ThaiPBS Logo

ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

“นโยบายเร่งด่วนถัดมา คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที" - คำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 11 ก.ย. 2566

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ขยายเวลาลดค่าไฟฟ้าและน้ำมันเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2566

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

อัปเดท วันที่ 17 ก.ย. 2567

  • ครม. มีมติเห็นชอบขยายเวลาจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพอีก 2 ปี จนถึง 24 ก.ย. 2569 ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 น้ำมันดีเซล หมุนเร็วธรรมดา B10 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20 เพื่อรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ
  • ครม.เห็นชอบมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร,ราคาปลีกของก๊าซ LPG ในระดับ 423 บาท/ถัง 15 กก. และ ส่วนลดค่าไฟ 19.05 สต./หน่วย สำหรับกลุ่มใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน โดยใช้กองทุนน้ำมันชื้อเพลิง หากไม่พอพร้อมใช้งบกลาง
  • 1 มี.ค. 2567 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ร่วมกับดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี และดร.คุรุจิต นาครทรรพ แถลงข่าวเรื่องการทำหนังสือเปิดผนึกเกี่ยวกับความเสียหายของนโยบายพลังงานที่เป็นมาและกำลังจะเกิดขึ้น โดยกองทุนน้ำมันติดลบเพิ่มขึ้นเกือบ 90,000 ล้านบาท โดยส่งหนังสือให้นายกรัฐมนตรีแล้ว

การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนในรัฐบาลชุดนี้ ภายใต้นโยบาย “ลดราคา น้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส ทันที” ของพรรคเพื่อไทยในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง

นโยบายดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงตั้งแต่ช่วงหาเสียง ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อพรรคเพื่อไทยได้กลายมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล การแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา รวมถึงอยู่ในการประชุมครม. นัดแรก ซึ่งมีมติเห็นชอบให้ลดค่าไฟฟ้าและลดค่าน้ำมันดีเซลลง ก่อนที่จะตามมาด้วยการลดค่าน้ำมันดีเซลลงตาม

การปรับลดปัจจุบัน และผลกระทบ

ค่าไฟ

  • ค่าไฟ 4.18 บาท/หน่วย (มีผลช่วงเดือนม.ค – เม.ย. 2567)
    • กฟผ.รับภาระหนี้ราว 15,000 ล้านบาท
  • ค่าไฟ 3.99 บาท/หน่วย สำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน
    • ใช้เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจากคณะรัฐมนตรี วงเงินรวม 1,950 ล้านบาท
  • มาตรการเดิมคือ ลดค่าไฟเหลือ 3.99 บาท/หน่วย จากเดิม 4.45 บาท/หน่วย (มีผลช่วงเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566)
    • การปรับลดค่าไฟมาจากการยืดหนี้หรือภาระต้นทุนจากการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ออกไป โดยทาง ปตท. เปิดเผยในวันที่ 10 ต.ค. 2566 ว่าได้เลื่อนการรับชำระค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กฟผ. ในงวดนี้ออกไป ด้วยวงเงินประมาณ 8,000 – 9,000 ล้านบาท ซึ่งกฟผ. จะมาชำระในงวดถัดไป โดยอาจมีภาระเพิ่มจากต้นทุนการเงินบ้างแต่เป็นวงเงินที่ไม่มาก

ค่าน้ำมัน

  • ลดราคาดีเซลลง 2 บาท/ลิตร เหลือ 29.94 บาท/ลิตร โดยใช้กลไกลดภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (มีผลช่วง 20 ก.ย. – 31 ธ.ค. 2566) 
  • ลดน้ำมันเบนซินทุกประเภทลง 1 บาท/ลิตร โดยใช้กลไกลดภาษีสรรพสามิต (มีผล 7 พ.ย. 2566 ระยะเวลา 3 เดือน)
    • กรณีการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินกลุ่มแก๊สโซฮอล์ 91 จะลดราคาลงให้ได้อีก 1.50 บาท/ลิตร โดยใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงร่วม รวมราคาน้ำมันเบนซินกลุ่มแก๊สโซฮอล์ 91 จะลดลง 2.50 บาท/ลิตร 
    • กฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง กล่าวว่า “การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินลง เบื้องต้นจะทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท”
  • คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาท/ถัง 15 กิโลกรัม (มีผลช่วง 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. 2566)
    • การปรับลดน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ 91 และการตรึงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ภาระตกอยู่ที่กองทุน โดยวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า ได้มีการคาดการณ์ว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อสิ้นปี 2566 จะมีสถานะติดลบประมาณ -90,000 ถึง -100,000 ล้านบาท

 

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • กบง.มีมติปรับส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซล ไม่ต่ำกว่า 5% และไม่เกิน 7% ในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มแพง เพื่อป้องกันราคาดีเซลพุ่ง เริ่ม 21 พ.ย.67 เป็นต้นไป

    7 พ.ย. 2567

  • กบง.สั่งตรึงราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ 423 บาทต่อถังขนาด 15 กิโลกรัม อีก 3 เดือน จนถึง 31 ธ.ค.2567

    25 ก.ย. 2567

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบขยายเวลาจ่ายเงินชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพอีก 2 ปี จนถึง 24 ก.ย. 2569 เพื่อรักษาระดับค่าการตลาดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภ  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.ย. 2567

  • ครม. เห็นชอบตรึงค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค. 67 อยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย พร้อมคงราคาดีเซล 33 บาท/ลิตร จนถึง 31 ต.ค.67  ดูเพิ่มเติม ›

    23 ก.ค. 2567

  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับฟังความเห็น ค่าไฟ (เอฟที) งวด ก.ย. - ธ.ค. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาท/หน่วย จากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย  ดูเพิ่มเติม ›

    12 ก.ค. 2567

  • ครม.เห็นชอบมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 33 บาท/ลิตร,ราคาปลีกของก๊าซ LPG ในระดับ 423 บาท/ถัง 15 กก. และ ส่วนลดค่าไฟ 19.05 สต./หน่วย สำหรับกลุ่มใช้ไฟไม่เกิน 300 หน่วย

    7 พ.ค. 2567

  • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติปรับขึ้นราคาดีเซลอีก 50 สต.ไปพลางก่อน เริ่ม 20 เม.ย. 67 ย้ำอาจจำเป็นต้องทยอยปรับขึ้นราคาเป็นแบบขั้นบันได เนื่องจากกองทุนฯ มีหนี้คงค้างค่อนข้างสูง

    19 เม.ย. 2567

  • คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) พร้อมตรึงราคาน้ำมันดีเซลต่อ โดยจะพิจารณาอัตราการอุดหนุนหรือลดการชดเชยให้เป็นไปตามช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะสม ล่าสุดกองทุนฯติดลบ 1.03 แสนล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    18 เม.ย. 2567

  • กระทรวงพลังงาน ประชุมหารือมาตรการรองรับภายหลังจากมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานด้วยการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร ครบกำหนด

    2 เม.ย. 2567

  • ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ,ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี และ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ แถลงข่าวทำหนังสือเปิดผนึกถึงนายกฯเกี่ยวกับความเสียหายของนโยบายอุดหนุนราคาพลังงาน

    1 มี.ค. 2567

  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบเก็บค่า Ft งวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 ที่ 39.72 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฐานเป็น 4.18 บาท/หน่วย

    10 ม.ค. 2567

  • พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และรมว.พลังงาน เตรียมเสนอลดค่าไฟต่ำกว่า 4.20 บาทต่อหน่วย ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567

    2 ม.ค. 2567

  • รมว.พลังงาน เตรียมเสนอครม.ตรึงค่าไฟฟ้า 3.99 บาท/หน่วย ผู้ใช้ไม่เกิน 300 ยูนิต/เดือน ก๊าซหุงต้ม 423 บาท/ถัง15กก.

    8 ธ.ค. 2566

  • นายกฯ ระบุการปรับขึ้นค่าไฟงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 ลงไปถึง 3.99 บาท/หน่วย คงลำบาก

    7 ธ.ค. 2566

  • นายกฯ ระบุรับไม่ได้ กรณีกกพ. ปรับค่าไฟงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 อยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย

    30 พ.ย. 2566

  • คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติเห็นชอบให้ปรับค่า Ft ขายปลีก ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาท/หน่วย เรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567

    29 พ.ย. 2566

  • กลุ่มรถโดยสารร่วมบริการสาธารณะ ยื่นหนังสือถึงรมว.พลังงาน เรียกร้องลดราคาก๊าซ NGV เหลือ 12.74 บาท/กก. และขยายเวลาการใช้บัตรส่วนลดเพิ่มเติมอีก 2 ปี หลังผู้โดยสารลดลง แต่เผชิญราคาก๊าซสูงขึ้น

    2 พ.ย. 2566

  • ครม. เห็นชอบการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินลง 1 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 2566

    31 ต.ค. 2566

  • ครม. เห็นชอบปรับราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 2.50 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน

    24 ต.ค. 2566

  • ปตท. เลื่อนการรับชำระค่าเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ กฟผ. ในงวดนี้ไปก่อน เป็นวงเงินประมาณ 8,000 – 9,000 ล้านบาท

    10 ต.ค. 2566

  • สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) คาดการณ์ว่ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อสิ้นปี 2566 จะมีสถานะติดลบประมาณ -90,000 ถึง -100,000 ล้านบาท จากการอุดหนุนราคาขายปลีกดีเซล

    4 ต.ค. 2566

  • ครม. มีมติลดค่าไฟอีกครั้ง เหลือ 3.99 บาท/หน่วย มีผลเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2566

    18 ก.ย. 2566

  • คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เห็นชอบมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ตามมติครม. ให้คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัมต่อไปอีก 3 เดือน มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. - 31 ธ.ค. 2566

    14 ก.ย. 2566

  • ครม. มีมติให้ปรับลดราคาดีเซลลง 2.50 บาท/ลิตร (ราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร) มีผลในวันที่ 20 ก.ย. - 31 ธ.ค. 2566 และมีการปรับลดค่าไฟฟ้าเหลือ 4.10 บาทต่อหน่วย (จากเดิม 4.45 บาท) เริ่มในรอบบิล ก.ย. 2566

    13 ก.ย. 2566

  • นายกฯ แถลงต่อรัฐสภา โดยมีการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วน

    11 ก.ย. 2566

  • นโยบายหาเสียงพรรคเพื่อไทย ลดราคา น้ำมัน ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ซึ่งสามารถทำได้ทันทีเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล โดยเข้าไปปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างราคาพลังงาน

    13 ธ.ค. 2565

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ลดค่าครองชีพประชาชน
ลดค่าน้ำค่าไฟ และน้ำมันเชื้อเพลิง ในระยะสั้น 3 เดือน

เชิงกระบวนการ

ผ่านกลไกลรัฐ
ผ่านหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลด้านสาธารณูปโภค แต่มีผู้ไม่เห็นด้วย เพราะจะทำให้คนไทยไม่ประหยัด

เชิงการเมือง

ตามนโยบายที่หาเสียง
มีการกำหนดเวลาการลดค่าไฟฟ้า น้ำ และเชื้อเพลิง ในขณะที่นโยบายที่หาเสียงไม่ได้ระบุเรื่องกรอบเวลา

บทความ

ดูทั้งหมด
รัฐเน้นส่งเสริม "โซลาร์" แต่ขาดกลไกสนับสนุน

รัฐเน้นส่งเสริม "โซลาร์" แต่ขาดกลไกสนับสนุน

ในยุคที่ “ราคาค่าไฟ” ผันผวน “พลังงานสะอาด” กลายเป็นทางเลือกที่คนไทยเริ่มให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ประหยัดและเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่จะทำให้ระบบไฟฟ้ายั่งยืน รวมถึงหน่วยงานราชการ ที่หันมาใช้พลังงานสีเขียวทดแทน รับลูกรัฐบาลที่มีมติในปี 2022 ให้หน่วยราชการลดใช้พลังงาน 20% เพื่อรับมือวิกฤติค่าไฟแพง

พลังงานสะอาดสำคัญอย่างไร ในวันที่ค่าไฟแพง

พลังงานสะอาดสำคัญอย่างไร ในวันที่ค่าไฟแพง

“ราคาค่าไฟ” ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาพุ่งขึ้นแตะ 5 บาท/หน่วย ชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งแก้ไข ขณะที่พลังงานสะอาด ถูกพูดถึงมานานนับสิบปี แต่การพัฒนาเชิงระบบยังไม่เดินหน้า นำมาสู่ข้อเสนอ “ปลดล็อกนโยบายพลังงานสะอาด สร้างโอกาสประเทศ” เร่งปรับร่าง PDP 2024

แนะเลิกเก็บภาษีน้ำมันซ้ำซ้อน ลดภาระหนี้กองทุนน้ำมัน

แนะเลิกเก็บภาษีน้ำมันซ้ำซ้อน ลดภาระหนี้กองทุนน้ำมัน

รัฐบาลเตรียมร่างกฎหมาย พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฉบับใหม่ เพื่อให้มีอำนาจครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งกำลังเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย นักวิชาการทีดีอาร์ไอ แนะใช้กองทุนฯลดความผันผวนน้ำมัน อย่าใช้เพียงเอาใจประชาชน แก้โครงสร้างเก็บภาษีน้ำมันที่ซ้ำซ้อน และเลิกอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์ ควบคุมโรงกลั่นขายน้ำมันถูกในประเทศ