ThaiPBS Logo

การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล ได้เน้นย้ำนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างสมดุล เปิดประตูการค้าครั้งใหญ่ และยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งหวังเป็นผู้นำในอาเซียน หลังจากบทบาทของไทยลดน้อยลงไปในช่วงที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

เร่งเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด

10 มี.ค. 68 แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568 โดยกำหนดเป้าหมายในการเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2573 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มีการกำหนดให้ประเทศไทยบรรลุการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ แม้ OECD จะไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการเข้าเป็นสมาชิก OECD

กำหนดประเด็นการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก OECD 3 เรื่อง คือ

  1. การกำหนดแนวทาง วางแผน และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านนโยบายและแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD (Accession Roadmap) ของไทย
  2. การกำหนดนโยบายและแนวทางในการยกระดับความร่วมมือกับ OECD ในทุกมิติ โดยเฉพาะในมิติต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรฐาน OECD
  3. การกำหนดนโยบายและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับตราสารทางกฎหมายของ OECD

14 ก.พ. 68 รัฐบาลตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยดัชนี SDGs ปี ค.ศ. 2024 ไทยได้รับการจัดอันดับที่ 45 ของโลก  อันดับที่ 3 ในเอเชีย และอันดับที่ 1 ในอาเซียน ติดต่อกัน 6 ปี (ค.ศ. 2019 – 2024)

คำแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา เมื่อ 12 ก.ย. 67 ระบุว่า “รัฐบาลของดิฉันจะแปลงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะเสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและเกื้อกูลผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด ดังนี้

1. รัฐบำลจะรักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่ำงประเทศ(Non-Conflict) และจะดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานสากล โดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นแกนกลางสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน (Active Promoter of Peace and Common Prosperity) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดแรงงานทักษะสูง ผู้ประกอบการและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

2. รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบำยกำรทูต เศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญยกระดับมาตรฐานของประเทศ เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่รัฐบาลของดิฉันจะสานต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ไม่มีความต่างจากรัฐรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มีการกล่าวถึงนโยบายต่างประเทศสั้น ๆ ว่ารัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย

รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติรัฐบาลจะมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน อาทิ ความปลอดภัยทางถนน การลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุไทยขอเลื่อนเจรจาสหรัฐฯ เพราะสถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องหารือเพิ่มและให้มีความชัดเจนมากที่สุด ว่าสหรัฐฯ ต้องการอะไรเพิ่มเติมจากที่ไทยเสนอหรือไม่

    22 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า สหรัฐฯ เลื่อนเจรจากำแพงภาษีกับทีมไทยแลนด์ จากกำหนดการเดิมวันที่ 23 เม.ย. 68

    22 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า สหรัฐฯ นัดไทยวันที่ 23 เม.ย. เป็นการคุยกับระดับรัฐมนตรี โดยพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง จะไปพูดคุยก่อน  ดูเพิ่มเติม ›

    18 เม.ย. 2568

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เผยไทยได้เตรียม 5 แนวทางแก้ไข เพื่อรับมือกับนโยบายภาษีของสหรัฐฯ

    8 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ท่าทีไทยต่อนโยบายสหรัฐฯขึ้นภาษี 36% เล็งเพิ่มนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ขณะที่ รมว.คลัง เตรียมเดินทางไปหารือหลายภาคส่วนในสหรัฐฯ  ดูเพิ่มเติม ›

    6 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือ ดาโช เชริง โตบเกย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ภูฏาน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

    3 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ออกแถลงการณ์ "ท่าทีของประเทศไทยต่อนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา" หลังสหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยในอัตราสูงถึง 36% ระบุพร้อมเจรจาการค้า

    3 เม.ย. 2568

  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) และมาตรการภาษีศุลกากรแบบครอบจักรวาล (Universal Tarrifs) จะประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถูกเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น

    2 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เชิญสถาบันเอกชน กกร. หารือแนวทางรับมือผลกระทบจากนโยบายขึ้นภาษีของสหรัฐอเมริกา

    13 มี.ค. 2568

  • รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2573 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มีการกำหนดให้ประเทศไทยบรรลุการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ

    10 มี.ค. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างการเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 3-8 มี.ค. 68

    3 มี.ค. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุรัฐบาลตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ภายในปี ค.ศ. 2030

    14 ก.พ. 2568

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อร่างความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือเอฟตา (EFTA) โดยจะมีการลงนาม FTA ระหว่างการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส

    13 ม.ค. 2568

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

    16 ธ.ค. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคี นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 ประเด็นขยายเศรษฐกิจและนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2567

  • รัฐบาลคาดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-เปรู เสร็จภายในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันได้บรรลุความตกลงไปแล้ว 70%

    15 พ.ย. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุจะตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) เพื่อเจรจา MOU44 ไทย-กัมพูชา

    8 พ.ย. 2567

  • นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Summit) ครั้งที่ 8 และประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS)ครั้งที่ 10 ที่จีน

    6 พ.ย. 2567

  • มาธิอัส คอร์มันน์ เลขาธิการใหญ่ OECD เปิดตัว “กระบวนการเพื่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 (3rd Asia Cooperation Dialogue: ACD) ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่าง 2–4 ต.ค. 67

    3 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ย้ำสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดก่อน

    17 ก.ย. 2567

  • คณะมนตรีองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเชิญประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการเป็นสมาชิก

    17 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 ที่ฮ่องกง  ดูเพิ่มเติม ›

    29 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29   ดูเพิ่มเติม ›

    24 พ.ค. 2567

  • เมื่อ 17-21 พ.ค. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ

    17 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่าง 15 - 16 พ.ค. 2567 และเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่าง 17 - 21 พ.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    15 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯ ‘มาริษ เสงี่ยมพงษ์’ เป็นรมว.ต่างประเทศคนใหม่   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.การต่างประเทศ ยื่นหนังสือขอลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกปรับเหลือออกจากรองนายกฯ

    28 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ เชค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงร่วมกัน 5 ฉบับ   ดูเพิ่มเติม ›

    26 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลงานในการเดินทางเยือนต่างประเทศ ระบุใช้เวลากว่าจะเห็นผล ขอให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่าด้อยค่าประเทศไทย

    14 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง และ โอลาฟ ชอล์ซ นายกรัฐมนตรีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แถลงความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  ดูเพิ่มเติม ›

    13 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แถลงกระชับความสัมพันธ์ทุกมิติ  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ เยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-14 มี.ค. 2567

    7 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ ร่วมประชุมผู้น่าอาเซียน-ออสเตรเลีย (Plenary) ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 4-6 มี.ค. 2567

    4 มี.ค. 2567

  • ไทย-กัมพูชา ลงนามและแลกเปลี่ยน MoU 5 ฉบับ ยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์”   ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 3-4 ก.พ. 2567 เพื่อเจรจาการค้าและร่่วมนามความตกลงการค้าเสรี (FTA)  ดูเพิ่มเติม ›

    3 ก.พ. 2567

  • มอบนโยบาย “การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” ในการประชุมเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ และฝ่ายส่งเสริมการลงทุน   ดูเพิ่มเติม ›

    21 พ.ย. 2566

  • แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ระบุถึงนโยบายต่างประเทศจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตแบบ "สมดุล"

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สนับสนุนความเป็นหลายขั้วอำนาจ
การต่างประเทศของไทยได้รับการวางแผนเอาไว้ว่าจะต้องเป็นการทูตเพื่อประชาชนและเป็นการทูตเชิงรุก.

เชิงกระบวนการ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

เชิงการเมือง

บทบาทของประเทศไทย
รักษาความสัมพันธ์อันดีระดับทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับพหุภาคีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้สมาคมอาเซียน.

บทความ

ดูทั้งหมด
แนะรื้อกติกาลงทุนต่างชาติ สกัดใช้ไทยเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ

แนะรื้อกติกาลงทุนต่างชาติ สกัดใช้ไทยเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ

ประธานทีดีอาร์ไอ เสนอนโยบายแก้ปัญหาการค้าไทยกับสหรัฐฯระยะยาว แนะเลิกระบบโควตานำเข้าข้าวโพด-ถั่วเหลืองแบบยืดหยุ่น เข้มงวดคัดกรองบริษัทต่างชาติสวมสิทธิสินค้าไทยหวังเลี่ยงภาษีสหรัฐฯ รวมถึงลดอุปสรรคการค้าและการลงทุนตามรายงานของสหรัฐฯ

ค้านนำเข้า”สุกร-โคเนื้อ“แลกภาษีทรัมป์ กระทบเกษตรกรนับล้าน

ค้านนำเข้า”สุกร-โคเนื้อ“แลกภาษีทรัมป์ กระทบเกษตรกรนับล้าน

นโยบายภาษี”ทรัมป์” อาจส่งกระทบต่อ “ผู้เลี้ยงสุกร- โคเนื้อ” ทำให้โครงสร้างราคาหมูในประเทศเปลี่ยน กระทบทั้งห่วงโซ่ เกษตรกร โรงงานอาหารสัตว์ หากไทยยอมเปิดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกร และโคเนื้อจากสหรัฐ จนสร้างความเสียหาย

แค่เจรจาไม่พอ! ธปท.จี้รัฐบาลรับมือระยะยาวภาษีทรัมป์

แค่เจรจาไม่พอ! ธปท.จี้รัฐบาลรับมือระยะยาวภาษีทรัมป์

ธปท.คาดนโยบายภาษีทรัมป์ เปลี่ยนการค้าโลกครั้งใหญ่ ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 2.5% แต่อาจไม่รุนแรงเท่าวิกฤตโควิด-19 โดยกระทบหนักธุรกิจกลุ่มส่งออกไปสหรัฐฯ แนะไทยเร่งปรับตัวควบคู่กับการเจรจา พร้อมเสนอมาตรการรับมือระยะสั้น-ระยะยาว

สงครามการค้าเพิ่งเริ่มต้น ไทยมีเวลาเตรียมตัว 90 วัน

สงครามการค้าเพิ่งเริ่มต้น ไทยมีเวลาเตรียมตัว 90 วัน

ประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศเลื่อนภาษีตอบโต้ เปิดโต๊ะเจรา 90 วัน SCB EIC ประเมินลดผลกระทบไทยแค่ระยะสั้น แต่ไม่ช่วยรอดพ้นวิกฤตจากระบบการค้าโลกยุคใหม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วน คาดกระทบส่งออกไทย 8.1 แสนล้านบาท หากถูกตั้งภาษี 36%

บาทแข็งค่าเกินพื้นฐาน จับตาเงินไหลเข้า "ผิดปกติ-ตรวจไม่พบ"

บาทแข็งค่าเกินพื้นฐาน จับตาเงินไหลเข้า "ผิดปกติ-ตรวจไม่พบ"

เงินบาทไทยเคลื่อนไหวแปลก ๆ แข็งค่าสวนทางปัจจัยเศรษฐกิจ และต่างไปจากในอดีต แข็งค่ามากสุดในภูมิภาค สวนทางปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดลดลง ดอกเบี้ยสหรัฐฯขยับขึ้นและเงินไหลออก จับตาเงินไหลเข้าตรวจสอบไม่ได้

สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนระอุ เศรษฐกิจปั่นป่วนอีกนาน

สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนระอุ เศรษฐกิจปั่นป่วนอีกนาน

ยังไม่มีความชัดเจนว่าสงครามการค้าที่รุนแรงสุดในประวัติศาสตร์ครั้งนี้จะไปจบลงที่ตรงไหน หลังสหรัฐฯและจีนขึ้นภาษีตอบโต้กันไม่หยุด นักเศรษฐศาสตร์เชื่อเจ็บทั้งคู่ แนะไทยเตรียมรับมือสินค้าจากจีนทะลักเข้าประเทศ