ThaiPBS Logo

ค่าแรงขั้นต่ำ

รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมต่อการใช้จ่าย โดยเบื้องต้นตั้งเป้าหมายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันให้เร็วที่สุด (จากการเจรจาระหว่าง 3 ฝ่าย ได้แก่ แรงงาน ผู้ว่าจ้าง และรัฐบาล เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน) และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็น 600 บาทต่อวัน และเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี 25,000 บาท ภายในปี 2570

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

อยู่ระหว่างการพิจารณา ก่อนเสนอครม.

ตัดสินใจ

คณะกรรมการไตรภาคี อนุมัติขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 77 จังหวัด 2-16 บาท มีผล 1 ม.ค. 67

ดำเนินงาน

คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2567 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2567 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 - 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9)

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด

12 มี.ค. 68 คณะกรรมการไตรภาคี ยังไม่พิจารณาขึ้นค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศ โดยให้ไปสำรวจผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้าง 400 บางจังหวัดเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา และบอร์ดชุดใหม่จะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 8 เม.ย.นี้ โดยบอร์ดชุดปัจจุบันจะหมดวาระ 13 ม๊.ค.นี้

24 ธ.ค. 27 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ที่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 7-55 บาท เป็นวันละ 337-400 จากเดิมวันละ 330-370 บาท

23 ธ.ค. 67 คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ไมีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2567 ในวันที่ 23 ธันวาคม 2567 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 – 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) แบ่งเป็น 17 อัตรา ซึ่งพิจารณาจากค่าครองชีพและโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมีอัตราสูงสุด คือ วันละ 400 บาท และอัตราต่ำสุด คือ วันละ 337 บาท ดังนี้

  1. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาท ใน 4 จังหวัด และ 1 อำเภอ ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  2. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 380 บาท ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  3. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอัตราวันละ 372 บาท ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 6 จังหวัด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5)
  4. กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 67 จังหวัดที่เหลือให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0

โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย

ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายเพิ่มรายได้ภาคแรงงานและการจ้างงาน ได้แก่

1. ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570 และประกาศเพิ่มเติมว่าจะให้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทตั้งแต่ปีแรก

  • นโยบายนี้ไม่ได้ใช้แรงงานเป็นตัวประกัน แต่จะทำให้เศรษฐกิจโตขึ้น และแบ่งผลกำไรเหล่านี้กลับไปให้ภาคแรงงาน โดยการตกลงร่วมกันของไตรภาคี (นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ)  ตามหลัก “ทุนนิยมที่มีหัวใจ” 
  • หลักการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะพิจารณาจาก 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ผลิตภาพแรงงาน (Productivity) และอัตราเงินเฟ้อ (Inflation)

2. ขึ้นเงินเดือนคนจบปริญญาตรีและข้าราชการ เริ่มต้นที่ 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี พ.ศ. 2570 

สถานการณ์ล่าสุด

สถานการณ์การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนล่าสุดของรัฐบาล (วันที่ 12 ธ.ค. 2566) ได้แก่

1. การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

  • วันที่ 8 ธ.ค. 2566 คณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ (คณะกรรมการไตรภาคี) มีมติเห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 2 – 16 บาท เป็นอัตราเฉลี่ย 2.37%
    • โดยขึ้นมากที่สุดคือ ภูเก็ต ปรับเป็น 370 บาท และต่ำสุด 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา
  • วันที่ 12 ธ.ค. 2566 ที่ประชุมครม. มีมติรับทราบมติคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำที่เห็นชอบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 แต่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น กระทรวงแรงงานจึงขอเสนอกลับไปพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง คาดว่าจะทันประกาศบังคับใช้ในปี 2567

2. เงินเดือนขั้นต่ำ

  • ปัจจุบันมีการปรับอัตราเงินเดือนเฉพาะกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น 
  • มติ ครม. เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2566 เห็นชอบในหลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตามรายงานผลการศึกษาฯ ตามที่สำนักงาน ก.พ. นำเสนอ 

2.1 การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ

  • ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิให้แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวภายในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วย
  • มีผลใช้บังคับ : ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568
  • คาดว่าจะใช้งบประมาณในปีที่ 1 (12 เดือน) จำนวน 7,200 ล้านบาท และปีที่ 2 (12 เดือน) จำนวน 8,800 ล้านบาท

2.2 การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

  • ปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท 
  • ปรับเพดานชั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท 
  • ปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท
  • คาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทต่อปี 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุจะมีการประชุมคณะกรรมการไตรภาคีก่อนสงกรานต์ และคาดว่าจะขึ้นค่าแรง 400 บาท ทันวันแรงงาน  ดูเพิ่มเติม ›

    25 มี.ค. 2568

  • คณะกรรมการไตรภาคี ยังไม่พิจารณาขึ้นค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศ โดยให้ไปสำรวจผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้าง 400 บางจังหวัดเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา และบอร์ดชุดใหม่จะนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 8 เม.ย.นี้  ดูเพิ่มเติม ›

    12 มี.ค. 2568

  • คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) เตรียมปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานรัฐวิสาหกิจ 10% ภายใน 2 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างฟังความเห็น สำนักงาน ก.พ. และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

    6 มี.ค. 2568

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุว่า คณะกรรมการไตรภาคีจะประชุม ขึ้นค่าแรง 400 บาท ปลายเดือน ก.พ.- ต้น มี.ค. 68 ก่อนที่คณะกรรมการไตรภาคีชุดปัจจุบันจะหมดวาระวันที่ 23 มี.ค. 68

    21 ก.พ. 2568

  • ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 337-400 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2568  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ม.ค. 2568

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ที่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น

    24 ธ.ค. 2567

  • คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 มีมติในการประชุมครั้งที่ 11/2567 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 7 - 55 บาท

    23 ธ.ค. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน คาดประชุมคณะกรรมการไตรภาคี จะประชุม 23 ธ.ค.นี้ จะได้ข้อสรุป แต่อาจจะไม่ปรับทั่วประเทศ

    13 ธ.ค. 2567

  • ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ครั้งที่ 10/2567 ไร้ข้อสรุปขึ้นค่าแรง 400 บาท เหตุข้อมูลตัวเลขจากแต่ละจังหวัดมีจำนวนมากจึงต้องใช้เวลาพิจารณา โดยจะเปิดประชุมใหม่วันที่ 23 ธ.ค.67  ดูเพิ่มเติม ›

    12 ธ.ค. 2567

  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ออกโรงยื่นหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนนโยบายขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

    5 ธ.ค. 2567

  • กระทรวงแรงงานคาดว่าบอร์ดไตรภาคีจะประชุมครั้งแรก 11-12 ธ.ค.67 จากนั้นจะพิจารณาอัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่ของทุกจังหวัด ให้ปรับขึ้นอยู่ที่วันละ 400 บาททั่วประเทศ ทันปีใหม่

    29 พ.ย. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เปิดเผยถึงการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันว่า การดำเนินปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันจะเเล้วเสร็จทันวันที่ 1 ม.ค.68 อย่างแน่นอน   ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ย. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท ให้ทันภายในปี 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ต.ค. 2567

  • คณะกรรมการค่าจ้าง ยังไม่สามารถประชุมเพื่อพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทได้ เนื่องจากคณะกรรมการไม่ครบ เหตุมีหลายคนเกษียณ ต้องตั้งใหม่

    25 ก.ย. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศภายในปีนี้ รอการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคี

    24 ก.ย. 2567

  • พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่าจากข้อมูลที่ได้สอบถามผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัด ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาท เห็นว่าควรเริ่มปรับขึ้นปี 2568

    23 ก.ย. 2567

  • นายไพโรจน์ โชติเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาคณะกรรมการค่าจ้างยังไม่สามารถลงมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 400 บาทได้ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ 2 ใน 3 ที่ต้องมีผู้ประชุม 10 ขึ้นไป

    20 ก.ย. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยัน หากฝ่ายนายจ้างไม่เข้าร่วมประชุม 20 ก.ย. 67 สามารถใช้เสียง 2 ใน 3 โหวตและลงมติขึ้นค่าแรง 400 บาทได้ พร้อมเสนอ ครม. 1 ต.ค. 67

    18 ก.ย. 2567

  • ฝ่ายนายจ้างไม่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง วาระขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน สั่งนัดประชุมใหม่ วันที่ 20 ก.ย. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    16 ก.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าเรื่องค่าแรง 400 ก็ยังดำเนินการได้ แต่คงจะไม่ไปถึง 600 บาทในทันที แต่จะทำภายในระยะเวลา 4 ปี ตามที่พูดไว้  ดูเพิ่มเติม ›

    9 ก.ค. 2567

  • คณะกรรมการค่าจ้าง มีมติให้อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัดสำรวจข้อมูลขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ ขีดเส้นตาย ก.ค.67 และส่งกลับมาที่คณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย   ดูเพิ่มเติม ›

    14 พ.ค. 2567

  • คณะรัฐมนตรี รับทราบความคืบหน้าการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ คาดประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้เดือน ก.ย. - ต.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    14 พ.ค. 2567

  • ชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมผู้แทนหอการค้าจังหวัด และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น ยื่นหนังสือรมว.แรงงานค้านขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ

    13 พ.ค. 2567

  • คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) แถลงค้านปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ระบุว่า การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะเป็นปัจจัยลบกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ

    8 พ.ค. 2567

  • อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ประกาศขึ้นค่าจ้าง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศเป็นของขวัญ 1 ตุลาคมนี้   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุวันแรงงาน 1 พ.ค.จะมีการประชุมบอร์ดค่าจ้าง เพื่อประกาศขึ้นค่าแรง 400 บาท แต่จะมีผลจริง 1 ต.ค. 2567

    25 เม.ย. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุวันแรงงาน 1 พ.ค.จะประกาศเจตนารมณ์นโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันทุกสาขาอาชีพภายในปี 2567 แต่ยังไม่ปรับทั่วประเทศ บอกสื่อสารสับสน ยังไม่มีการปรับ

    24 เม.ย. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุมี “บิ๊กเซอร์ไพรส์” วันแรงงาน 1 พ.ค. 2567  จะมีรายละเอียดขึ้นค่าแรงขั้นตำทั่วประเทศ 400 บาท

    22 เม.ย. 2567

  • บอร์ดค่าจ้างสั่งให้คณะอนุกรรมการค่าจ้างทุกจังหวัด ศึกษาความเป็นไปได้ปรับค่าแรง 400 บาท

    17 เม.ย. 2567

  • ครม.รับทราบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นำร่องพื้นที่ 10 จังหวัดท่องเที่ยว ในอัตราวันละ 400 บาท ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    2 เม.ย. 2567

  • คณะกรรมการค่าจ้าง เคาะปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 400 บาท เฉพาะธุรกิจโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป นำร่องในพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด มีผล 13 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป  ดูเพิ่มเติม ›

    26 มี.ค. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เผยรับทราบแนวทางการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือค่าแรงขั้นต่ำ 10 จังหวัดรอบใหม่แล้ว บอร์ดค่าจ้างประชุม 26 มี.ค.นี้  ดูเพิ่มเติม ›

    25 มี.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฎร รับร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ...) 2 ฉบับ พร้อมตั้งกรรมาธิการ 36 คน โดยแปรญัตติ 15 วัน

    6 มี.ค. 2567

  • บอร์ดค่าจ้าง ชุดที่ 22 มีมติเห็นชอบสูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยคำนวณตามรายพื้นที่และประเภทกิจการ ใน 10 จังหวัด ซึ่งจะทำการสำรวจและนำกลับเข้าที่ประชุมในวันที่ 26 มี.ค. ต่อไป   ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.พ. 2567

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ระบุเดือนเม.ย. นี้จะพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำอีกรอบ และจะปรับอีกปี 2568

    11 ม.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษา ประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ มีผล 1 ม.ค. 2567

    29 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เตรียมหารือกับบอร์ดค่าจ้างอีกรอบ เรื่องค่าแรงขั้นต่ำ หลังบอร์ดค่าจ้างยืนยันมติเดิม

    27 ธ.ค. 2566

  • ครม.รับทราบประกาศคณะกรรมการค้าจ้าง ยืนยันขึ้นค่าแรงตามมติเดิม

    26 ธ.ค. 2566

  • บอร์ดค่าจ้าง 3 ฝ่าย มีมติจะไม่พิจารณาใหม่ ยืนยันตามมติเดิม เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.ที่ผ่านมา

