มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) เตือนการแก้กฎหมายประมงของไทยกำลังพาอุตสาหกรรมประมงอยู่ในภาวะความเสี่ยงจากการส่งออกไป 6 ประเทศคู่ค้ารายใหญ่และสหภาพยุโรป เพราะการแก้กฎหมายจะทำให้สถานะของไทยกลับไปสู่จุดเดิมที่สหภาพยุโรปให้ “ใบเหลือง” กับประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2562 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ปลด “ใบเหลือง” ของไทยหลังจากรัฐบาลไทยไดัมีการลงทุนและปฏิรูปที่สำคัญ
กฎหมายการทําประมงผิดกฎหมาย (IUU Regulation) ของสหภาพยุโรปกําหนดให้ประเทศที่เคยไดัรับใบเหลืองสามารถไดัรับใบเหลืองอีกครั้ง หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมายไดัตามสัญญา
อุตสาหกรรประมงไทยอาจมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียตลาดอาหารทะเลมูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 6 ประเทศคู่ค้าและสหภาพยุโรป ซึ่งกำลังจะมีข้อบังคับด้านความโปร่งใสและการสืบสวนย้อนกลับแหล่งที่มาเพิ่มเติม
ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยส่งออกอาหารทะเลไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวเกือบ 60% โดยแบ่งเป็น สหรัฐอเมริกา 22.4% ญี่ปุ่น 18.7% สหภาพยุโรป 5.6% ออสเตรเลีย 5% แคนาดา 3.7% เกาหลีใต้ 3.5% และนิวซีแลนด์ 0.8%
ในปี พ.ศ. 2555 ไทยเปีนผู้ส่งออกอาหารทะเลอันดับ 3 ของโลกโดยมีมูลค่าส่งออกราว 8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (290,00 ล้านบาท) แต่ในปี พ.ศ. 2564 ไทยตกลงมีอยู่อันดับ 13 ด้วยมูลค่าส่งออก 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 196,000 ล้านบาท หรือ ลดลงกว่า 32%
ทั้งนี้ ในปี 2557 หรือ 1 ปีก่อนที่คณะกรรมาธิการยุโรปจะให้ “ใบเหลือง” แก่ประเทศไทย มูลค่าการส่งออกของไทยลดลงมากถึง 55%
สาเหตุจากจํานวนประชากรปลาลดลงจากการทําประมงเกินขนาดและผิดกฎหมย ทําให้จำนวนปลาลดลง รวมทั้งปัญหาราคาน้ำมันแพลง และการกวดขันไม่ให้เรือประมงไทยเข้าไปในเขตเศรษฐกิจของประเทศอื่น
นอกจากนี้ ยังมีการรายงานเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม การทำประมงประเภททำลายล้างและไม่ยั่งยืน รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้การประมงไทยถูกมองว่าขาดความโปร่งใสและมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ ในอีก 4 ปีข้างหน้า จะมีกฎหมายควบคุมการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปและอีก 6 ประเทศเพิ่มเติม เพื่อคัดกรองและป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์จากการทำประมงผิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิแรงงานเข้าสู่ตลาด
อุตสาหกรรมประมงจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง หากประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับการสืบสวนย้อนกลับแหล่งที่มาของอาหารทะเล ในขณะที่หลายประเทศหันมาสร้างมาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ดังนั้นการแก้กฎหมายที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรรมาธิการอยู่ในขณะนี้ เป็นการกระทำที่ขาดวิสัยทัศน์เชิงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในระยะยาว และสร้างประโยชน์ให้กลุ่มคนเพียง 20% ของอุตสาหกรรมประมงทั้งหมด เมื่อคำนวณจากจำนวนเรือ ซึ่งชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนชายฝั่งจะเสียเปรียบ ทำให้ความเป็นอยู่และความมั่นคงทางอาหารจะตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง
EJF แนะว่าประเทศไทยจะพัฒนาอุตสาหกรรมแบบองค์รวม และทำให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์จากการทำประมงที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และเป็นธรรมได้ ก็ต่อเมื่อมีการวางแผนปฏิรูปและมีแนวทางป้องกันไว้ก่อน โดยผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขทั้งหมด ซึ่งที่ผ่านมา ไทยได้พัฒนามาหลายปีเพื่อแก้ปัญหา แต่ขณะนี้กำลังจะถอยกลับไปสู่จุดเดิม
ที่มา: มูลนิธิความยุติธรรมูเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental Justice Foundation: EJF) โดยเริ่มดำเนินงานในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านระบบการจ้ดการประมงที่ยั่งยืน