เพราะ MOU อาเซียน เป็นเพียงข้อตกลง ที่ไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย สมมติเราได้รับหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็แจ้งไปที่เลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งกับประเทศที่ก่อกำเนิดฝุ่นให้ดำเนินการแก้ไข เมื่อ MOU เป็นแค่ข้อตกลงเขาจะไม่ทำก็ได้
สตง.รายงานผลการตรวจสอบ มาตรการแก้ฝุ่นของรัฐบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งในภาคเหนือและกทม. พบว่าไม่คุ้มค่างบประมาณ และเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ต้นตอแก้ปัญหาไม่ได้ เหตุขาดข้อมูล เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและต่างคนต่างทำ
ฤดูฝุ่นมาเยือนเมืองกรุงตามนัดของทุกปี แต่ปีนี้แรงขึ้น เมื่อดูสถิติย้อนหลังพบว่าในปีนี้หนักกว่าเดิม ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์เมืองกรุงแย่ลงทุกปี หากไม่รีบหามาตรการป้องกัน ขณะที่ผู้อยู่อาศัยมีรายจ่ายดูแลสุขภาพสูงขึ้น
หลายปีมานี้ คนไทย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในภาคเหนือ ต้องเผชิญกับวิกฤต PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน จนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี
กทม.เตรียมใช้มาตรการห้ามรถบรรทุกดีเซล 6 ล้อขึ้นไป เข้าพื้นที่ชั้นใน 22 เขต ช่วงฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสีแดง แต่เปิดทางให้ลงทะเบียนตั้งแต่ 1 พ.ย.67 โดยมีเงื่อนไขจะต้องเข้ากระบวนการบำรุงรักษารถ ได้แก่ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนไส้กรองอากาศ และการติดตั้งตัวกรองอนุภาคไอเสียดีเซล
แม้รัฐบาลส่งเสริมตัดอ้อยสด เพื่อลดการเผาก่อฝุ่น PM 2.5 แต่ก็ยังลดไม่ได้ทั้งหมด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเสนอตัดอ้อยสดแลกเป็นคาร์บอนด์เครดิต เพื่อจูงใจและเพิ่มรายได้เกษตรกร
ภาวะฝุ่น PM 2.5 กำลังเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทย และเป็นโจทย์เร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ไข จากผลศึกษาในอดีตพบฝุ่นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าไม้ที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีการเผาตลอดทั้งปี พบเดือน มี.ค. เผามากที่สุด ส่งผลกระทบปัญหาฝุ่นหนักขึ้นในเดือนเม.ย.
ทีดีอาร์ไอ เสนอ 6 แนวทางแก้ไข ฝุ่น PM2.5 ทั้งในกรุงเทพฯและพื้นที่ชนบท ระบุต้องมีการตั้งกรรมการระดับชาติ เพื่อมาดูแลโดยเฉพาะ รวมทั้งต้องเร่งผลักดันกฎหมาย การบริการจัดการงบประมาณ และมีนโยบายที่ชัด ร่วมมือกับเพื่อนบ้าน
ย้อนดูสถิติปี 2566 จะเห็นว่าคุณภาพอากาศในไทยแย่ลงเรื่อย ๆ โดยมีคุณภาพอากาศในระดับที่แย่เป็นอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และอยู่ในอันดับที่ 36 จาก 134 ประเทศทั่วโลก จากอันดับ 57 ในปี 2565
วิเคราะห์มุมนักเศรษฐศาสตร์ ถึงสาระและหลักการสำคัญที่จำเป็นต้องมีใน ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ที่ประชาชนจะได้ใช้ ภายหลัง 7 ร่าง ผ่านรัฐสภาเข้าสู่การพิจารณาอย่างเข้มข้นของคณะกรรมาธิการ เพื่อเป้าหมายลดการก่อมลพิษ แก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เมื่อรัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 แต่กลับไร้ผล และยิ่งเพิ่มปริมาณฝุ่นพิษในอากาศมากขึ้นทุกปี เนื่องจากข้อจำกัดใจเชิงโครงสร้าง และกรอบกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ธนาคารโลกจึงเสนอแนวทางนโยบายแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนช่วยกัน
กรุงเทพมหานคร ยังคงเผชิญมลพิษทางอากาศมาเป็นเวลานาน แม้การแก้ปัญหาฝุ่นละอองจะเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล ผลสำรวจในปี 2566 กรุงเทพฯ มีวันสภาพอากาศดีลดลงต่อเนื่องจนทุบสถิติใหม่ และยังส่งผลกระทบสุขภาพมากขึ้นทุกปี
ภาคประชาสังคมเสนอรัฐบาลจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ และผ่านกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)