การใช้ดิจิทัลเพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้กับผู้ใช้บริการดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคนไทย ทำให้มีต้นทุนทางการเงินที่ถูกลงและมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดตัวโครงการ “Your Data ข้อมูลของคุณ สู่บริการทางการเงินที่ตอบโจทย์” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Your Data คืออะไร?
ระบบ Your Data เป็นลักษณะข้อมูลเปิด (Open Data) ที่ทุกคนสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนเองที่มีอยู่กับผู้ให้บริการทางการเงิน และหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ ส่งไปให้กับผู้ให้บริการทางการที่ตนเองต้องการจะใช้บริการได้ ผ่านช่องทางดิจิทัล หรือเรียกว่าการไหลเวียนข้อมูลระหว่างองค์กร เพื่อให้ได้รับบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์มากขึ้น เช่น การขอสินเชื่อ และการบริหารจัดการทางการเงินที่เหมาะสม เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลของผู้ใช้บริการที่เป็นเจ้าของข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ในหลายแหล่ง และการส่งข้อมูลจากอีกที่ไปอีกที่หนึ่งก็ไม่สะดวก จึงทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในภาคการเงินได้อย่างเต็มที่
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า การไหลเวียนข้อมูลตามความยินยอมของผู้คน (Your Data) เป็นหัวใจส่วนหนึ่งที่จะแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นปัญหาระบบการเงินของไทยมานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่อาจจะสูง ทำให้ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและต้นทุนความเสี่ยงของสินเชื่อสูงขึ้น
การมี Open data ที่ไหลเวียนได้ ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ และยังช่วยประเมินความเสี่ยงที่ถูกต้อง ช่วยช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงสินเชื่อของรายย่อย อย่างธุรกิจเอสเอ็มอี ที่อาจจะมีข้อมูลที่ไม่ได้เชื่อมถึงกัน ซึ่งจะส่วนหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจว่าจะได้เข้าถึงสินเชื่อหรือไม่ ดังนั้น Open data จะเป็นวิธีแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างหลายอย่างที่เจอกันมานานในระบบการเงินไทย
ในระยะข้างหน้า Your Data จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะส่วนส่งเสริมสิ่งใหม่ให้มีประสิทธิภาพ เช่น สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA) ที่ ธปท.ทำร่วมกับกระทรวงการคลัง หรือ ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) ที่อยู่ระหว่างพิจารณา เพราะจะต้องมี Open data เข้ามาช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของโครงสร้างพื้นฐาน
“เราอยากเห็นการส่งข้อมูลนี้เกิดขึ้นอย่างที่สะดวก คือ ในรูปแบบดิจิทัล ปลอดภัยไม่มีรั่วไหล มีการดูเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคตลอดทั้งระบบ ต้องไม่ถูกปิดกั้น ในเรื่องของค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ต้องไม่แพงเกินไป เพราะที่ผ่านมาค่าธรรมเนียมอาจจะแพงเกินไป จนทำการไหลเวียนข้อมูลไม่เกิดขึ้น”
สำหรับประโยชน์ของ Your Data จะสร้างกลไกให้ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถส่งข้อมูลของตนเองที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ทางดิจิทัลให้กับผู้ให้บริการทางการเงินได้ ทำให้สามารถดูสถานะทางการเงิน และจัดการบัญชีต่าง ๆ ได้ในแอปพลิเคชันเดียว
ด้านการขอสินเชื่อง่ายขึ้น ผู้ใช้บริการสามารถส่งข้อมูลจากหลายแหล่งให้กับผู้ให้บริการทางการเงินได้อัตโนมัติ และยังสามารถขอสินเชื่อได้หลายที่พร้อมกัน รวมถึงสามารถเปลี่ยนเทียบข้อเสนอสินเชื่อได้ ขณะที่ผู้ให้บริการทางการเงินก็สามารถใช้ข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ได้จากทำแหล่ง ให้คำแนะนำในเรื่องการออมและการลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ
วิภาวิน พรหมบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธปท. ระบุว่า หากลองจินตนาการดูว่าในโลกที่พวกเรา สามารถที่จะรวบรวมของข้อมูลของพวกเรา เอาไว้ในที่ ๆ เดียว เปิดดูได้ที่เดียว และสามารถกดส่งข้อมูลจากที่นี่ เลือกที่จะส่งไปให้ผู้ที่เราอยากส่งให้ ไปให้ผู้ให้บริการที่เราอยากจะไปยื่นขอใช้บริการได้สะดวก อาจจะส่งได้หลาย ๆ คนได้พร้อมกันด้วย แล้วก็มีคนสามารถมาแนะนำเราได้ว่ามีบริการอะไรที่เหมาะกับเรา
ทั้งนี้ Your Data จะทำงานภายใต้กลไกหลัก 4 ข้อ คือ
1.สะดวก ผู้ให้บริการที่เก็บข้อมูลทำข้อมูลในรูปแบบ machine-readable (ข้อมูลสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์) และต้องทำช่องปลั๊กเชื่อมต่อเพื่อรับส่งข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียบวกัน
2.ปลอดภัย การส่งและรับข้อมูลของลูกค้า ต้องมีกระบวนการดูแลทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สิทธิ รวมถึงการเก็บ เชื่อมต่อ และรับส่งข้อมูลของลูกค้าต้องได้มาตรฐาน
3.ไม่ปิดกั้น เงื่อนไขการเข้าร่วมและค่าธรรมเนียมต้องไม่สูงเกินไปจนทำให้ไม่เกิดการใช้งาน และไม่ส่งเสริมให้เรียกข้อมูลมากเกินจำเป็น
4.ผู้ใช้บริการต้องสามารถใช้งานได้ไม่สะดุด และผู้ให้บริการทางการเงินต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้จริงในทางปฏิบัติ
ตั้งคณะทำงานร่วมออกแบบกลไกให้ใช้ได้จริง
การออกแบบกลไก Your Data ทาง ธปท.ได้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานร่วมด้วย ได้แก่ ผู้ให้บริการทางการเงิน หน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานที่ช่วยดูมาตรฐานต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงแต่งตั้งผู้แทนจากฝั่งผู้บริโภค และผู้แทนธุรกิจ SME ให้มาเป็นคณะที่ปรึกษา เพื่อหารือและออกแบบกลไก Your Data ให้สามารถใช้งานได้จริง
ในช่วงครึ่งปีแรก 2568 ธปท.จะเปิดรับฟังความเห็นและร่างหลักเกณฑ์ที่จะใช้กับสถาบันการเงินภายใต้การกำกับ ธปท. เพื่อเตรียมจัดทำกลไกให้สิทธิประชาชนส่งข้อลูของตนเอง จากนั้นจะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำมาตรฐานแนวปฏิบัติที่จะใช้งานส่งข้อมูลร่วมกันต่อไป
เริ่มใช้ระบบกับสถาบันการเงินปี 69
การเริ่มใช้งานระบบ Your Data ในหน่วยงานนอกภาคการเงิน ซึ่งก็คือภาครัฐ ได้เริ่มดำเนินการแล้ว โดยประชาชนสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนเองไปให้กับสถาบันทางการเงินได้ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วย ข้อมูลแบบภาษี การใช้และจ่ายค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เป็นต้น
ขณะที่ในภาคการเงิน ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะเริ่มให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนเองไปให้กับสถาบันทางการเงินได้ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป โดยข้อมูลดังกล่าว ประกอบด้วย บัญชีเงินฝาก การชำระเงิน การชำระและยอดคงค้างสินเชื่อ หลักทรัพย์/กองทุน และกรมธรรม์ประกันภัย เป็นต้น
ตัวอย่างใช้ Open Data ในต่างประเทศ
ธปท.ระบุว่า ในหลายประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ก็มีระบบที่เปิดช่องทางให้สามารถใช้สิทธิส่งข้อมูลของตนเองให้กับผู้บริการทางการได้แล้ว ซึ่งทำให้มีบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น
ประเทศอินเดีย มีบริการรวบรวมข้อมูลบัญชี โดยการเลือกข้อมูลบัญชีที่เราให้มีผู้บริการต่าง ๆ ควบคุมข้อมูล และส่งดอกสารเพื่อรับบริการปได้ตามที่ต้องการ โดยไม่ต้องส่งเอกสารซ้ำซ้อน ซึ่งจะส่งให้ผู้บริการเพื่อรับบริการได้ตามที่ต้องการ ทำให้ได้รับริการทางการเงินที่ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
ประเทศอังกฤษ มีบริการขอสินเชื่อทางดิจิทัลด้วยข้อมูลทางเลือก โดยสามารถของสินเชื่อทางดิจิทัลและอนุมัติได้รวดเร็ว อีกทั้งสมัครสินเชื่อหลายที่ได้ในแอปพลิเคชันเดียว สามารถเปรียบเทียบข้อเสนอให้เหมาะกับสถานะทางการเงิน ทำให้ผู้ปล้อยกู้มีต้นทุนที่ถูกลง ประเมินความเสี่ยงลูกหนี้ได้แม่นยำขึ้น
ประเทศสิงคโปร์ การบริหารและวางแผนการเงินได้แบบครบวงจร สามารถเห็นสถานการณ์เดินบัญชีทั้งหมด ติดตามการใช้จ่ายแยกตามหมวดหมู่ ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถแนะนำการออมที่เหมาะสมได้ ผู้ใช้บริการเลือกซื้อประกันและออกแบบแผนตามภาระค่าใช้จ่ายของตนเอง และยังสามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงินจนถึงวัยเกษียณได้
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- ความท้าทาย”รัฐบาลดิจิทัล” ต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
- แผน “ยุทธศาสตร์ข้อมูลไทย” ประชาชนเข้าถึงข้อมูลรัฐในแพลตฟอร์มเดียว
- ระบบคลาวด์ภาครัฐ กับความท้าทายสู่รัฐบาลดิจิทัล
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย