ThaiPBS Logo

ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)

รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ เพื่อพัฒนาแรงงานทักษะสูง สร้างงานและรายได้ ขยายอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมการส่งออก และผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านซอฟต์พาวเวอร์

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

อนุมัติกรอบงบประมาณ 5,164 ล้านบาท แต่นายกฯ พร้อมทบทวนใหม่ หากสูงเกินไป

ตัดสินใจ

คกก.พัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ประชุมวันที่ 4 ม.ค. ครั้งแรกของปี 2567 เตรียมพิจารณาแก้ไขกฎหมายและออกกฎหมายใหม่เพื่อสนับสนุน

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

มีการจัดทำแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทย ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ หรือ One Family One Soft Power (OFOS) และ Thailand Creative Content Agency (THACCA) ที่มีอำนาจและงบประมาณเพื่อสร้างอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์ไทยให้เติบโตอย่างเป็นระบบ

รัฐบาลมองว่าซอฟต์พาวเวอร์เป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยในเวทีระดับสากล

ขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 การพัฒนาคนผ่านกระบวนการส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพ 

  • เฟ้นหาคน 20 ล้านคน (จาก 20 ล้านครัวเรือน) แจ้งลงทะเบียนกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อบ่มเพาะผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ขั้นที่ 2 การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์สาขาต่าง ๆ ภายในประเทศ ทั้งหมด 11 สาขา 

  • ประกอบด้วย อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบ และแฟชั่น โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กร THACCA ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นในอนาคต 
  • ดำเนินการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย
  • สร้าง One Stop Service อำนวยความสะดวกในการดำเนินการ 
  • สนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนา การสร้างแรงจูงใจด้านภาษี การทลายกรอบบรรทัดฐานเดิม เปิดพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้น 
  • จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบหรือ TCDC ในทุกจังหวัด มีการเพิ่มพื้นที่สำหรับ Co-Working Space ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร 

ขั้นที่ 3 การนำอุตสาหกรรมชอฟต์พาวเวอร์รุกสู่เวทีโลก 

  • เดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศสู่ระดับสากลด้วยการทูตเชิงวัฒนธรรม 
  • หน่วยงานรัฐร่วมมือกับภาคเอกชนนำซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเผยแพร่สู่ตลาดโลก

เป้าหมายในระยะสั้นและระยะกลาง 

จากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 3 ต.ค. 2566

ภายใน 100 วัน (ภายใน 11 ม.ค. 2567) 

  • กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเองจะพร้อมให้ประชาชนลงทะเบียนแสดงความสนใจเข้ารับการบ่มเพาะ 
  • ปรับปรุงศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ 
  • ปรับเปลี่ยนกฎหมายบางส่วนในระดับกฎกระทรวงหรือพระราชกฤษฎีกา ให้ส่งเสริมและสอดรับการดำเนินงานตามนโยบาย 
  • ร่วมจัด Winter Festival เทศกาลฤดูหนาวกับทางกรุงเทพมหานคร

ภายใน 6 เดือน (ภายใน 3 เม.ย. 2567) 

  • เริ่มต้นกระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคนผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ 
  • เสนอร่างพระราชบัญญัติ THACCA เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
  • จัดงานเทศกาลสงกรานต์ทั้งประเทศให้เป็นเทศกาลระดับโลก หรือ World Water Festival และจัดงานซอฟต์พาวเวอร์ฟอรัมนานาชาติ เพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ของคนในวงการซอฟต์พาวเวอร์

ภายใน 1 ปี (ภายใน 3 ต.ค. 2567) 

  • กระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคน จะสามารถสร้างแรงงานทักษะสูงและแรงงานสร้างสรรค์ ได้จำนวนอย่างน้อย 1 ล้านคน 
  • คาดว่าร่างพระราชบัญญัติ THACCA จะได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป 
  • ส่งเสริมการจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติและเทศกาลดนตรีนานาชาติ สนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในสาขาต่าง ๆ ไปร่วมงานในระดับโลก

อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทย 11 ด้าน

งบประมาณรวม 5,164 ล้านบาท ได้แก่

  • อุตสาหกรรมเฟสติวัล (ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล การสื่อสาร และยกระดับงานเทศกาลชั้นนำของประเทศ สู่ความเป็น World Class Event พร้อมกับทำให้ธุรกิจทั้งระบบมีความเข็มแข็ง มุ่งสู่การดึงเทศกาลระดับโลกมาจัดในประเทศไทยจำนวนมากขึ้น เน้นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น) ใช้งบ 1,009 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (ผ่านนโยบายเร่งผลักดันการท่องเที่ยวศักยภาพสูง ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  การท่องเที่ยวทางน้ำ และธุรกิจสร้างสรรค์งานจัดประชุม ให้ธุรกิจท่องเที่ยวเข้าถึงแหล่งทุนและประกันความเสี่ยงกรณีเกิดวิกฤต ทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรค ขยายสนามบินสุวรรณภูมิให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 100 ล้านคนต่อปี และเร่งลงทุนในระบบขนส่ง ถนน ราง เรือ) ใช้งบ 711 ล้านบาท
  • สาขาอาหาร (ผ่านนโยบายสร้างเครือข่ายร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เพิ่มการส่งออกและวัตถุดิบจากไทย ให้ทุนและเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธุรกิจอาหารและร้านอาหารไทยทั้งในและต่างประเทศ ปลดล็อกสุราชุมชนจากสินค้าเกษตรไทย ขยายพื้นที่และยกระดับมาตรฐานความสะอาดของ Street Food) ใช้งบ 1,000 ล้านบาท
  • สาขาศิลปะไทย (ผ่านนโยบายปรับปรุงกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย แก้กฎหมายและระเบียบที่เป็นอุปสรรค ลดภาษีอุปกรณ์ศิลปะให้เหลือร้อยละศูนย์ แจกคูปองท่องฝันให้แก่เยาวชนเพื่อศึกษาดูงานสร้างสรรค์ และขับเคลื่อน 1 ตำบล 1 ลานสร้างสรรค์) ใช้งบ 380 ล้านบาท
  • สาขาออกแบบ (ผ่านนโยบายสร้างศูนย์สร้างสรรค์และออกแบบ (TCDC) ให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศเพื่อพัฒนาการออกแบบและบ่มเพาะนักออกแบบรุ่นใหม่ สนับสนุนภาคเอกชนในการส่งออกผลงาน สินค้าออกแบบและจัดแสดงงานในต่างประเทศ) ใช้งบ 310 ล้านบาท
  • สาขากีฬา (ผ่านนโยบายยกระดับมวยไทยและบอลไทยไปเวทีโลก ดึงดูดการแข่งขันและการจัดประชุมเสวนากีฬาระดับโลกในประเทศไทย ยกระดับสวัสดิการนักกีฬาอาชีพและขยายสู่นักกีฬาสมัครเล่น สร้างความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจที่มีกำไรและหน่วยงานรัฐ-เอกชนมาสนับสนุนสมาคมกีฬา และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กองทุนสามารถสนับสนุนนักกีฬาไทยไปแข่งขันในเวทีต่างประเทศ) ใช้งบ 500 ล้านบาท
  • สาขาดนตรี (ผ่านนโยบายอำนวยความสะดวกแบบเบ็ดเสร็จให้ผู้ประกอบการลดต้นทุนแฝงของผู้ประกอบการ ปลดล็อกธุรกิจสุราให้เป็นสปอนเซอร์ธุรกิจดนตรีได้ ปลดล็อกช่วงเวลาซื้อขายแอลกอฮอล์ ปลดล็อกช่วงเปิดปิดธุรกิจกลางคืน เปิดพื้นที่สาธารณะในการแสดงดนตรี และสนับสนุนดนตรีอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมทั้งดนตรีไทยเดิมและดนตรีร่วมสมัย) ใช้งบ 144 ล้านบาท
  • สาขาหนังสือ (ผ่านนโยบายลดภาษีมูลค่าเพิ่มกระดาษให้เหลือร้อยละศูนย์เพื่อลดต้นทุนในการพิมพ์ ไม่ปิดกั้นเสรีภาพของผู้เขียน พัฒนาห้องสมุดและขยายห้องสมุดให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จัดตั้งกองทุนพัฒนาหนังสือ สนับสนุนทุนในการแปลหนังสือไทยเป็นภาษาต่างประเทศ และส่งออกหนังสือไทยสู่ตลาดหนังสือโลก) ใช้งบ 69 ล้านบาท
  • สาขาภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ (ผ่านนโยบายจัดตั้งกองทุนสนับสนุนผู้ผลิตภาพยนตร์ที่ครอบคลุมทั้งภาพยนตร์กระแสหลักและภาพยนตร์อิสระ จัดหาแหล่งเงินทุนหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ทบทวนมาตรการเซนเซอร์เนื้อหา จัดตั้งสหภาพคนทำงานภาพยนตร์ สนับสนุนด้วยการเช่าโรงภาพยนตร์ของเอกชนเพื่อฉายภาพยนตร์ไทย-ภาพยนตร์ท้องถิ่น และขยายตลาดภาพยนตร์ไทยไปสู่เทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก ) ใช้งบ 545 ล้านบาท
  • สาขาแฟชั่น (ผ่านนโยบายพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ และส่งเสริมการแสดงสินค้าในต่างประเทศ) ใช้งบ 268 ล้านบาท
  • สาขาเกมพัฒนาหลักสูตร (ผ่านนโยบายพัฒนาหลักสูตร ส่งเสริมผู้ประกอบการ จัดตั้งกองทุน และสร้างสนามกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทย) ใช้งบ 374 ล้านบาท

 

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • กทม.เสนอคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ฯเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดจตุจักร และบริเวณพื้นที่โดยรอบ ผลักดันสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของไทย

    31 ต.ค. 2567

  • สำนักงานก.ล.ต.ปรับเกณฑ์การอนุญาตเสนอขายโทเคนดิจิทัลแบบกลุ่ม และปรับสัดส่วน-มูลค่าการเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อย เพื่อรับการระดมทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์(soft power) มีผลตั้งแต่ 16 ก.ย.2567

    18 ก.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดงาน THACCA SPLASH - Soft Power Forum 2024 ที่ศูนย์การประชมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นการคิกออฟอย่างเป็นทางการของนโยบายซอฟต์พาวเวอร์   ดูเพิ่มเติม ›

    28 มิ.ย. 2567

  • สำนักงานป.ย.ป. จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS Workshop) เตรียมขับเคลื่อนนโยบาย  ดูเพิ่มเติม ›

    21 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธานประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 สั่งเตรียมรองรับ  ดูเพิ่มเติม ›

    22 เม.ย. 2567

  • คณะอนุกรรมการฯ ซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่น ลาออกยกทีม ระบุเกินความสามารถจัดการเวลา  ดูเพิ่มเติม ›

    31 ม.ค. 2567

  • คกก.พัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ พิจารณากฎหมายในประเด็นภาพยนตร์ที่ห้ามฉายในประเทศ การจัดตั้ง One Stop Service ของสาขาภายใต้ซอฟต์พาวเวอร์ และความคืบหน้าของ พ.ร.บ. THACCA

    4 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุพร้อมทบทวนงบ 5,164 ล้านบาท หากเห็นว่าสูงไป แต่ยันมาถูกทาง

    4 ธ.ค. 2566

  • คกก.พัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เห็นชอบกรอบงบประมาณ 5,164 ล้านบาท ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทย 11 ด้าน

    30 พ.ย. 2566

  • ตั้งคณะอนุกรรมการ 11 สาขา ตั้งเป้าแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและจัดทำร่าง พ.ร.บ. THACCA

    25 ต.ค. 2566

  • ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

    3 ต.ค. 2566

  • คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 29 คน

    13 ก.ย. 2566

  • แพทองธาร ชินวัตร เปิดตัวนโยบาย 1 ครอบครัว 1 Soft Power ครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม

    10 ก.ย. 2565

  • เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วธ. กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมจะเน้นไปที่นโยบายซอฟต์พาวเวอร์เพื่อแก้จนให้ประชาชน

    5 ก.ย. 2566

  • เพื่อไทย ประกาศ นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง

    2566

  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ชูจุดขายเรื่องซอฟต์พาว ผ่าน 5F คือ Food Fashion Fight Festival และ Film   ดูเพิ่มเติม ›

    2566

  • หลังกระแส ‘ข้าวเหนียวมะม่วง’ รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ประกาศสนับสนุน Soft Power ทั้งอาหาร ธรรมชาติและสุขภาพ   ดูเพิ่มเติม ›

    19 เม.ย. 2565

  • จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) แยกมาจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)

    2561

  • ดร.โจเซฟ เนย์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เริ่มใช้คำว่า Soft Power ในหนังสือ Bound to Lead: The Changing Nature of American Power ที่ จากนั้นคำนี้ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

    2533

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ยกระดับทักษะคนไทย 20 ล้านคน
สู่การเป็นแรงงานทักษะขั้นสูงและแรงงานสร้างสรรค์
สร้างรายได้อย่างน้อย 4 ล้านล้านบาทต่อปี
สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง
เศรษฐกิจ เติบโตอย่าง ยั่งยืน
ผู้นำด้าน ชอฟต์พาวเวอร์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านชอฟต์พาวเวอร์ของโลก

เชิงการเมือง


บทความ

ดูทั้งหมด
ดันซอฟท์พาวเวอร์อาหารไทย กลยุทธ์ต้องชัด ระบบนิเวศต้องมี

ดันซอฟท์พาวเวอร์อาหารไทย กลยุทธ์ต้องชัด ระบบนิเวศต้องมี

อาหารไทย ถือเป็นหนึ่งใน Soft power และอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการขับเคลื่อนการเติบโตให้เศรษฐกิจไทย แต่ต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนและสร้างระบบนิเวศอย่างครบวงจร

ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทางรอดอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทย ทางรอดอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยเข้าสู่ขาลงเร็วมาก แนะภาครัฐและเอกชนเร่งปรับตัวหาตลาดที่เหมาะสม ลดต้นทุนการผลิต มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อกีดกันการแข่งขันด้านราคาจากผู้ประกอบการต่างชาติ

ซอฟต์พาวเวอร์ "ต้องใช้เวลา" ส่องต้นแบบจากต่างแดน

ซอฟต์พาวเวอร์ "ต้องใช้เวลา" ส่องต้นแบบจากต่างแดน

ซอฟต์พาวเวอร์ ต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ผ่านนโยบายและยุทธศาสตร์ระยะยาว ไทยควรเรียนรู้แนวคิดและเคล็ดลับจากประเทศต้นแบบอย่าง สหรัฐฯ เกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อย่นเวลาสร้างซอฟต์พาวเวอร์ให้สำเร็จเร็วขึ้น