เครือข่ายกลุ่มรักษ์พะโต๊ะ เปิดข้อมูลพื้นที่ก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้า บริเวณชายฝั่งทะเล ทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
พื้นที่ก่อสร้าง ‘ฝั่งอ่าวไทย ท่าเรือเเหลมริ่ว’ จ.ชุมพร
- สร้างเขื่อนกันคลื่น 1 ยาว 5,400 เมตร
- สร้างเขื่อนกันคลื่น 2 ยาว 685 เมตร
- งานขุดลอกรวมประมาณ 130.09 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ร่องน้ำเดินเรือยาว 9.7 กม.ความลึกของน้ำ 17 เมตร
- ถมทะเล ประมาณ 5,808 ไร่ เพื่อสร้างท่าเทียบเรือขนาด 4,788 ไร่ และพื้นที่อเนกประสงค์ประมาณ 1,020 ไร่
- หน้าท่าเทียบเรือสินค้ามีความยาวประมาณ 7,580 เมตร
พื้นที่ก่อสร้าง ‘ฝั่งทะเลอันดามัน แหลมอ่าวอ่าง’ จ.ระนอง
- สร้างเขื่อนกันคลื่น 1 ยาว 3,120 เมตร
- สร้างเขื่อนกันคลื่น 2 ยาว 340 เมตร
- สร้างเขื่อนกันคลื่น 3 ยาว 290 เมตร
- งานขุดลอกประมาณ 149.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ร่องน้ำเดินเรือยาว 11.5 กม. ความลึกของน้ำ 19 เมตร
- ถมทะเล ประมาณ 6,975 ไร่ เพื่อสร้าง ท่าเทียบเรือขนาด 5,633 ไร่ และพื้นที่อเนกประสงค์ประมาณ 1,342 ไร่
- หน้าท่าเทียบเรือสินค้ามีความยาวประมาณ 9,350 เมตร
แหล่งหินที่จะนำมาใช้ก่อสร้าง
- เขาวง บมจ. เหมืองนำชน อ.สวี จ.ชุมพร ปริมาณสำรอง 44.67 ล้านตัน
- เขาหอยโข่ง หมู่ 4 และหมู่ 7 ต.ขุนกระทิง อ.เมือง จ.ชุมพร มีปริมาณสำรอง 50 ล้านตัน
- เขาตะแคง หจก.เจริญผลการศิลา ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร ปริมาณสำรอง 34.62 ล้านตัน
- บจก. สมบูรณ์ศิลาทอง ต.นากระตาม อ.ท่าเเซะ จ.ชุมพร ปริมาณสำรอง 2.48 ล้านตัน
- เขาสันกำแพง ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ปริมาณสำรอง 30.23 ล้านตัน
อุทยานและป่าสงวนแห่งชาติ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
- ป่าพรุใหญ่ ป่าเลนคลองริ่ว อ.หลังสวน ชุมพร
- ป่าพะโต๊ะ ป่าปังหวาน และป่าปากทรง อ.หลังสวน ชุมพร
- ป่าเลนคลองม่วงกลวง บ้านบางเบน-บ้านอ่วเคย ต.ม่วงกลวง
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน บ้านห้วยปลิง และบ้านช้างแหก ต.ราชกรูด ระนอง
- ป่าคลองหินกอง และป่าม่วงกลวง บ้านคลองของ ต.ราชกรูด
- บ้านอ่าวเคย บ้านบางเบน ต.ม่วงกลวง ระนอง
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง และอุทยานแห่งชาติแหลมสน
- แรมซาไซต์ อุทยานแห่งชาติ แหลมสน-ปากน้ำกระบุรี-ปากคลอง กะเปอร์ ต.ราชกรูด ต.ม่วงกลวง ระนอง
- ป่าชายเลน พื้นที่เตรียมการมรดกโลก จ.ระนอง
พื้นที่ทะเลและชายฝั่ง ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
- ถมทะเล ชุมพร-ระนอง รวม 12,783 ไร่
- ขุดลอกร่องน้ำ รวมกว่า 270 ล้าน ลบ.ม.
- แนวปะการังเกาะพิทักษ์ เกาะคราม ชุมพรและเกาะพยาม ระนอง
- แหล่งหญ้าทะเล เกาะพยาม ระนอง
- ป่าชายเลนตาม มติ ครม. 2543 ต.บางน้ำจืด ชุมพร และ ต.ราชกรูด ต.ม่วงกลวง ระนอง
สำหรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดดขึ้นในพื้นที่ก่อสร้างโครงการ แบ่งเป็น
ท่าเรือน้ำลึกระนอง บริเวณแหลมอ่าวอ่าง
- อยู่ในพื้นที่ ต.ราชกรูด ต.เกาะพยาม อ.เมือง ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์
- มีชุมชนรอบพื้นที่ตั้งโครงการรัศมี 5 กม. 6 ชุมชน
- มีพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติฯ 2 แห่ง
- พื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่ง 2 แห่ง
- พื้นที่แรมซาร์ไซต์ พื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีป่าสงวนแห่งชาติ แหล่งปะการัง แหล่งปะการังเทียม แหล่งหญ้าทะเล
ท่าเรือแหลมริ่ว ใกล้เกาะพิทักษ์
- เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวของจังหวัด
- บริเวณ แหลมริ่ว มีปะการัง เป็นแหล่งขยายพันธุ์ปลา
- พะโต๊ะ เป็นแหล่งต้นน้ำ กระทบต่อพื้นที่เกษตร แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และสัตว์ป่า
กระทบวงกว้าง จากทรัพยากรถูกจำกัด
สำหรับ อ.พะโต๊ะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก 6,164 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 97.36 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นรอง 167 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 2.64 มีพื้นที่เกษตรรวม 11,9576.06 ไร่ ขณะเดียวกันในพื้นที่ใกล้เคียงโครงการแลนด์บริดจ์ ยังมีพื้นที่อุตสาหกรรม อีกด้วยเกิดเป็นความกังวลว่า ในอนาคตอาจมีการแย่งน้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรม กับภาคเกษตร และปัญหาของเสียจากนิคมจะตามมา เช่นเดียวกันกับพื้นที่ EEC
โดยเครือข่ายกลุ่มรักษ์พะโต๊ะ ได้เปิดเผยข้อมูลพื้นที่การเกษตรและอุตสาหกรรม ดังนี้
พื้นที่การเกษตร อ.พะโต๊ะ พื้นที่เกษตรรวม 11,9576.06 ไร่
- ปลูกทุเรียน 25153.26 ไร่
- มังคุด 8022.07 ไร่
- ยางพารา 37315.32 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน 49085.41 ไร่
พื้นที่อุตสาหกรรม
- ต.ราชกรูด 3,369 ไร่
- ต.พะโต๊ะ 18,740 ไร่
- ต.หลังสวน 47,800 ไร่
ขณะที่ จ.ระนอง มีปัญหาซับซ้อน พื้นที่ตำบลราชกรูดมีประมาณ 2,700 ครอบครัว 5,000 คน
- มีคนไทยพลัดถิ่น 60 ครอบครัว กว่า 200 คน
- ต.ราชกรูด มีชาวมอร์แกน 150 ครอบครัว กว่า 500 คน ใน 3 เกาะ เกาะช้าง เกาะเหลา เกาะพยาม
ที่มา : เครือข่ายกลุ่มรักษ์พะโต๊ะ