เป็นหนี้เร็ว เป็นหนี้นาน และเป็นหนี้ล้นพ้นตัว คือสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของคนไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ โดยไตรมาส 2 ของปี 2567 หนี้ครัวเรือนไทยทรงตัวอยู่ในระดับสูงถึง 89.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่คาดว่าจะไม่สร้างรายได้
นโยบายแก้หนี้ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น แต่ยังไม่ตอบโจทก์มากพอในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ปัญหาใหญ่มาจากรายได้ไม่เพียงพอ แม้มีมาตรการช่วเหลือ ลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ รัฐบาลควรดำเนินการระยะยาวและมีฐานข้อมูลเพียงพอ เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด
เครดิตบูโร กางข้อมูลหนุนมาตรการแก้หนี้ของรัฐบาล ระบุหนี้ครัวเรือนรวม 13.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 0.5% ขณะที่หนี้เสียพุ่งเป็น 1.2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 8.8% สินหนี้เสียจากสินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต ไม่ขยับ แต่หนี้เอสเอ็มอี (SMEs) พุ่ง 20%
มาตรการ "ลดภาระหนี้ของลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก" หรือ มาตรการกึ่งพักหนี้ สำหรับสินเชื่อบ้าน-รถยนต์-เอสเอ็มอี กำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับประเทศ ไม่ใช่ความเสี่ยงเรื่องเม็ดเงินที่ต้องเข้าไปใช้ในมาตรการ แต่เป็นความเสี่ยงจากการสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวหนี้ หรือ Moral Hazard ที่จะส่งผลกระทบระยะยาว
ลูกหนี้รายย่อยเฮ! สมาคมธนาคารจับมือภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับลูกหนี้รายย่อย สินเชื่อบ้าน รถยนต์ และเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่มีปัญหาชำระหนี้ หากร่วมมาตรการตามเงื่อนไขจะยกเว้นดอกเบี้ย
รัฐบาลอนุมัติมาตรการพักหนี้เกษตรกร ระยะที่ 2-3 ทำให้โครงการพักหนี้เกษตรกรผ่านธ.ก.ส. จะมีระยะเวลายาวนานถึงปลายปี 2570 ซึ่งเป็นช่วงที่ครบวาระรัฐบาล หากอยู่จนครบวาระ โดยใช้งบประมาณตั้งแต่โครงการระยะแรกกว่า 3 หมื่นล้านบาท