เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้ล้นพ้นตัว คือสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของคนไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ โดยไตรมาส 2 ของปี 2567 หนี้ครัวเรือนไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 89.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่คาดว่าจะไม่สร้างรายได้
นโยบายแก้หนี้ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น แต่ยังไม่ตอบโจทก์มากพอในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาใหญ่มาจากรายได้ไม่เพียงพอ แม้มีมาตรการช่วเหลือ ลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ รัฐบาลควรดำเนินการระยะยาวและมีฐานข้อมูลเพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด
'สักกะภพ' ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ออกมาชี้แจงเรื่องสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ โดยระบุว่าเป็น "ความเห็นส่วนตัว" ไม่เกี่ยวกับแบงก์ชาติ แม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นการตอบโต้ใคร แต่หากใครที่ติดตามจะรู้ว่าเป็นตอบโต้คำวิจารณ์ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ในเวที “Forbes Global CEO Conference”
เครดิตบูโร กางข้อมูลหนุนมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาล ระบุหนี้ครัวเรือนรวม 13.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.5% ขณะที่หนี้เสียพุ่งเป็น 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% สินหนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต ไม่ขยับ แต่หนี้เอสเอ็มอี (SMEs) พุ่ง 20%
มาตรการ "ลดภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก" หรือ มาตรการกึ่งพักหนี้ สำหรับสินเชื่อบ้าน-รถยนต์-เอสเอ็มอี กำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศ ไม่ใช่ความเสี่ยงเรื่องเม็ดเงินที่ต้องเข้าไปใช้ในมาตรการ แต่เป็นความเสี่ยงจากการสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้ หรือ Moral Hazard ที่จะส่งผลกระทบระยะยาว
ภายหลัง กนง.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบกว่า 4 ปี จาก 2.50% สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในไทยต้องทยอยประกาศปรับลดดอกเบี้ยลงตาม แล้วประชาชนคนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการลดดอกเบี้ยครั้งนี้
หนี้เสียไทยยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้น ล่าสุดข้อมูลเครดิตบูโร เผยหนี้เสียไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบภาคธุรกิจ และบุคคคลธรรมดา