
ชานันท์ ยอดหงษ์

เพิ่มเงินเยียวยาสูงสุด 3 แสนบาท “เหยื่อคดีอาญา-ไม่ผิดแต่ติดคุก”
เพิ่มเงินเยียวยาเหยื่อคดีอาชญากรรมและจำเลยคดีอาญาทั้ง ๆ ที่ไม่มีความผิด ค่าตอบเเทนวงเงินสูงสุด 300,000 บาท หวังให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และลดขั้นตอนในการรับเงินเพื่อลดภาระประชาชน จากเดิมยุ่งยากและเป็นภาระ ขณะที่นักกฎหมายแนะให้สิทธิประกันตัวดีกว่าจ่ายชดเชย

ซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปทางไหน? เมื่อ THACCA สะดุดกฎหมาย
ซอฟต์พาวเวอร์เป็นนโยบายยุทธศาสตร์รัฐบาลที่จะสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำไปสู่การตั้ง THACCA เพื่อเชื่อมภาครัฐกับเอกชน แก้กฎหมายและระบบภาษีปลดล็อคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แม้ พ.ร.บ. THACCA ยังไม่ผ่านสภา

ก.ม.คุ้มครองผู้ชี้เบาะแสคดีทุจริตต่อป.ป.ช. ไม่ช่วยแก้ฟ้องปิดปาก
พ.ร.ป. การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ประกาศใช้เพื่อเพิ่มระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคดีทุจริตต่อ ป.ป.ช. โดยไม่ต้องรับผิดหากถูกฟ้องร้องกลับ โดยหวังเพิ่มผู้ชี้เป้าทุจริตและการประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง แต่ไม่ช่วยกรณีอื่น

คดีฮั้วเลือกสว. จะจบแบบไหน หรือ มวยล้มต้มคนดู?
คดีฮั้วเลือกสว. จะจบลงอย่างไร หรือ จะเป็นมวยล้มต้มคนดู หลังผ่านไปกว่า 1 ปีเพิ่งดำเนินคดี ขณะที่สว.บางกลุ่มขอเปิดประชุมสภาวิสามัญ เลือกผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ที่มีอำนาจในการพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดีนี้ นำไปสู่ความกังวลใจเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน “เลือกคนที่จะมาตัดสินตัวเอง”

ส่องชีวิต LGBTQIA+ หลังกฎหมายสมรสเท่าเทียม
นับตั้งแต่มีสมรสเท่าเทียมเมื่อ 23 ม.ค. 68 จนถึงสิ้น พ.ค. 68 จำนวนคู่รักเพศเดียวกันที่จดทะเบียนสมรสทั่วประเทศมีถึง 15,286 คู่ จากคู่จดทะเบียนสมรสทั้งหมด 121,342 คู่ คิดเป็น 12.60% ของคู่สมรสทั้งหมด แม้จะมีคู่สมรสใช้สิทธิตามกฎหมายเพิ่มขึ้น แต่ยังมีข้อกฎหมายอีกมากที่รอวันแก้ไข

ดับไฟใต้อาจเป็นเรื่องยาก หาก “เจรจาสันติภาพ” ไม่ได้ไปต่อ
แม้ “การเจรจาสันติภาพ” จะเป็นความหวังของคนในพื้นที่ชายแดนใต้กว่า 50% แต่ความจริงบนโต๊ะเจรจา กลับยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ท่ามกลางการตั้งคำถามของสังคมอีกส่วนที่ยังมองการ “ปราบปราม” เป็นหนทางยุติความขัดแย้งหรือไม่ แล้วอะไรคือทางออกที่ควรจะเป็น ?

มาตรฐานความโปร่งใสในกระบวนการสรรหาผู้บริหารองค์กรรัฐ
การคัดสรร ผู้อำนวยการ (ผอ.) คนใหม่ของไทยพีบีเอสครั้งนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีการถ่ายทอดสดการแสดงวิสัยทัศน์และตอบคำถามของผู้สมัคร ที่ผู้ชมทางบ้านและคณะกรรมการสรรหาฯ ได้ดูไปพร้อม ๆ กัน รวมทั้งมีการเปิดเผยเกณฑ์พิจารณาและคะแนนเสียงรับรองผู้สมัครฯ เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม

ต้องสังคายนากฎหมาย แก้ “ความรุนแรงโดยรัฐ”
ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทย มีหลายเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมและทารุณผู้มีความคิดต่างจนบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิต หากแต่กระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถดำเนินคดีลงโทษผู้สั่งการและเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ผู้ได้รับผลกระทบเกิดบาดแผลลึก ยังคงเรียกร้องหาความยุติธรรม

ปฏิรูปกองทัพ : บทบาท”ทหารไทยจะไปทางไหน” ?
"ปฏิรูปกองทัพ" พูดกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ แต่การปฏิรูปกองทัพ ยังไม่มีความคืบหน้าไปถึงไหน ขณะที่กองทัพยังมอง "ชาติ" ไม่นับรวมประชาชน จึงยังพบปัญหาการละเมิดเสรีภาพ และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะพัฒนาไปอย่างไร ทำให้ดูเหมือนว่าเมื่อพูดถึงการปฏิรูปกองทัพ ประเด็นก็จะวกไปวนมา