ThaiPBS Logo

แก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

รัฐบาลประกาศนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และไฟป่า โดยเฉพาะมาตรการลดฝุ่นละอองจากแหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม และการควบคุมการเผาป่า เผาวัสดุทางการเกษตร นำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการผลิตของภาคการเกษตรและการจัดการพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน และการสร้างมาตรการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านลดปัญหาหมอกควันข้ามแดน

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ครม.อนุมัติหลักการร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนจัดทำกฎหมายลำดับรอง

ดำเนินงาน

คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ในปี 2567

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

อัปเดท 14 มี.ค.

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 ฉบับ ให้ช่วยและสนับสนุนในด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่า และด้านการแก้ไขปัญหาสัตว์ป่าที่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน
  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตรวจติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5  ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ใช้เชียงใหม่โมเดลไปทุกจังหวัด ที่ดูแลฝุ่นควันได้ผลปีนี้ จากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มีการประสานงานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายความมั่นคง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกฝ่ายมีการร่วมมือ
  • 19 ธ.ค. 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการแก้ปัญหา PM2.5 พร้อมกำหนดตัวชี้วัดให้ผู้ว่าราชการทั้ง 17 จังหวัด ผลงานจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการลดปัญหาหมอกควัน PM 2.5

ยกเครื่องปรับแผน แก้ปัญหา PM 2.5 แบบยั่งยืน

วันที่ 16 ต.ค. 2566 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแต่งตั้ง คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ โดยมี พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการ และมีกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคณะกรรมการ มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ พร้อมเห็นชอบ มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปี 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ทบบทวนมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษอันเกิดจาก PM 2.5
  • ยกระดับเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567
  • เสนอให้มีกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่
  • กลไกการบริหารจัดการระดับพื้นที่ในรูปแบบศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่งหมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

มาตรการ แก้ฝุ่น PM 2.5 คุมเชิงพื้นที่ – ปิดป่าจุดเสี่ยง

  • กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการแก้ปัญหา เน้นพื้นที่เผาซ้ำซาก 50%
  • ลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือ 3.25 ล้านไร่จากปี 2566 ที่มีพื้นที่เผาไหม้ 66% หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งใน 10 ป่าอนุรักษ์ และ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการทำแนวกันไฟ และแนวกันคน
  • จัดระเบียบการเก็บหาของป่า อนุญาตเฉพาะคนในพื้นที่ โดยต้องผ่านการลงทะเบียนรายบุคคลในพื้นที่
  • ปิดป่าเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง
  • ให้จัดการเชื้อเพลิงในช่วงเวลาที่เหมาะสม ตั้งจุดเฝ้าระวังเพื่อกระจายกำลังเจ้าหน้าที่เฝ้าป่า โดยเน้นป่าอนุรักษ์ต้องมีจุดตรวจและจุดสกัดเพื่อไม่ให้เกิดการลักลอบเผาป่า และใช้หมู่บ้านเครือข่ายดับไฟป่าหรืออาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชรวมดับไฟป่า
  • ลดจำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานต้องลดลงเป็นรายภาค เช่น 17 จังหวัดภาคเหนือ จาก 40% เป็น 30% ขณะที่ กทม.-ปริมณฑล และ ภาคกลาง ลดลงจาก 20% เป็น 5% ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จาก 10% เป็น 5%

มาตรการที่มาพร้อมกับ ‘การบังคับใช้กฎหมาย’

  • บังคับใช้มาตรฐานน้ำมันยูโร 5 อย่างเป็นทางการ 1 มกราคม 2567 ในเมืองใหญ่
  • มีมาตรการตรวจอย่างเข้มข้น ทั้งการเพิ่มจุดตรวจสอบ ตรวจจับควันดำให้ครอบคลุมพื้นที่วิกฤต เข้มงวดวินัยการจราจร ใช้อัตราโทษสูงสุด
  • ดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้ามไม่ให้มีการเผาเด็ดขาด
  • ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PHEOC) ในทุกระดับ
  • ยกระดับการเจรจาให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคี และใช้เงื่อนไขทางการค้า ใช้การสื่อสารเชิงรุกแจ้งเตือน และตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ เพื่อสั่งการระดับชาติสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดแบบถาวร

แจ้งเตือนประชาชน – ประกาศ WFH ลดฝุ่นรายวัน

กทม. มีการแจ้งเตือนในระกับท้องถิ่น และลดฝุ่นจากแหล่งกำเนิด ไม่ว่านะเป็นจากการจราจร การก่อสร้าง หากจำนวนวันและฝุ่นเกิน 15 เขต อยู่ในระดับสีแดง จะให้มีมาตรการทำงานที่บ้าน (Work From Home) โดยมีแนวทางการแจ้งเตือน 4 ระดับ-ส่ง SMS ถึงประชาชน ดังนี้

  • ระดับที่ 1  รายงานประจำวัน
    ให้รายงานสถานการณ์และผลการคาดการณ์ปริมาณ PM 2.5 ทุกวันของช่วงเวลา 14.00 น. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแนวทางการปฏิบัติตัวผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) และสื่อต่างๆ
  • ระดับที่ 2 รายงานประจำสัปดาห์
    ให้รายงานการพยากรณ์สถานการณ์ฝุ่น 7 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนล่วงหน้าในการปฏิบัติตัวช่วงอาทิตย์นั้น โดยจะเป็นการรายงานร่วมกัน 4 หน่วยงาน คือ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการจังหวัด และกรมประชาสัมพันธ์
  • ระดับที่ 3 รายงานกรณีพิเศษเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤติ
    หากสถานการณ์ PM 2.5 เข้าขั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น ปัญหาหมอกควันข้ามแดนเข้ามามีผลกระทบต่อประเทศไทย จะให้ ศกพ. รายงานสถานการณ์ต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบและแนวทางการปฏิบัติตน
  • ระดับที่ 4 กรณีมีประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจเป็นพิเศษ

จะให้สื่อสารและจัดเสวนา ศกพ.จะเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆมาให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ นอกจากนี้ให้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อเพิ่มการแจ้งเตือนประชาชนในระบบ SMS Alert มาใช้สำหรับแจ้งเตือนประชาชนอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • นายกฯ เศรษฐา และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค ก.ก. ลงพื้นที่เชียงใหม่ ติดตามการแก้ปัญหาไฟป่า และหมอกควัน ท่ามกลาง สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เพิ่มสูงขึ้นในภาคเหนือ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 มี.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาลงประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น 2 ฉบับ ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นช่วยป้องกันและดับไฟป่า  ดูเพิ่มเติม ›

    14 มี.ค. 2567

  • ครม.มีมติอนุมัติงบกลาง 272,655,350 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายแก้ปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ   ดูเพิ่มเติม ›

    3 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุว่าจัดตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันการเผาป่าระหว่างประเทศไทย-กัมพูชา  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ประชุมติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ให้หน่วยราชการทำงานที่บ้านได้   ดูเพิ่มเติม ›

    15 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ติดตามความคืบหน้าแก้ปัญหาฝุ่นละอองในจังหวัดเชียงใหม่

    11 ม.ค. 2567

  • ครม. เห็นชอบมาตรการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ในปี 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    19 ธ.ค. 2566

  • สถานการณ์ฝุ่นรุนแรงในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในกทม. - ปริมณฑล ค่าเกินมาตรการฐานหลายพื้นที่

    13 ธ.ค. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทส. สั่งการด่วน กรมควบคุมมลพิษ ประสาน “จิสด้า“ ใช้ Hotsport หาแหล่งกำเนิด PM2.5 รายจังหวัด ประเมินสถานการณ์แก้ไขปัญหาฝุ่น หลังพบ 52 จว. มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

    12 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง มอบนโยบายแก้ปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันใน 17 จ.ภาคเหนือ ระหว่างลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจในภาคเหนือ มีการเชิญส่วนราชการ วิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชนมาร่วมหารือแนวทางการแก้ปัญหา

    29 พ.ย. 2566

  • ครม. อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนจัดทำกฎหมายลำดับรอง

    28 พ.ย. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทส.ประชุมมอบนโยบายเตรียมความพร้อมรับมือ สถานการณ์ไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5

    8 พ.ย. 2566

  • ทส. ปรับแผนคุมไฟป่า เปิดยุทธการล็อกเป้า 10 ป่าอนุรักษ์สกัดเผาซ้ำซาก หลังปี 2566 ป่าวอดกว่า 3 ล้านไร่

    7 พ.ย. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทส. เป็นประธานเปิดศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและมอบแนวทางการสื่อสารการป้องกันฝุ่นปี 2567

    28 ต.ค. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรรณ รมว.ทส. ประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงและข้อแนะนำในการปฏิบัติงาน

    14 ก.ย. 2566

  • รัฐบาลแถงนโยบายจะเร่งแก้ปัญหาการเผาป่าและฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

พื้นที่เป้าหมาย
แก้ปัญหา เน้นพื้นที่มีการเผาและไฟป่าเกิดขึ้นซ้ำซาก 50%
ลดการเผา
ลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือ 3.25 ล้านไร่จากปี 2566 ที่มีพื้นที่เผาไหม้ 66% หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งใน 10 ป่าอนุรักษ์ และ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการทำแนวกันไฟ และแนวกันคน
ลดจำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน
ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ลดลง 10% (จาก 40% เป็น 30%) กทม.-ปริมณฑล และ ภาคกลาง ฝุ่น PM 2.5 ลดลง จาก 20% เป็น 5% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ลดลง จาก 10% เป็น 5%

เชิงกระบวนการ

ตั้งกรรมการระดับชาติเพื่อสั่งการ
สร้างกลไกการทำงานให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อสั่งการลงสู่การปฏิบัติ

เชิงการเมือง

นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อสภา
รัฐบาลประกาศนโยบายแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และไฟป่า

อินโฟกราฟิก

0-0pm2-5-25614pm2-51-0pm2-5-ct-1yearbkkpm2-5-240214

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
"เผา-บุกรุก"ป่า ผลพวงการพัฒนามุ่งแต่เม็ดเงิน

"เผา-บุกรุก"ป่า ผลพวงการพัฒนามุ่งแต่เม็ดเงิน

การบุกรุกและเผาป่า นับวันจะรุนแรงขึ้น โดยที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการอะไรได้ นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้นตอการเผ่าป่า ทั้งเพื่อบุกรุกพัฒนาการท่องเที่ยวและปลูกข้าวโพดเพื่อส่งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ล้วนแต่มาจากนโยบายของรัฐบาลเองที่มุ่งไปที่ "เม็ดเงิน" แต่ละเลยสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทย
เผาป่าในประเทศหนักมาก ความท้าทายใหม่รัฐบาลแก้ฝุ่นควัน

เผาป่าในประเทศหนักมาก ความท้าทายใหม่รัฐบาลแก้ฝุ่นควัน

ภาวะฝุ่น PM 2.5 กำลังเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทย และเป็นโจทย์เร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ไข จากผลศึกษาในอดีตพบฝุ่นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาป่าไม้ที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีการเผาตลอดทั้งปี พบเดือน มี.ค. เผามากที่สุด ส่งผลกระทบปัญหาฝุ่นหนักขึ้นในเดือนเม.ย.
ไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แม้เป็นตัวการเกิดฝุ่น PM 2.5

ไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แม้เป็นตัวการเกิดฝุ่น PM 2.5