ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 เสียชีวิต แม้ไม่ได้เกิดจากสถานที่ทำงาน สำนักงานประกันสังคมก็จะจ่ายเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ให้กับทายาท หากมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การได้สิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด โดยแต่ละมาตรามีสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน
การเลิกจ้างจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น จากการปิดโรงงานหรือกิจการ แต่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบอย่าลืมเช็กผลประโยชน์ กรณีที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อย่าน้อยก็บรรเทาความเดือดร้อนและมีรายได้สำหรับการตั้งหลักใหม่
เช็กสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 1.5 หมื่นบาท/ครั้ง พร้อมค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 5 ครั้ง สามารถใช้สิทธิได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่เป็นผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมาย
เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับแรงงานนอกระบบ หรือคนทำงานอิสระ ขึ้นกับอัตราการเลือกจ่าย โดยสูงสุดได้สิทธิประโชยน์ 5 ด้าน คือ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร แต่เมื่อชราภาพอายุครบ 60 ปี ไม่มีแบบบำนาญ ได้รับเป็นบำเหน็จก้อนเดียว
สรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากถูกเลิกจ้าง หวังช่วยเหลือลูกจ้างที่เดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ไม่เกิน 3 แสนบาท มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ใครที่จ่ายภาษีไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี
กองทุนเงินทดแทน และกองทุนประกันสังคม มักจะสร้างความสับสนให้กับแรงงานและลูกจ้าง ลองไปดูความแตกต่างและเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลและจ่ายเงินชดเชย ที่ลูกจ้างจะได้รับ โดยครอบคลุมทั้งเหตุที่เกิดจากการทำงานและไม่ได้เกิดจากการทำงาน เป็นข้อมูลที่ควรรู้ไว้สำหรับเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต