ThaiPBS Logo

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลจะใส่เงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ และกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ เกิดการจับจ่ายใช้สอย ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ ภาคธุรกิจเกิดการขยายกิจการ เกิดการจ้างงาน และเกิดการหมุนเวียนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

กฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐบาลมีอำนาจออกพ.ร.บ.ได้ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลัง

ดำเนินงาน

คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 เมื่อ 10 เม.ย. 2567 อนุมัติดำเนินโครงการ 500,000 ล้านบาท

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

สถานการณ์ล่าสุด 8 พ.ค. 2567

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หลังรับตำแหน่งวันที่ 2 สรุปกำหนดกรอบเวลาสำหรับผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ 10,000 บาทตามกรอบเดิม
  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็นของคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเติมเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต โดยเห็นชอบหลักการ แต่ให้ส่งสำนักงานกฤษฎีกาตีความเรื่องการใช้เงินธ.ก.ส.
  • 10 เม.ย. เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล เห็นชอบเดินหน้าโครงการ คาดจะเริ่มดำเนินการได้ในไตรมาส 4 ปี 2567

ข้อมูลนโยบายล่าสุด : 10 พ.ย. 2566 (เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต)

เกณฑ์ผู้มีสิทธิ์รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ต้องครบทั้ง 3 เงื่อนไขจึงจะได้รับเงินดิจิทัล

  • อายุ 16 ปีขึ้นไป 
  • รายได้ไม่ถึง 70,000 บาท/เดือน 
  • มีเงินฝากรวมไม่ถึง 500,000 บาท 

เงื่อนไขการใช้งาน

  • ระยะทางที่ใช้ได้ครอบคลุมระดับอำเภอ ตามบัตรประชาชน
  • คาดว่าจะใช้ได้ในช่วง พ.ค. 2567 และต้องใช้สิทธิ์ครั้งแรกภายใน 6 เดือน จากนั้นใช้ได้ถึงเดือน เม.ย. 2570
  • ต้องลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ จ่ายเงินแบบ face-to-face
  • ใช้ได้ : ของอุปโภคบริโภค
  • ไม่สามารถใช้ได้ : การบริการ สินค้าออนไลน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ กัญชา กระท่อม บัตรกำนัล บัตรเงินสด ทองคำ เพชร อัญมณี น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเทอม และการชำระหนี้
  • ไม่สามารถแลกเป็นเงินสด และไม่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดได้
  • สามารถซื้อได้ทุกร้านค้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ไม่จำกัดอยู่แค่ร้านที่อยู่ในระบบภาษี ไม่จำเป็นต้องจด VAT แต่ร้านค้าที่จะขึ้นเงินได้ต้องอยู่ในระบบภาษี
  • ใช้งานผ่านระบบ ‘เป๋าตัง’ เนื่องจากมีผู้ใช้งานและร้านค้าเดิมอยู่แล้ว และมี blockchain เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลังบ้าน เพื่อป้องกันการทุจริต

หลังบ้านนโยบาย

  • จำนวนผู้มีสิทธิ์รับเงินประมาณ 50 ล้านคน
  • ใช้งบประมาณรวม 600,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
    • วงเงินดิจิทัลวอลเล็ต 500,000 ล้านบาท และ
    • กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ 100,000 ล้านบาท
  • เงินที่เหลือของโครงการ จะใส่ในกองทุนเพื่อลงทุนพัฒนาประเทศ เช่น กองทุนเพิ่มขีดความสามารถ
  • ที่มาของเงินมาจากการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ผ่านกระบวนการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้การออกเป็นไปอย่างรอบคอบ รัดกุม และไม่ขัดกฎหมาย และมีแผนจัดสรรเพื่อจ่ายคืนเงินกู้ตลอดระยะเวลาที่เป็นรัฐบาล 4 ปี

นโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • นโยบาย e-Refund (เริ่มเดือน ม.ค. 2567) ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลจากการซื้อสินค้าและบริการรวมมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท จากร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีและเฉพาะที่ออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและจูงใจให้ร้านค้าเข้าสู่ระบบภาษีดิจิทัล มุ่งสู่ E-government ในอนาคต
  • เสริมสร้างขีดความสามารถ (เริ่มเดือน มิ.ย. 2567) เพื่อผลักดันต่อยอดอุตสาหกรรมและโครงสร้าง เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา (ใช้งบประมาณ 100,000 ล้านบาท)

คาดการณ์ผลดีต่อประเทศใน 2 ด้าน

  • กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น โดยมีประชาชนเป็นกลไกสำคัญ ผ่านการบริโภคและการลงทุน
  • วางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและ e-Government เพื่อวางและแก้ไขโครงสร้างของประเทศในระยะยาว

อย่างไรก็ดี นโยบายทุกอย่างที่แถลงจะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายและมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะดำเนินการต่อไป

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet หลังรับตำแหน่งวันที่ 2 สรุปตามกรอบเดิม

    8 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงภายหลังการประชุมครม. ระบุจะส่งให้กฤษฎีกาตีความประเด็นการใช้เงินธ.ก.ส.มาดำเนินโครงการ

    23 เม.ย. 2567

  • ศุภชัย วงศ์เวคิน ประธานสหภาพแรงงาน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เข้าพบ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ขอให้ชี้แจงประเด็นเรื่องยืมเงิน ธ.ก.ส. 1.72 แสนล้านบาท

    22 เม.ย. 2567

  • คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 เห็นชอบโครงการวงเงิน 5 แสนล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    10 เม.ย. 2567

  • ครม. มีมติเร่งคณะกรรมการนโยบายฯ สรุปผลพิจารณาข้อเสนอจาก ป.ป.ช.กรณีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท แล้วนำกลับมาเสนอ ครม.ภายใน 2 สัปดาห์  ดูเพิ่มเติม ›

    9 เม.ย. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.การคลัง ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่กระทรวงการคลัง

    5 เม.ย. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง กล่าวในการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยไม่มีการลงมติ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข รอวันที่ 10 เม.ย.

    3 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจะมีการแถลงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในวันที่ 10 เม.ย.นี้  และนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)   ดูเพิ่มเติม ›

    2 เม.ย. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ยันเดินหน้าโครงการต่อ คาดเปิดลงทะเบียนไตรมาส 3 และเริ่มโอนเงินในไตรมาส 4  ดูเพิ่มเติม ›

    26 มี.ค. 2567

  • ลวรณ แสงสนิท ปลัดการคลัง เตรียมสรุปความเห็นเสนอโครงการดิจิทัลวอลเล็ต คาดบอร์ดชุดใหญ่ประชุมก่อนสงกรานต์

    22 มี.ค. 2567

  • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เตือนโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเสี่ยงสูงจากหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้น และอาจจะกระทบเครดิตประเทศ

    20 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เผยเตรียมนัดประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า  ดูเพิ่มเติม ›

    19 มี.ค. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุยังไม่มีกำหนดวันนัดประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต ครั้งต่อไป รอความเห็นธปท.และคณะอนุกรรมการฯ

    12 มี.ค. 2567

  • คณะกรรมการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กำหนดกรอบเวลา 30 วัน มีการประชุม แต่ไม่มีมติในเรื่องใด แต่ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ศึกษาความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เสนอมา  ดูเพิ่มเติม ›

    15 ก.พ. 2567

  • มีรายงานว่าคณะทำงานศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เตือนการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน  ดูเพิ่มเติม ›

    14 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุได้รับรายงานข้อเสนอแนะจาก ป.ป.ช. เกี่ยวกับดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว เตรียมนัดประชุม 15 ก.พ. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ก.พ. 2567

  • ป.ป.ช. แถลงข้อเสนอแนะ 8 ข้อ ต่อ โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ลดเสี่ยงขัดกฎหมาย  ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง หารือจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง แต่ไม่เปิดเผยรายละเอียด

    5 ก.พ. 2567

  • นิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการป.ป.ช. ระบุบอร์ดป.ป.ช.เตรียมพิจารณารายงานศึกษาดิจิทัลวอลเล็ต

    26 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง ยอมรับโครงการล่าช้าจากกำหนดเดิมในเดือนพ.ค. 2567

    19 ม.ค. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุ อาจแจกเงินดิจิทัลไม่ทันตามกำหนดเดิมในเดือน พ.ค. 2567

    17 ม.ค. 2567

  • บอร์ดเงินดิจิทัลเลื่อนการประชุมไม่มีกำหนด ขณะที่คณะกรรมการป.ป.ช. เตือนเสี่ยงผิดฏฎหมาย

    16 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง ระบุยังดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ตามกำหนดเดิม คือ พ.ค. 2567 โดยออกพ.ร.บ.กู้เงิน 500,000 ล้านบาท

    9 ม.ค. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง แถลงว่ากฤษฎีกาให้ความเห็นว่าสามารถออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านได้ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายวินัยการเงินการคลัง

    8 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุกฤษฎีกาส่งความเห็นมาแล้ว พร้อมข้อเสนอแนะ แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด

    8 ม.ค. 2567

  • ศิริกัญญา ตันสกุล สส.ก้าวไกล อภิปรายร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2567 กล่าวถึงงบกระตุ้นเศรษฐกิจว่า ไม่มีงบดิจิทัลวอลเล็ตปรากฏในงบฯ ปี 2567 ส่วนกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันลดเหลือ 15,000 ล้านบาท

    3 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุส่งเรื่องขอความเห็นจากกฤษฎีกาแล้ว มั่นใจใช้ทันในเดือนพ.ค. 2567

    9 ธ.ค. 2566

  • คกก.เฝ้าระวังตรวจสอบโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เชิญ ก.คลัง กรมสรรพากร และสำนักนโยบายหนี้สาธารณะ มาให้ข้อมูล เพื่อติดตามว่ารัฐบาลจะใช้งบฯ และส่งให้ประชาชนด้วยวิธีการใด

    8 ธ.ค. 2566

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุว่าตรวจร่างคำถามเกี่ยวกับพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท คาดว่าใน 1-2 วันนี้จะส่งร่างให้กฤษฎีกาพิจารณา

    6 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุจะส่งเรื่องขอความเห็นจากสำนักงานกฤษฎีกาในสัปดาห์นี้

    4 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง แถลงสรุปนโยบาย เดินหน้าโครงการ แต่เป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย แต่ถูกวิจารณ์"ไม่ตรงปก"

    10 พ.ย. 2566

  • คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ยังเห็นไม่ตรงกันในกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิ

    26 ต.ค. 2566

  • ที่ประชุม ป.ป.ช. เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา และดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล

    24 ต.ค. 2566

  • ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ ยันเดินหน้าโครงการ เป็นธรรมดามีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

    16 ต.ค. 2566

  • เศรษฐา​ ทวีสิน​ นายกฯ และรมว.คลัง โพสต์ข้อความระบุอย่าให้คนค้านอย่าไร้เหตุผลมาหยุดโครงการนี้

    14 ต.ค. 2566

  • สมาชิกพรรคเพื่อไทยและพรรคฝ่ายค้าน ออกมาตอบโต้กันอย่างดุเดือดถึงความเหมาะสมแจกเงินดิจิทัล

    8 ต.ค. 2566

  • 99 นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ ออกแถลงการณ์คัดค้าน ระบุไม่คุ้มค่า

    6 ต.ค. 2566

  • ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการในการแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน รวม 4 คณะ

    3 ต.ค. 2566

  • ครม. มอบหมายให้ รมช.คลัง ศึกษารายละเอียดของแนวทางในการดำเนินนโยบายให้ชัดเจน

    13 ก.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทยในฐานะพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ยืนยันว่าผลักดันดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาททันที คาดใช้ได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์ปี 67

    24 ส.ค. 2566

  • พรรคเพื่อไทยระบุไม่ได้ใช้คำว่า "ยุติ" หรือ "พับ" โครงการ แต่ "ชะลอ" เพื่อใช้เวลาในการเจรจาร่วมกับพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

    2 มิ.ย. 2566

  • มีการเปิดเผยเอกสารการกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องให้จ่ายเงินตามมาตรา 57 แห่งระบุที่มาของเงิน 560,000 ล้านบาท

    21 เม.ย. 2566

  • เปิดตัวนโยบาย “กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet)” บนเวทีเปิดตัว 400 สส.ของพรรคเพื่อไทย

    17 มี.ค. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

กระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐบาลหวังว่านโยบายดังกล่าวจะทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยทั่วประเทศ เป็นการกระตุ้นกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ แต่มีปัญหาเรื่องความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายงบประมาณ

เชิงกระบวนการ

การกำหนดนโยบาย
รัฐบาลมีการปรับรายละเอียดโครงการใหม่ ต่างไปจากเดิมที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก

เชิงการเมือง

สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ยังมีข้อถกเถียงว่าเป็นนโยบายที่สามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ในระยะยาวหรือไม่ ในขณะที่หลายฝ่ายห่วงเรื่องภาระหนี้รัฐบาล

อินโฟกราฟิก

2-01-02-02-02-03-010000-0310000-0210000-01

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
รายละเอียดความเห็นธปท. ดิจิทัลวอลเล็ต5แสนล้าน

รายละเอียดความเห็นธปท. ดิจิทัลวอลเล็ต5แสนล้าน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งหนังสือถึงรัฐบาล ให้ความเห็นต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน 4 ประเด็น โดยหนังสือถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22เม.ย. ก่อนการประชุมครม.ในวันที่ 23 เม.ย. ซึ่งในมีหลายประเด็นที่เป็นความเห็นเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
อัปเดทดิจิทัลวอลเล็ต เงื่อนไข"ประชาชน-ร้านค้า"ที่มีสิทธิ

อัปเดทดิจิทัลวอลเล็ต เงื่อนไข"ประชาชน-ร้านค้า"ที่มีสิทธิ

ดิจิทัลวอลเล็ต หรือ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet มีการปรับหลายครั้งนับตั้งแต่ประกาศนโยบาย จนล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 นับว่าได้ข้อสรุปครั้งสุดท้ายจากการประชุมครม. โดยมีรายละเอียดออกมา ขณะที่รัฐบาลยืนยันประชาชนที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์จะได้ใช้ในไตรมาส 4 ปีนี้
เปิดผลสำรวจสินค้ายอดฮิต จากดิจิทัลวอลเล็ตหมื่นบาท

เปิดผลสำรวจสินค้ายอดฮิต จากดิจิทัลวอลเล็ตหมื่นบาท

สำรวจความเห็นคนไทย หากได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาทจากรัฐบาล จะนำไปใช้จ่ายกับอะไร เลือกซื้อสินค้าที่ร้านประเภทไหน และมีวิธีบริหารเงินที่ได้มาอย่างไรบ้างให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายส่วนตัว