
รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้แค่ไหน ? เมื่อต้องฝ่าด่านการเมือง-เงินอุดหนุน
รัฐบาลเดินหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตามนโยบายพรรคเพื่อไทยที่หาเสียงไว้ ซึ่งขณะที่การผลักดันกฎหมาย 3 ฉบับที่สำคัญ คือ ร่างพ.ร.บ. รฟม. ,ร่างพ.ร.บ.กรมรางฯ และร่างพ.ร.บ. ตั๋วร่วม โดยตั้งเป้าหมายบังคับใช้ทัน 30 ก.ย. 68 หากไม่สะดุดการเมืองเสียก่อน แต่จะยั่งยืนหรือไม่ขึ้นกับเงินที่จะนำมาใช้บริหารในระยะยาว

สภาฯผ่านวาระแรก แก้กฎหมายใช้เงินรฟม. หนุนรถไฟฟ้า 20 บาท
สภาฯ ลงมติรับหลักการแก้กฎหมาย พ.ร.บ.รถไฟฟ้าฯ เปิดทางใช้เงินกำไรสะสมของรฟม. จ่ายชดเชยเอกชน อุดหนุนค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผ่านกองทุนตั๋วร่วม คาดเริ่มใช้ได้ในเดือนก.ย.นี้

ไขปริศนา “ไฟฟ้าสีเขียว 5 พันเมกะวัตต์” ค่าไฟถูกจริงหรือ?
ไขข้อข้องใจ การคำนวณโครงสร้างการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว หรือ Big Lot กว่า 5 พันเมกะวัตต์ ค่าไฟถูกจริงหรือ? เพราะต้องคิดหลายชั้นและซับซ้อน ยันต้นทุนไม่ได้ถูกกว่า ดังที่สนพ.อ้าง เพราะต้องคิดค่าความพร้อมจ่าย หลังผู้ใช้ไฟฟ้าเป้าหมายสมัครซื้อไฟฟ้าสีเขียวไม่มาก ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปต้องรับภาระ

ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนถูก ทางออกลดปล่อยคาร์บอน
เปิดรายงานวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทย ระบุต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ แนะแผน PDP2024 เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น พร้อมเสนอไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ ขณะที่ การใช้ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ไม่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และ ยังมีราคาแพงกว่าพลังงานหมุนเวียน

20 บาทตลอดสายทำได้จริง ต้องอุดหนุน 9.5 พันล้าน
รัฐบาลจะผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้จริงหรือไม่ คาดชดเชยรายได้เอกชน 9.5 พันล้าน และกทม.ขอชดเชยสายสีเขียว 8,000 ล้าน ขณะที่กรมรางฯมั่นใจ 20 บาทตลอดสายทำได้จริง หลังค่าโดยสาร 20 บาท ดันรายได้รถไฟฟ้าสีแดง- ม่วง เพิ่มขึ้น

ขยะผลิตไฟฟ้ายังเสี่ยง เหตุมีไม่เพียงพอ-ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดไฟฟ้าจากขยะจะมีความต้องการสูงขึ้น จากการส่งเสริมภาครัฐเพื่อจัดการขยะล้นเมือง แต่ก็คงไม่ยั่งยืน เพราะเชื้อเพลิงขยะอาจมีไม่พอป้อนโรงงานผลิตไฟฟ้า และกระบวนการผลิตพลังงานยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

รัฐบาลเดินหน้า “แลนด์บริดจ์” ใช้ผลศึกษาสภาฯผลักดันผ่านครม.
รัฐบาลเดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ ผ่านกลไกทางรัฐสภา หลัง ครม.มีมติรับทราบผลการศึกษาของกรรมาธิการฯ ซึ่งเป็นไปตามมติครม.เมื่อ 24 ก.ย. 67 เปิดทางให้ญัตติของสภาฯ เสนอผ่านครม. และถือเป็นมติครม. คาดว่าจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษฯ หรือ SEC ใน พ.ค.นี้

ซอฟต์พาวเวอร์ “อาหาร”ต้องมา รับโอกาสทองตลาดพรีเมียม
"อาหาร" เป็นหนึ่งในนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ที่รัฐบาลหวังจะผลักดันเป็นยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน แม้ที่ผ่านมา ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่จากการประเมินแนวโน้มธุรกิจอาหาร ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลาดกำลังเปิดกว้างสำหรับกลุ่มพรีเมียม รัฐบาลน่าจะเร่งผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม

ปรับเงื่อนไขภาษี หนุนรถไฮบริด หลังกระแสอีวีแผ่ว
กระแสตีกลับตลาดยานยนต์ เมื่อคนหันมาใช้รถไฮบริด หลังจากผู้บริโภคตื่นกระแสรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงก่อนหน้านี้ ไม่เพียงแต่ตลาดในไทย รถยนต์ไฮบริดกลับมาได้รับความนิยมหลายประเทศทั่วโลก เป็นตัวชี้ให้เห็น ว่าช่วยเปลี่ยนผ่านจากการใช้รถน้ำมันยังไม่ราบรื่น