลากว่า 40 ปี
อย่างไรก็ตาม ส.ป.ก.ไม่สามารถดำเนินการในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ในขณะนั้น ไม่ได้กำหนดให้ส.ป.ก. สามารถนำที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ยังมีสถานะทางกฎหมายเป็นป่าสงวนแ่งชาติอยู่มาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ต้องให้กรมป่าไม้ถอนสภาพการเป็นป่าสงวนแห่งชาติเเสียก่อน
ทั้งนี้ ผู้แทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าบริเวณพื้นที่ป่าวังน้้าเขียวแปลง 2 นั้น ได้มีการการสำรวจรังวัดเข้ามาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ ป่าเขาสะโตน บางส่วน ซึ่งป่าดังกล่าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ในขณะนั้น) ไม่ได้อนุมัติให้ส.ป.ก. เข้าด้าเนินการปฏิรูปที่ดิน อีกทั้งไม่ปรากฏหลักฐานการส่งมอบพื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้
พ.ศ. 2521 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อ้าเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอปักธงชัย และอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2524 การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลานประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าวังน้้าเขียว และป่าครบุรี ในท้องที่ตำบลสะแกราช ตำบลวังน้้าเขียว อำเภอปักธงชัย ตำบลครบุรี ตำบลจระเข้หิน ตำบลโคกกระชาย อำเภอครบุรี และตำบลสระตะเคียน ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขสะโตน ในท้องที่
ตำบลบุพราหมณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดดปราจีนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2524
ทั้งนี้ ผู้แทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ให้ข้อมูลว่ากรมป่าไม้(ในขณะนั้น) ไม่ได้ทำการสำรวจพื้นที่จริงก่อนการประกาศกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน แต่เป็นการน้าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 ป่า ซึ่งได้มีการสำรวจรังแนวเขตป่าในพื้นที่จริง มาประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2525-2533 โครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงในพื้นที่ (พมพ.) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2525 อนุมัติให้กองทัพภาคที่ 2 ดำเนินการโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อความมั่นคงในพื้นที่ (พมพ.) ในบริเวณพื้นที่รอยต่ออำเภอเสิงสาง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมาโดยมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าครบุรี และอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2526-2532 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2533 กองทัพภาคที่ 2 ได้เสนอให้กรมป่าไม้พิจารณาปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2534 และมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน
พ.ศ. 2528 กฎกระทรวง ฉบับที่ 1,145 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้ยกเลิกป่าสงวนแห่ง ป่าวังน้ำเขียว ซึ่งประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 204 (พ.ศ. 2515) และประกาศกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าวังน้ำเขียวใหม่ เนื่องจากได้ส่งมอบพื้นที่ป่าบางส่วนให้ส.ป.ก. ไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และบางส่วนยังถูกนำไปประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน
การออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,145 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติชาติ พ.ศ. 2507 ก้าหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียวใหม่ มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติวังน้ำเขียวเดิมบางส่วน ส่งผลให้แนวเขตป่าไม้ถาวรเปลี่ยนแปลงตามแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ยกเว้นพื้นที่ทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติยังคงเป็นป่าไม้ถาวรอยู่ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อüันที่ 13 ก.พ. 2533
มีสาระสำคัญ คือ พื้นที่ที่กันออกในการกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่ที่เพิกถอนจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้วแต่กรณี ถือว่าพื้นที่กันที่กันออกหรือเพิกถอนนั้น ไม่เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีนี้
พ.ศ. 2531 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2531 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2533-2535 โครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.)เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2533 โครงการจัดที่ดินทำกินให้กับราษฎรผู้ยากไร้ในพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม (คจก.) ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลชุดของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2535 ส่งมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการตามโครงการดังกล่าวจำนวน 17 พื้นที่ ให้ส.ป.ก. นำมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าครบุรี รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ 12,497 ไร่ โดยพื้นที่ดำเนินการส่วนใหญ่อยู่ในโครงการ พมพ.(ด้านทิศตะวันออก) และเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน
พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 และ 17 มี.ค. 2535 จ้าแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็น 3 เขต (Zone) ได้แก่ เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) เขตพื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (Zone E) และเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะต่อการเกษตร(Zone A) ซึ่งการกำหนดเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (Zone C) ทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ที่มีการร้องเรียนบางส่วน
พ.ศ. 2537 แนวเขตสำรวจเพื่อกำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับลานปี พ.ศ. 2537 ในการประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติครั้งที่ 1/2537 เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2537 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานได้ตามการเสนอของคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้มีค้าสั่งที่ 2092/2534 ลงวันที่ 23 พ.ค. 2534 แต่งตั้งคณะทำงานกำหนดป่าอนุรักษ์และปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน และคณะทำงานดังกล่าวได้รายงานผลการปฏิบัติงานเสนอให้ปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริงซึ่งได้จัดทำแนวเขต โดยปักหลักเขตและจัดทำป้ายป่าอนุรักษ์ แสดงแนวเขตอุทยานแห่งชาติที่มีค่าพิกัดในระบบยูทีเอ็ม โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ (ปี พ.ศ. 2526) ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 5 (ปี พ.ศ. 2535) และเอกสารอื่น ๆ ประกอบการพิจารณาปรับปรุง
ต่อมากรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 1145/2537 ลงวันที่ 6 ก.ค. 2537 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานรังวัดแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานปี พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2540 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมป่าไม้) เร่งรัดจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานตามที่ได้ดำเนินการกันพื้นที่ไปแล้ว ในเขตอำเภอวังน้้าเขียว รวม 8 จุด เนื้อที่ประมาณ 21,135 ไร่ ในเขตอำเภอเสิงสาง รวม 4 จุด เนื้อที่ประมาณ 14,850 ไร่ และในเขตพื้นที่อำเภอครบุรี จำนวน 1 จุด เนื้อที่ประมาณ 622 ไร่ โดยให้นำร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กันพื้นที่
ทั้งนี้ ในขณะที่การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้นยังไม่แล้วเสร็จ กรมป่าไม้ได้เสนอให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ซึ่งได้เห็นชอบด้วยและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2541 ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2540 ที่ให้กันพื้นที่ออกจากอุทยานแห่งชาติแล้วมอบพื้นที่ให้ส.ป.ก. ดำเนินการ และให้ใช้มติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้แทนข้อความในมติคณะรัฐมนตรีฉบับที่ยกเลิกข้างต้น
โดยยืนยันนโยบายของรัฐที่จะไม่นำพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของราษฎร แต่หากรับการดำเนินการใด ๆ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วและสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ให้ด้าเนินการต่อไป ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการก็ให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับนี้ด้วย
เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2542 กรมป่าไม้ได้จัดการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและป่าสงวนแห่งชาติครบุรี จังหวัดนครราชสีมา โดยที่ประชุมมีมติให้กรมอุทยานแห่งชาติและอุตสาหกรรมป่าไม้ กรมป่าไม้ (ขณะนั้น) เร่งดำเนินการรังวัดปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานเพื่อเสนอให้มีการเพิกถอนตามขั้นตอน และให้สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดำเนินการตามความเห็นของอธิบดีกรมป่าไม้ในการจัดทำโครงการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้
ต่อมากรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 44/2543 ลงวันที่ 11 ม.ค. 2583 แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี และประธานคณะกรรมการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน มีค้าสั่งที่ 10/2543 ลงวันที่ 6 มี.ค. 2543 แต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ท้องที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งคณะทำงานฯ ออกปฏิบัติงานนัดรังวัดแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยมีการรังนัดทำค่าพิกัด GPS มีการฝังหลักแนวเขตไม่ชัดเจน ผลการด้าเนินการสรุปได้ว่า มีพื้นที่กันออก 273,310.02 ไร่และมีพื้นที่ผนวกเพิ่ม 110,172.95 ไร่
แต่ผลการดำเนินการปรับปรุงแนüเขตอุทยานแห่งชาติทับลานดังกล่าวยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ที่จะให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แนวเขตที่ได้ดำเนินการมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2543 จึงไม่มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมาย ทำให้ยังคงต้องยึดถือแนวเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ. 2524