
อยากสุขภาพดี แต่ไม่มี “ที่” ทำอย่างไรเมื่อเมืองไม่เอื้อ?
ใจพร้อม กายพร้อม แต่ “เมือง” ไม่พร้อม ! ปัญหาการขาดพื้นที่ให้เคลื่อนไหวกำลังบั่นทอนความเป็นอยู่ของเรา ทั้งจากโรค NCDs หรือภาวะซึมเศร้า ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การออกแบบ “ที่” ให้สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง คือคำตอบที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการมีสุขภาพดีอย่างเท่าเทียม

ส่องนโยบาย ‘สถานชีวาภิบาล’ ผ่านมาแล้ว 2 ปี ก้าวหน้าแค่ไหน
ผ่านมาแล้ว 2 ปี กับนโยบายสถานชีวาภิบาล ความคืบหน้าวันนี้เป็นอย่างไร สถานการณ์การดูแลประคับประคองในไทยก้าวไปสู่จุดไหน ยังมีช่องว่างตรงไหนที่ต้องอุดรอยรั่วเพื่อให้คนไทยเข้าถึงการตายดี

วิกฤตกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หวั่นสมาชิกเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ
กลต.เตรียมออกแผนทางเลือก Lifecycle investment ขยายสัดส่วนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเพิ่มเงินออมให้กับสมาชิก หลังมีเงินออมน้อยเฉลี่ย 1-3 ล้านบาท/คน เสี่ยงไม่พอใช้จ่ายตอนเกษียณที่ระดับ 5-10 ล้านบาท

กรุงเทพฯ ฝุ่นพุ่ง ป่วยมาก ! แต่มาตรการพื้นที่ยังมุ่งจัดการแหล่งกำเนิดแบบ ‘ขอความร่วมมือ’
ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครที่พุ่งสูงอยู่ในช่วงนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ยืนยันด้วยสถิติการเข้ารับการรักษาด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งมาตรการการแก้ปัญหากลับยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะจัดการถึงต้นเหตุของปัญหา

บทเรียนโรคไตเรื้อรัง: ถึงเวลาทำงบประมาณแบบฐานศูนย์
วิธีการงบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) ที่มีการเสนอวิธีการจัดงบประมาณใหม่ของประเทศที่ไม่อิงจากงบในอดีต แต่ก็ยังคงเป็นแนวคิด แต่จากบทเรียนงบประมาณที่ใช้รักษา “โรคไตเริ้อรัง“อาจจำเป็นต้องหันมาหาทางเลือกการจัดสรรงบใหม่

“อุบัติเหตุ-เสียชีวิต”พุ่งหลังโควิด จากรถโดยสารมากสุด
อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจหลังจากยุคโควิด-19 พบสถิติเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตมากที่สุด แนะรัฐบาลต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เข้มงวดมาตรฐานคนขับและรถโดยสาร ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

ศึกสองวิชาชีพ “ร้านยาคุณภาพ” เดินหน้าหรือสะดุดกฎหมาย
ร้านยาคุณภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หนึ่งในความพยายาม แก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล กำลังกลายเป็นศึกระหว่างสองวิชาชีพที่ต้องจับตาว่าจะจบลงอย่างไร

ถอดรหัสปัญหา ’30 บาทรักษาทุกที่’ กทม.
ระบบบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำลังอยู่ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากความแตกต่างและซับซ้อนมากกว่าจังหวัดอื่น รวมไปถึงต้นทุนการให้บริการที่สูงกว่า และปัญหาจากคลินิกชุมชนอบอุ่นถอนตัว ขณะที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ต้องแบกต้นทุนการรักษาเพราะได้รับการเบิกจ่ายจาก สปสช. เพียงบางส่วน

1 ปีนโยบาย “ชีวาภิบาล” หลายปัญหาที่ต้องสะสางสู่สิทธิตายดี
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้