จดหมายเปิดผนึก ระบุว่า “พวกเราคือนักวิจัยที่ทำงานเกี่ยวกับความยั่งยืนด้านการประมงและสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทยและทั่วโลก ต้องการแสดงถึงความกังวลในช่วงเวลาวิกฤติที่รัฐบาลไทยกำลังพิจารณายกเลิกการปฏิรูปนโยบายประมงบางส่วนที่เริ่มใช้ในปี 2557 เพื่อตอบสนองต่อใบเหลืองของสหภาพยุโรปในเรื่องการทำการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และความกังวลระหว่างประเทศเกี่ยวกับ การละเมิดแรงงาน ในภาคการประมง การปฏิรูปเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล การทำประมง และแรงงานในการทำประมง”
ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีและพรรคการเมืองทั้งเจ็ดพรรคยื่นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดประมงฉบับใหม่รวมจำนวน 8 ฉบับ ร่างใหม่ทั้ง 8 ฉบับนี้ได้รับการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์จากรัฐสภาในระหว่างการพิจารณาครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 จากการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
สำนักงานมูลนิธิความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม (EFJ) พบว่าแนวโน้มของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกําหนดการประมงทั้ง 8 ฉบับ 17 มาตรา ซึ่งมาตราทั้ง 17 มาตราเหล่านี้จะทำลายความน่าเชื่อถือในมาตราการความโปร่งใส ความยั่งยืน และการคุ้มครองแรงงานที่ไทยได้รับในช่วงเวลาแปดปีที่ผ่านมา ความสำเร็จในครั้งนั้นทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำของโลกในการปฏิรูปนโยบายด้านแรงงาน การประมงอย่างยั่งยืน และความโปร่งใสในภาคการประมง
ข้อกังวลของเราสอดคล้องกับการวิเคราะห์นโยบายของ EJF และแถลงการณ์ร่วมของเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมที่ผ่านมา กลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกในฐานะนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาด้านความยั่งยืนทางประมง ธรรมาภิบาล และแรงงาน เพื่ออธิบายเหตุผลที่หากรัฐบาลไทยยังคงดำเนินการแก้กฏหมายอาจส่งผลให้การปฏิรูปภาคประมงไทยเดินถอยหลังและจะส่งผลกระทบด้านลบกับอุตสาหกรรมประมงของไทย
1) การยื่นร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดประมงฉบับใหม่ขัดแย้งกับการเคลื่อนไหวระดับโลกในการเพิ่มเกณฑ์ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน และทำให้ผู้ซื้ออาหารทะเลต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน นโยบาย ‘การตรวจสอบสถานะ’ หรือ due diligence policy เริ่มมีความสำคัญต่อตลาดนำเข้า ซึ่งอาจส่งผลให้ตลาดนำเข้าเหล่านี้อาจไม่กระตือรือร้นที่จะซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของไทย
ประเด็นที่น่ากังวลกลายเป็นนโยบายที่ตัวอย่างที่ชัดเจน ได้แก่: กฎหมายการตรวจสอบสถานะของสหภาพยุโรป; อเมริกาเหนือสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลที่ระบุว่าเกี่ยวข้องแรงงานบังคับ และการผ่านข้อตกลงในการห้ามผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนสู่ตลาดสหภาพยุโรป
2) ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการกับการทำประมง IUU ไม่เพียงแต่ภายในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย การแก้ไขข้อกฎหมายเหล่านี้จะลดความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของประเทศไทยในหมู่ผู้มีบทบาทระดับโลกระหว่างรัฐบาลในประเทศที่นำเข้าอาหารทะเลจากประเทศไทย และในกลุ่มบริษัทที่จัดหาอาหารทะเลจากประเทศไทย
3) มีหลักฐานว่าการจัดการประมงที่แข็งแกร่งขึ้นจะนำไปสู่การรักษาเสถียรภาพหรือการฟื้นตัวของการประมง หลังจากช่วงระยะเวลาหนึ่งของระบบนิเวศที่ตกต่ำเนื่องจากการทำประมงที่เกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าทั้งคนงานรับจ้างบนเรือประมงพาณิชย์และชาวประมงพื้นบ้านต่างได้รับประโยชน์จากการรักษาเสถียรภาพของระบบนิเวศ
สิ่งนี้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนชายฝั่งที่ได้รับความมั่นคงทางอาหารและรายได้จากการประมงพื้นบ้าน และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางอ้อม เนื่องจากคนงานเต็มใจที่จะจ้างงานด้านการประมงมากขึ้น หากการจับสัตว์น้ำที่ดีจะทำให้พวกเขามีงานและรายได้ที่เชื่อถือได้
4) องค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติและการสำรวจอื่นๆ ต่อประเด็นแรงงานในภาคประมงแสดงให้เห็นว่าแรงงานได้รับประโยชน์อย่างชัดเจนจากการปฏิรูปไปสู่ธรรมาภิบาลแรงงานในการประมง ค่าจ้างรายเดือนและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอทำให้การทำงานประมงมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะดึงดูดแรงงานให้หันมาทำงานประมงมากขึ้น ซึ่งหมายความว่านายจ้างไม่จำเป็นต้องหันไปใช้แนวปฏิบัติที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแรงงานบังคับ แท้จริงแล้วแนวทางที่ดีกว่าคือการเดินหน้าการปฏิรูปเหล่านี้ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในปัจจุบันตามที่กลุ่มประชาสังคมและนักวิจัยได้ระบุไว้ ซึ่งจะทำให้งานประมงมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับผู้มีโอกาสเป็นแรงงาน การแก้ไขข้อกฎหมายเหล่านี้อาจส่งผลให้เจ้าของเรือประมงบางรายหันไปใช้แนวทางปฏิบัติที่อาจตกอยู่ภายใต้ตัวชี้วัดของสหประชาชาติในเรื่องแรงงานบังคับ
ข้อเสนอแนะ:
ด้านนักวิจัยเข้าใจดีว่าการปฏิรูปประมงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อการแก้ใบเหลืองของสหภาพยุโรปและแรงกดดันอื่นๆ ดังนั้นการปฏิรูปประมงจึงไม่ได้ขอความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เราขอให้รัฐบาลพิจารณาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักทั้งหมดในกระบวนการปรับปรุงนโยบายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราเสนอแนะให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
1) เชิญกลุ่มภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน ให้มีส่วนร่วมในการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดใหม่ หากทางรัฐบาลมีการตัดสินใจดำเนินการแก้กฏหมาย
2) เสนอให้รัฐบาลบูรณาการผลงานการวิจัยด้านทรัพยากรทางทะเลและนิเวศวิทยา และการคุ้มครองแรงงานสำหรับคนงานประมงเป็นองค์ประกอบในการแก้กฏหมาย นอกจากนี้เรายังขอเสนอให้ รัฐบาลเชิญกลุ่มประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนของระบบนิเวศทางทะเล ตัวแทนขององค์กรแรงงานข้ามชาติ ภาคธุรกิจแปรรูปอาหารทะเล และชุมชนประมงพื้นบ้าน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558
อ่านเพิ่มเติม: EJF โต้สมาคมประมงฯ เตือนไทยเสี่ยงใบเหลือง