    20 ธ.ค. 2566

  • กระทรวงแรงงานยังไม่เสนอมติบอร์ดค่าจ้างให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เตรียมทบทวนใหม่ ก่อนเสนอครม.อีกครั้ง

    12 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง อยากให้ทบทวนใหม่ บอกน้อยไป นายจ้างต้องยอมเสียบ้าง

    9 ธ.ค. 2566

  • กรรมการไตรภาคี อนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท เฉลี่ยวันละ 345 บาท มีผล 1 ม.ค. 2567

    8 ธ.ค. 2566

  • มติ ครม. อนุมัติปรับอัตราเงินเดือนกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพิ่ม 10% ภายใน 2 ปี โดยวุฒิปริญญาตรี 18,000 บาท และวุฒิปวช. ขั้นต่ำ 11,000 บาท พร้อมเงินค่าครองชีพ เริ่ม พ.ค. 2567

    28 พ.ย. 2566

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ ยืนยันปรับเงินเดือนข้าราชการขึ้นแน่นอน

    24 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง สั่งการให้ พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน นำเรื่องค่าแรงขั้นต่ำมาเสนอให้ ครม. พิจารณา ในวันที่ 12 ธ.ค. 2566

    21 พ.ย. 2566

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงแนวทางการปรับขึ้นเงินเดือนอาจจะปรับขึ้นเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อย และยังสรุปไม่ได้ว่าข้าราชการบรรจุแรกเข้าจะได้เงินเดือน 25,000 บาทหรือไม่

    10 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ยอมรับว่าเอกสารสั่งการพิจารณา-ศึกษาการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ เป็นไปได้ที่จะพิจารณาให้สอดรับกับการปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ตามที่กระทรวงแรงงานพิจารณาและเตรียมเสนอ

    6 พ.ย. 2566

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ภายใน ธ.ค. 2566 กระทรวงแรงงานจะประกาศการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นของขวัญปีใหม่ โดยแต่ละจังหวัดจะปรับขึ้นไม่เท่ากัน และมีบางจังหวัดเท่านั้นที่ถึง 400 บาท

    6 พ.ย. 2566

  • คำสั่งของนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ศึกษาเรื่องการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ

    2 พ.ย. 2566

  • สำนักเลขาฯ ครม. แจ้งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งศึกษาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เสนอครม. ภายใน พ.ย. 2566

    2 พ.ย. 2566

  • ที่ประชุมกมธ.แรงงาน เสนอพิจารณาปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำไม่เกิน 400 บาท พิจารณาตามพื้นที่จังหวัดและภาวะเงินเฟ้อในขณะนั้น คาดว่าจะประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ในช่วง ธ.ค. 2566

    26 ต.ค. 2566

  • ประชุมสัมมนา การมอบนโยบายและแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ชี้แจงว่าจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันให้เร็วที่สุด และจะปรับเป็น 600 บาทต่อวันและเงินเดือนวุฒิปริญญาตร

    2 ต.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง คาดประกาศปรับค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ภายในเดือน พ.ย. 2566 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2567

    18 ก.ย. 2566

  • พิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ยืนยันว่า จะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแน่นอน​ เพราะอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นมาก​ แต่ไม่ใช่ตัวเลข 400 บาททั่วประเทศ เพื่อไม่ให้กระทบทั้งอุตสาหกรรมและการผลิต

    15 ก.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ชี้แจงว่ารัฐบาลจะจัดให้มีการเจรจา 3 ฝ่าย (แรงงาน ผู้ว่าจ้าง และรัฐบาล) เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน โดยตั้งเป้าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทโดยเร็วที่สุด

    12 ก.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทย เปิดตัว 10 นโยบายพลิกฟื้นประเทศ หนึ่งในนั้นคือนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาท และเงินเดือนของผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ที่ 25,000 บาทขึ้นไป ภายในปี 2570

