ThaiPBS Logo

กระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของกลุ่มพีมูฟ เป็น 1 ใน 10 ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ยื่นต่อรัฐบาล 'เศรษฐา ทวีสิน' สอดรับกับการเคลื่อนไหวจากหลายภาคส่วนในสังคมที่เรียกร้องกระจายอำนาจมาตลอดนับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ข้อเสนอนโยบายปรากฏสู่สาธารณะ

วางแผน

ภาคการเมืองรับเรื่อง

ตัดสินใจ

ภาครัฐรับเรื่อง

ดำเนินงาน

ภาครัฐนำไปพิจารณาบรรจุในแผนเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณ

ประเมินผล

ดำเนินการ

อ่านเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  2540  มาตรา 78 กำหนดว่า รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

นับเป็นจุดเริ่มต้นการกระจายอำนาจที่สำคัญ  และเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเอง ตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นทั้งอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเอง 

ต่อยอดมาสู่แนวคิดการ “เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” ถูกนำเสนอต่อสังคมหลายครั้ง ตั้งแต่แนวคิดทฤษฎี มุมมองทางวิชาการ ข้อเสนอจากภาคประชาสังคม รวมถึงการยกตัวอย่างต่างประเทศ ฯลฯ หนึ่งในเหตุผลที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอ คือเพื่อแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจการบริหารประเทศไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้หลากหลายมิติมากขึ้น

แต่แทบทุกครั้งที่มีข้อเสนอให้ “เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” เพื่อเดินหน้าปฏิรูประบบราชการและสนับสนุนการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบ ข้อเสนอดังกล่าวมักถูกต่อต้านจาก “ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย” เป็นอย่างมาก

นอกจากการแสดงทรรศนะในระดับผู้บริหารของกระทรวงฯ ส่วนกลาง หลายครั้งยังมีความเคลื่อนไหวโดยกลุ่มข้าราชการในระดับภูมิภาค ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ

หนึ่งในเหตุผลที่มักถูกหยิบยกมาถกเถียงในเชิงวิชาการ คือ การที่ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ประชาชนไม่พร้อม รายได้แต่ละจังหวัดไม่เพียงพอต่อการจัดการงบประมาณและค่าใช้จ่าย รวมถึงความกังวลว่าจะมีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ เพราะเห็นตัวอย่างในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ

กระทั่งปี 2565 มีการเกิดขึ้นของแคมเปญ #เลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วประเทศ ความหวัง กระจายอำนาจสู่ต่างจังหวัด โดยกลุ่ม We’re All Voters  เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนผ่าน Change.org แต่ดูเหมือนว่ากระแสของสังคมยังไม่ได้ผลักให้ข้อเสนอนี้ถูกขยายผลไปสู่การรับรู้ของประชาชนในวงกว้าง หรือท่าทีตอบรับจากภาครัฐ มีเพียงการถูกยกระดับไปสู่การจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองหลายพรรค ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่แตกต่างกันที่รายละเอียด

ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง 2566 พรรคก้าวไกลชูนโยบายการกระจายอำนาจในการหาเสียง แต่สุดท้ายเมื่อไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลนโยบายนี้จึงไม่ถูกขานรับจากภาคการเมือง ในขณะที่  ‘เศรษฐา ทวีสิน’ จากพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศได้ประกาศนโยบาย ผู้ว่าฯ CEO เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

ต่อมา ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P Move ยื่นเรื่องข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล ด้านการกระจายอำนาจ ขอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพื่อปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ช่วงเลือกตั้ง นายก อบจ. 1 ก.พ. 2568  47 จังหวัด และ สมาชิก อบจ. 76 ทั่วประเทศ  หลายภาคส่วนเริ่มกลับมาเคลื่อนไหว ประเด็นการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นอีกครั้ง โดยหยิบยกเรื่องบทบาท อำนาจ หน้าที่ ตลอดจนการใช้งบประมาณของ อบจ. ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

 

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • เลือกตั้ง นายก อบจ. จุดกระแสการบริหารจัดการท้องถิ่น

    1 ก.พ. 2568

  • ครม. รับทราบข้อเสนอพีมูฟ 10 ด้าน

    10 ต.ค. 2566

  • พีมูฟชุมนุม พร้อมเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย 10 ด้าน หนึ่งในนั้นคือ "ขอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง"

    3 ต.ค. 2566

  • พรรคก้าวไกล เสนอนโยบาย เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ในการหาเสียงเลือกตั้ง 2566

    23 เม.ย. 2566

  • แคมเปญลงชื่อรณรงค์เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ โดยกลุ่ม We’re All Voters

    12 เม.ย. 2565

  • นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านยื่น สปช. ค้านเลือกตั้งพ่อเมือง เลิกอำนาจบริหารส่วนภูมิภาค อ้างสร้างความแตกแยก

    19 มิ.ย. 2558

  • เครือข่ายเชียงใหม่จัดการตนเอง จัดกิจกรรม “120 วัน ก้าวผ่าน 120 ปีของการรวมศูนย์อำนาจ” เผยแพร่ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ให้ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้ง

    24 มิ.ย. 2555

  • ชำนาญ จันทร์เรือง เปิดร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร ฉบับประชาชน ให้ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้ง

    1 ม.ค. 2554

  • รัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดว่า “รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง

    2540

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

กลุ่ม We’re All Voters
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.)
เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
สถาบันพระปกเกล้า

บทความ

ดูทั้งหมด
สตง. กับการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สตง. กับการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในช่วงเวลากว่าสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตกเป็นที่กล่าวถึงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากเหตุการณ์ตึกถล่มอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวเมื่อ 28 มี.ค. 68 ซึ่งนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของ สตง.

6 วาระเร่งด่วน พัฒนาเชียงใหม่ จากประชาชน

6 วาระเร่งด่วน พัฒนาเชียงใหม่ จากประชาชน

ชาวเชียงใหม่อยากเห็น ผู้บริหาร อบจ.ชุดใหม่ เดินหน้าร่วมพัฒนาจังหวัด เปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกขั้นตอน แก้ปัญหา คุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจ-ปัญหาฝุ่นควัน-การศึกษา-สิทธิการเดินทาง และการกระจายอำนาจ

สร้างกลไกต้านโกง พัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน

สร้างกลไกต้านโกง พัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน

ปล่อยให้การทุจริตกัดกินสังคมไทยมานานแค่ไหน ? ถึงเวลาแล้วที่ “หลังการเลือกตั้ง อบจ. 2568” จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ทุกคนร่วมมือกันสร้างกลไกตรวจสอบผู้นำท้องถิ่น เพื่อหยุดยั้งการคอร์รัปชัน และพลิกฟื้นบ้านเราให้กลับมาสดใสอีกครั้ง

วาดอนาคต “ภูเก็ต” โจทย์ใหญ่ ถึงว่าที่ นายก อบจ.

วาดอนาคต “ภูเก็ต” โจทย์ใหญ่ ถึงว่าที่ นายก อบจ.

แม้จะมีงบประมาณ อบจ.มากถึงปีละ 1,400 ล้านบาท แต่ “ห่านที่ออกไข่ทองคำให้ประเทศ” อย่างภูเก็ตก็มีราคาที่ต้องจ่าย จากการเป็นเมืองเศรษฐกิจและท่องเที่ยวสำคัญ

ปลดล็อกท้องถิ่น สู่ความคาดหวังของคนชลบุรี

ปลดล็อกท้องถิ่น สู่ความคาดหวังของคนชลบุรี

เป้าหมายของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ก็เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาของพื้นที่ได้ไวและตรงจุด ทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาจังหวัด แต่ที่ผ่านมางบประมาณ อบจ.ส่วนใหญ่ กลับถูกใช้ไปแบบตัดเสื้อโหล ไม่ตอบโจทย์ “การเติบโตของเมืองอย่างก้าวกระโดด” โดยเฉพาะกับจังหวัดชลบุรี

อบจ. ในกระแสการกระจายอำนาจ

อบจ. ในกระแสการกระจายอำนาจ

การเลือกตั้ง อบจ. ที่หลายคนพุ่งเป้าไปที่เกมการเมืองระหว่างผู้ลงสมัคร แต่การเลือกตั้ง อบจ. มีมากกว่านั้น เพราะเป็นเรื่องการกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น รวมถึงอำนาจการบริหารจัดการในพื้นที่ ที่นับเป็นความท้าทายที่สำคัญ