
ชำแหละเป้าหมาย ผลลัพธ์ มาตรการแก้ฝุ่น PM2.5
ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่รุนแรงขึ้น ทำให้สังคมเริ่มตั้งคำถามถึงมาตรการแก้ปัญหาที่ผ่านมาว่ามาถูกทางหรือมีประสิทธิภาพเพียงพอกับการรับมือสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลงทุกวันหรือไม่ รวมทั้งควรจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขในจุดใดเพื่อทำให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

แก้วิกฤตฝุ่น ลงมือทำได้ ระหว่างรอ “พ.ร.บ.อากาศสะอาด”
ภาควิชาการ-ประชาสังคม ขอร่วมออกแบบแนวทางการแก้วิกฤตฝุ่น ประมวล “ความเห็น” ออกมาเป็น “ความรู้” พัฒนาข้อเสนอ ผนึกกำลังนักสื่อสารสร้างกลไกขับเคลื่อนข้อมูลสร้างความเข้าใจต่อสังคม พร้อมเสนอสร้าง “พื้นที่กลาง” ทบทวนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในช่วงที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง หวังตัดวงจรฝุ่น ก่อนกฎหมายมาถึง

สั่งห้ามเผา แก้ที่ผิว? ลดฝุ่นจิ๋วด้วยชีวิตจิ๋ว “จุลินทรีย์”
เกษตรกรกำลังถูกมองว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทั้งที่ความจริงสาเหตุของการเผาทางการเกษตรส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดจนไม่มีทางเลือก ภาคประชาสังคม ภาครัฐ และเกษตรกรกำลังหันมาสนใจหาทางออกมากขึ้น หนึ่งในแนวทางนั้นคือ "จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว"

แก้ฝุ่นข้ามแดนอาเซียน ไม่ต้องรอ พ.ร.บ.อากาศสะอาดฯ
เพราะ MOU อาเซียน เป็นเพียงข้อตกลง ที่ไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย สมมติเราได้รับหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ก็แจ้งไปที่เลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งกับประเทศที่ก่อกำเนิดฝุ่นให้ดำเนินการแก้ไข เมื่อ MOU เป็นแค่ข้อตกลงเขาจะไม่ทำก็ได้

เสือกระดาษ “ข้อตกลงอาเซียน” แก้ฝุ่นข้ามแดน
นายกรัฐมนตรี บอกปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นวาระอาเซียน แต่หากย้อนกลับไปในช่วง 30 ปี จะพบว่าการแก้ฝุ่นข้ามแดนของอาเซียนกลับไม่ประสบผลสำเร็จเลยสักครั้ง เพราะไม่มีสภาพบังคับต่อกัน และเมื่อเกิดการเผาจนฝุ่นฟุ้ง ไทยก็ทำได้เพียงเชิญเพื่อนบ้านมาปรึกษาหารือเท่านั้น

ฝุ่นจากภาคเกษตร: จัดการยังไง ให้ไม่ต้องเผา?
ถึงวันที่ข่าวฝุ่นกลับมาเต็มหน้าฟีด เป็นสัญญาณว่า ประเทศไทยกำลังกลับเข้าสู่ฤดูฝุ่น PM2.5 อีกครั้ง หลังจากปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศไทยและภูมิภาค ที่พยายามแก้ไขกันมาร่วมทศวรรษ เบาบางลงได้เพียงไม่กี่เดือน

20 ปีสึนามิ : ออกแบบนโยบาย รับภัยพิบัติยุคโลกเดือด
เหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบจัดการภัยพิบัติและเครือข่ายอาสาสมัครในไทย รวมถึงการจัดทำ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ผ่านเส้นทางยาวนานมาถึงวันนี้ ประเทศไทยยังคงตกอยู่ในวังวนและเผชิญความสูญเสียจากภัยพิบัติหลากรูปแบบที่รุนแรง ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

เหลื่อมล้ำทางภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องรอ “อนาฅต”
ความหลื่อมล้ำในสังคมไทยเกิดขึ้นในหลายมิติ แม้กระทั่งการเผชิญหน้าหรือการจัดการภัยพิบัติ ที่หลายครั้งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจที่ถูกปกป้องคุ้มครองมากกว่าพื้นที่การเกษตร รวมไปถึงในแง่งบประมาณ และองค์ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติที่ยังมีความแตกต่าง

โลกรวน เพิ่มความรุนแรงภัยพิบัติ : 4 เรื่องเร่งด่วนเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วประเทศได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล ทั้งยังเป็นคำเตือนให้ประเทศไทยเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในอนาคต