หน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรงคือสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะที่องค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พยายามดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการยกระดับคะแนน ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index หรือ CPI) โดยตรง เช่น การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนงานด้านการปราบปรามการทุจริตและตรวจสอบทรัพย์สิน การพัฒนาระบบติดตามเรื่องร้องเรียนบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ช.
รวมถึง การพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปราบปรามการทุจริตและการตรวจสอบทรัพย์สิน เช่น ระบบฐานข้อมูลคดีทุจริต (AGMS : Agency Case Monitoring System)
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ผ่านชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต การจัดทำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการเสนอมาตรการ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต และประสานการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการดำเนินงานในการส่งเสริมการยกระดับคะแนน CPI ของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมาย
แต่จากอันดับล่าสุดที่ประกาศเมื่อต้นปี 2566 แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ของไทยยังไม่ดีขึ้น