การจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติให้มีมาตรฐาน เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมานาน โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น แต่ในที่สุดเรื่องก็เงียบหาย ทำให้การบริหารจัดการทำได้เพียงแค่ "ศูนย์บัญชาการเฉพาะ" แต่จากสถานการณ์โลกร้อน อาจถึงเวลาต้องกลับมาทบทวนกันอย่างจริงจัง เพราะภัยพิบัติอาจรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการตั้งชื่อให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังก้าวสู่ "ยุคโลกเดือด" ซึ่งจากน้ำท่วมรุนแรงในภาคเหนือในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบรุนแรงและไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดแผนรับมืออย่างแท้จริง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
“ราคาค่าไฟ” ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพุ่งขึ้นแตะ 5 บาท/หน่วย ชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข ขณะที่พลังงานสะอาด ถูกพูดถึงมานานนับสิบปี แต่การพัฒนาเชิงระบบยังไม่เดินหน้า นำมาสู่ข้อเสนอ “ปลดล็อกนโยบายพลังงานสะอาด สร้างโอกาสประเทศ” เร่งปรับร่าง PDP 2024
แผน PDP 2024 แผนผลิตไฟฟ้าในระยะยาวของไทย ที่จะมีการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการในอนาคต แต่ ทีดีอาร์ไอ มองว่าแผนนี้คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงเกินความเป็นจริง เพราะใช้ข้อมูลเก่าคำนวณ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และกระทบประชาชนต้องแบกรับค่าไฟแพง
ทีดีอาร์ไอ และ สดช. พบว่าหน่วยงานรัฐไทยมีแนวโน้มต้องการใช้ระบบคลาวด์มากขึ้นในอนาคต โดยเตรียมนำผลศึกษาแนวทางจัดทำระบบคลาวด์ภาครัฐเสนอต่อรัฐบาลที่กำลังเดินหน้าผลักดันให้ไทยเป็นรัฐบาลดิจิทัลผ่านนโยบาย Cloud First ในเวลาอันใกล้นี้
ทีดีอาร์ไอ เสนอ 6 แนวทางแก้ไข ฝุ่น PM2.5 ทั้งในกรุงเทพฯและพื้นที่ชนบท ระบุต้องมีการตั้งกรรมการระดับชาติ เพื่อมาดูแลโดยเฉพาะ รวมทั้งต้องเร่งผลักดันกฎหมาย การบริการจัดการงบประมาณ และมีนโยบายที่ชัด ร่วมมือกับเพื่อนบ้าน
“มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย” เป็นคำขวัญวันเด็กปีนี้ ที่นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มอบไว้เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2567 แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ เมื่อคำขวัญไม่ตอบโจทย์
หลัง ศธ. แถลงผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) 2565 ซึ่งเป็นการวัดผลเกี่ยวกับเรื่องความคิดความอ่าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทุก ๆ 3 ปี พบว่าอันดับของเด็กไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี Policy Watch รวบรวมความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย