ภัยพิบัติรุนแรงกระทบเศรษฐกิจหนัก หากไร้แผนรับมือ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดน้ำท่วมปี 2567 กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างต่ำ 3 หมื่นล้านบาท และอาจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท หากน้ำท่วมขยายขอบเขตไปยังภาคกลางและภาคใต้ แนะทุกฝ่ายวางแผนรับมือภัยพิบัติที่เสี่ยงรุนแรงมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว
ยกเครื่องระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วมดินถล่ม
การจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติให้มีมาตรฐาน เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมานาน โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น แต่ในที่สุดเรื่องก็เงียบหาย ทำให้การบริหารจัดการทำได้เพียงแค่ "ศูนย์บัญชาการเฉพาะ" แต่จากสถานการณ์โลกร้อน อาจถึงเวลาต้องกลับมาทบทวนกันอย่างจริงจัง เพราะภัยพิบัติอาจรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง
ป่าไม้ลดมากสุดรอบ 10 ปี ภาคเหนือหนักสุด1.7แสนไร่
พื้นที่ป่าไม้ของประเทศลดลงมากที่สุดในรอบ 10 ปี เหลือสภาพป่าทั้งประเทศ 31.75% ขณะที่ตามแผนพัฒนาฯและแผนยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายไว้ที่ 40% ในช่วงปี 2566 ลดลงมากถึง 3.17 แสนไร่ โดยภาคเหนือมากที่สุด 1.7 แสนไร่
ทีดีอาร์ไอระดมสมองรับโลกเดือด ในยุคที่คนไทยยังเมิน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการตั้งชื่อให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังก้าวสู่ "ยุคโลกเดือด" ซึ่งจากน้ำท่วมรุนแรงในภาคเหนือในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบรุนแรงและไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดแผนรับมืออย่างแท้จริง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
อาเซียนตั้งศูนย์ความร่วมมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลุ่มประเทศอาเซียนได้ยกระดับเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อน โดยการตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ประเทศสมาชิกอาเซียน
ทำไมแผนรับมือภัยพิบัติ จึงไร้ประสิทธิภาพ?
รัฐบาลใช้งบประมาณกว่าร้อยล้านบาท ในปี 65 ติดตั้งระบบเตือนเพื่อรับภัยพิบัติทั่วประเทศ แต่รายงานสหประชาชาติกลับพบว่า ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงของไทยมีเพียง 50% เท่านั้น ที่ได้รับการอบรมเตรียมการป้องกันและรู้จักการเตือนภัย ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติของไทย
น้ำท่วมเหนือรุนแรง จี้รัฐทบทวนแผนบริหารจัดการน้ำ
จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ สะท้อนมให้เห็นว่ายังมีปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ดังจะเห็นได้จากความรุนแรงและความเสียหายในวงกว้าง ด้านหอการค้าฯเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อรับมือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
เทียบเคียงมหาอุทกภัยปี 54 มีโอกาสซ้ำรอยแค่ไหน?
จากภาวะฝนตกหนักในจังหวัดภาคเหนือและเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด ทำให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์จะซ้ำรอยมหาอุทกภัยในปี 2554 แต่ความเห็นและการคาดการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ลานีญา และยิ่งปรากฏการณ์โลกร้อน ทำให้การคาดการณ์อย่างแม่นยำมีความเป็นไปได้ยากขึ้น
ปรับฐานคิดสู่ Worst-case Scenario อุดช่องโหว่แก้น้ำท่วมซ้ำซาก
ความเสียหายรุนแรงจากน้ำท่วมเชียงรายรอบนี้ นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงกลไกการแก้ไขปัญหาที่หลาย ๆ รัฐบาลทุ่มงบประมาณหวังลดความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาในหลายจุด ทั้งการแจ้งเตือน ระบบฐานข้อมูล จนต้องกลับมาตั้งคำถามว่าสิ่งที่ทำมาในอดีตมาถูกทางแล้วหรือไม่ และต้องทำอะไรเพิ่ม