
ชญาดา จิรกิตติถาวร

1 ปีนโยบาย “ชีวาภิบาล” หลายปัญหาที่ต้องสะสางสู่สิทธิตายดี
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้

ทำอย่างไรก้าวให้พ้น วงจรอุบาทว์ ประชานิยมภาคเกษตร
นักวิชาการด้านการเกษตร มองนโยบายพักหนี้เกษตรกรเป็นนโยบายประชานิยม ยิ่งทำให้เป็นหนี้เพิ่ม ไม่ช่วยให้หลุดพ้นความยากจนได้ และยังเป็นกับดักให้คนรอแต่ความช่วยเหลือ แนะรัฐบาลมุ่นเน้นแก้ปัญหาระยะกลาง-ยาว เพิ่มศักยภาพการเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก หากต้องการหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

ดอกเบี้ยกำลังขาลง จากเศรษฐกิจชะลอ-การเงินโลก
กนง.ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ทำให้ตลาดมองว่าแบงก์ชาติกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเมือง หากประเมินจากเหตุผลในการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจจะต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะทิศทางเศรษฐกิจแทบไม่เปลี่ยน แต่ทิศทางการเงินโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศกำลังเข้าสู่ขาลง

แจกเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจชั่วคราว แนะเร่งแก้โครงสร้าง
นักวิเคราะห์คาดโครงการแจกเงิน 10,000 บาท จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเติบโตระยะสั้นจนถึงกลางปี 68 ท่ามกลางแรกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างรายล้อม หากรัฐบาลไม่จริงจังแก้ปัญหานี้ เศรษฐกิจจะกลับมาโตต่ำกว่า 2.5% อีกครั้งเมื่อหมดโครงการแจกเงิน

กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด

ภัยพิบัติรุนแรงกระทบเศรษฐกิจหนัก หากไร้แผนรับมือ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดน้ำท่วมปี 2567 กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างต่ำ 3 หมื่นล้านบาท และอาจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท หากน้ำท่วมขยายขอบเขตไปยังภาคกลางและภาคใต้ แนะทุกฝ่ายวางแผนรับมือภัยพิบัติที่เสี่ยงรุนแรงมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว

ยกเครื่องระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อลดความเสียหายจากน้ำท่วมดินถล่ม
การจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติให้มีมาตรฐาน เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมานาน โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น แต่ในที่สุดเรื่องก็เงียบหาย ทำให้การบริหารจัดการทำได้เพียงแค่ "ศูนย์บัญชาการเฉพาะ" แต่จากสถานการณ์โลกร้อน อาจถึงเวลาต้องกลับมาทบทวนกันอย่างจริงจัง เพราะภัยพิบัติอาจรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง

ทำไมคาดการณ์ว่ากนง.ยังคงดอกเบี้ย 16 ต.ค. นี้
การลดดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็นส่งผลดีกับรัฐบาลและภาคธุรกิจ แต่ไม่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องรายย่อยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน ทีดีอาร์ไอหนุน ธปท.ปรับโครงสร้างหนี้ แนะรัฐบาลทุ่มงบเพิ่มทักษะผู้ประกอบการระดับล่าง

เสียงจากผู้ไร้อำนาจ จะก้องกังวานเมื่อใด?
ในยุคที่เสียงของกลุ่มคนไร้อำนาจ (powerless) ถูกละเลยในกระบวนการทำนโยบาย คำถามสำคัญคือ "เมื่อใดจึงจะทำให้เสียงของกลุ่มคนไร้อำนาจสามารถมีผลต่อนโยบาย?"