เช็กสิทธิประโยชน์ "30 บาทรักษาทุกที่" ขณะที่บอร์ดสปสช.เห็นชอบ “งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2569” วงเงินกว่า 2.72 แสนล้านบาท งบเหมาจ่ายรายหัว 4,298.24 บาท ดูแลคนไทยผู้มีสิทธิ 47.50 ล้านคน พร้อมเพิ่มสิทธิประโยขน์ใหม่ 10 รายการ
สำนักงานประกันสังคม เปิดรับฟังความเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้าง เพื่อใช้คำนวณเงินนำส่งสำหรับผู้ประกันตน ม.33 คาดเริ่มปี 69 เริ่มจากเพดานเงินเดือน 17,500 บาท และทยอยปรับจนถึง 23,000 บาทตั้งแต่ปี 75 โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินเพิ่มขึ้น แต่ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย
ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 เสียชีวิต แม้ไม่ได้เกิดจากสถานที่ทำงาน สำนักงานประกันสังคมก็จะจ่ายเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ให้กับทายาท หากมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การได้สิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด โดยแต่ละมาตรามีสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน
การเลิกจ้างจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น จากการปิดโรงงานหรือกิจการ แต่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบอย่าลืมเช็กผลประโยชน์ กรณีที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง อย่าน้อยก็บรรเทาความเดือดร้อนและมีรายได้สำหรับการตั้งหลักใหม่
เช็กสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 1.5 หมื่นบาท/ครั้ง พร้อมค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 5 ครั้ง สามารถใช้สิทธิได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่เป็นผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมาย
เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 สำหรับแรงงานนอกระบบ หรือคนทำงานอิสระ ขึ้นกับอัตราการเลือกจ่าย โดยสูงสุดได้สิทธิประโชยน์ 5 ด้าน คือ เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร แต่เมื่อชราภาพอายุครบ 60 ปี ไม่มีแบบบำนาญ ได้รับเป็นบำเหน็จก้อนเดียว
สรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากถูกเลิกจ้าง หวังช่วยเหลือลูกจ้างที่เดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ไม่เกิน 3 แสนบาท มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ใครที่จ่ายภาษีไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี
กองทุนเงินทดแทน และกองทุนประกันสังคม มักจะสร้างความสับสนให้กับแรงงานและลูกจ้าง ลองไปดูความแตกต่างและเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลและจ่ายเงินชดเชย ที่ลูกจ้างจะได้รับ โดยครอบคลุมทั้งเหตุที่เกิดจากการทำงานและไม่ได้เกิดจากการทำงาน เป็นข้อมูลที่ควรรู้ไว้สำหรับเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต