ธิติยา จารุไพบูลย์พันธ์
ชาวเชียงรายวาดภาพอนาคต จัดการภัยพิบัติยั่งยืน
คนเชียงรายปรับบทบาทจาก “ผู้ประสบภัย” เป็น “ผู้มีส่วนร่วมตัดสินใจเชิงนโยบาย” ระดมความเห็นทุกภาคส่วนจากทั้งผู้ประสบภัยพิบัติ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ สื่อ เอกชน และหน่วยงานรัฐ ผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายให้จังหวัดเชียงรายเป็นต้นแบบรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน พร้อมเสนอรัฐบาลให้การสนับสนุน
กม.สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว แต่เด็กยังถูกเลือกปฏิบัติ
มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่แนวปฏิบัติกลับยังไม่ชัดเจน ส่งผลกระทบไปถึงเด็กในรั้วโรงเรียน ทั้งที่ต้องได้รับการป้องกันมากกว่ากลุ่มอื่น ถึงเวลาที่ต้องเชื่อมโยงทุกภาคส่วน เร่งกันสร้างการยอมรับและความเข้าใจเรื่อง “เพศหลากหลาย” ไม่ให้ติดกรอบเดิม ๆ
รัฐเน้นส่งเสริม “โซลาร์” แต่ขาดกลไกสนับสนุน
ในยุคที่ “ราคาค่าไฟ” ผันผวน “พลังงานสะอาด” กลายเป็นทางเลือกที่คนไทยเริ่มให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ประหยัดและเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่จะทำให้ระบบไฟฟ้ายั่งยืน รวมถึงหน่วยงานราชการ ที่หันมาใช้พลังงานสีเขียวทดแทน รับลูกรัฐบาลที่มีมติในปี 2022 ให้หน่วยราชการลดใช้พลังงาน 20% เพื่อรับมือวิกฤติค่าไฟแพง
3 โจทย์ใหญ่จัดการภัยพิบัติเชียงราย
สถานการณ์น้ำท่วม และสึนามิโคลนที่เกิดขึ้นในเชียงราย สะท้อนถึงระบบการรับมือที่ยังไม่ดีพอ และการตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติใหญ่มานานนับสิบปี ทำให้การพัฒนาเติบโตของ “เชียงราย” ถูกบั่นทอน “รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” เสนอ 3 แนวทาง ทำให้เมืองปลอดภัย และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้มากขึ้น
เสนอปรับเพดานนโยบาย หนุนชุมชนเข้มแข็งจัดการภัยพิบัติ
ภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝนในเดือน พ.ย.นี้ สามเดือนนับจากนี้เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม การเตรียมความพร้อมรับมือจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ชุมชนจะต้องตอบ 3 คำถามให้ได้ หนีเมื่อไร? หนีอย่างไร? หนีไปไหน? และภาคีเครือข่ายต้องช่วยสร้างกลไกสนับสนุนให้พวกเขาเข้มแข็ง
‘ข้อมูล’ กุญแจสำคัญสู่นโยบายที่ดี
"ข้อมูล" เป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างนโยบายสาธารณะที่ตอบโจทย์ตรงจุด แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ต้องแก้ไข ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลไปจนถึงระดับปฏิบัติ วงเสวนาชวนระดมความคิด ร่วมกันหากลไกให้ทุกภาคส่วนแบ่งปันข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา พร้อมยกระดับการรักษาความปลอดภัย
1 ปีนโยบาย “ชีวาภิบาล” หลายปัญหาที่ต้องสะสางสู่สิทธิตายดี
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้
“ฟื้นฟูเชียงราย” เริ่มต้นใหม่ให้แข็งแรงกว่าเดิม
วิกฤตอุทกภัย และปริมาณดินโคลนจำนวนมหาศาลที่พัดพาความเสียหายมาสู่เชียงรายรอบล่าสุด สะท้อนถึงปัญหา “โลกรวน” ที่การจัดการในรูปแบบเดิมไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป วงเสวนาระดมความคิดเห็น สู่มิติใหม่ในการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน เสนอแผน 3 ระยะ พร้อมผลักดันให้มีกลไกร่วมระหว่างรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม
เปิดกลไกให้นโยบายดี ๆ ได้ไปต่อ แม้การเมืองเปลี่ยน
ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายนโยบายที่มีความหวังกลับ ถูกแปรรูป เปลี่ยนร่าง หรือหายไป สะท้อนถึงปัญหาบริบทสังคมไทย “การเมืองผูกกับนโยบาย” นำมาสู่ข้อเรียกร้องให้เกิด “นโยบายนำการเมือง” ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐต้องมีพันธะรับผิดชอบ ร่วมมือพัฒนาระบบติดตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