    6 ธ.ค. 2565

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน ภายในปีแรกที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลแถลงในรัฐสภา
ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ภายในปี 2570
โดยการตกลงร่วมกันของไตรภาคี (นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ) ตามหลักทุนนิยมที่มีหัวใจ
ที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย
เงินเดือนคนจบปริญญาตรีและข้าราชการเริ่มต้นที่ 25,000 บาทต่อเดือน ภายในปี 2570ที่มา: นโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย

เชิงกระบวนการ

คณะกรรมการค่าจ้าง เป็นผู้อนุมัติ
พิจารณาอนุมัติการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำผ่านคณะกรรมการไตรภาคี มีการเสนอจากระดับจังหวัด
ขึ้นเงินเดือนราชการ
รัฐบาลเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ โดยจะมีการหารือหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ คือ สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

เชิงการเมือง

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศตามนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภา

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2

บทความ

ดูทั้งหมด
10 ทักษะงานมาแรง รับเทรนด์ AI

10 ทักษะงานมาแรง รับเทรนด์ AI

World Economic Forum ออกรายงาน Future of Jobs 2025 จากการสำรวจภาคธุรกิจทั่วโลก พบว่ามีความต้องการมากแรงงานที่มีทักษะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI มากที่สุด ขณะที่ Sotf Skill เป็นเรื่องรอง จุฬาฯชี้การศึกษาไทยต้องปรับตัว เพิ่มหลักสูตรที่พัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีความฉลาด ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท “ไม่ทั่วประเทศ” แค่ 4 จังหวัด 1 อำเภอ

ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท “ไม่ทั่วประเทศ” แค่ 4 จังหวัด 1 อำเภอ

ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ยังไปไม่ถึงแรงงานทั่วประเทศ ปรับแค่ 4 จังหวัด กับ 1 อำเภอ ปรับสูงสุด คือ เกาะสมุย 55 บาท ส่วนกทม.-ปริมณฑล ปรับวันละ 9 บาท ส่วนที่เหลืออีก 67 จังหวัด ปรับวันละ 7 บาท มีผล 1 ม.ค. 68

อิเล็กทรอนิกส์ไทยตามไม่ทันโลก เสี่ยงตกงาน 1.2 แสน

อิเล็กทรอนิกส์ไทยตามไม่ทันโลก เสี่ยงตกงาน 1.2 แสน

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ต้องเร่งปรับเพื่อเปลี่ยนให้ทันโลก ก่อนกลายเป็นเพียงอดีตที่เล่าขาน คาดหากไม่รีบปรับตัว จะกระทบต่อคนงาน 120,000 คนที่กระจายอยู่ในหลายภูมิภาค

เช็กสิทธิประโยชน์ กรณีถูกเลิกจ้าง-ว่างงาน

เช็กสิทธิประโยชน์ กรณีถูกเลิกจ้าง-ว่างงาน

การเลิกจ้างจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น จากการปิดโรงงานหรือกิจการ แต่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบอย่าลืมเช็กผลประโยชน์ กรณีที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อย่าน้อยก็บรรเทาความเดือดร้อนและมีรายได้สำหรับการตั้งหลักใหม่

คนไทย 40 ล้านเป็น"ผู้มีงานทำ" ทำอะไรและอยู่ที่ไหน

คนไทย 40 ล้านเป็น"ผู้มีงานทำ" ทำอะไรและอยู่ที่ไหน

สถิติตัวเลขผู้มีงานทำของคนไทยราว 40 ล้านคน แต่เมื่อจำแนกออกมา จะพบว่าส่วนใหญ่ ทั้งนายจ้างและลูกจ้างกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มการค้า บริการและท่องเที่ยว จึงไม่น่าแปลกใจที่เศรษฐกิจไทยจะมีความอ่อนไหวอย่างมากจากสถานการณ์ภายนอกและภาคในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น

ยกเว้นภาษีเงินชดเชยเลิกจ้าง มีผลย้อนหลัง 1 ม.ค. 66

ยกเว้นภาษีเงินชดเชยเลิกจ้าง มีผลย้อนหลัง 1 ม.ค. 66

สรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากถูกเลิกจ้าง หวังช่วยเหลือลูกจ้างที่เดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ไม่เกิน 3 แสนบาท มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ใครที่จ่ายภาษีไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี