ThaiPBS Logo

สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งชิ้นส่วนต่างๆ (EV Hub) ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคและของโลก

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

ครม.อนุมัติมาตรการสนับสนุนระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค. และยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 2567

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ล่าสุด (19 ธ.ค. 2566)

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) ในช่วงเวลา 4 ปี (ปี 2567 – 2570) บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2567
  • รถอีวีราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท ได้รับการอุดหนุนสูงสุด 100,000 บาทในปีแรก

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก และในปัจจุบันแนวโน้มความต้องการยานยนต์ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนทิศทางไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและราคาต่ำลง รวมไปถึงแนวทางการพัฒนาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society)

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) จึงได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ที่ได้บรรจุแผนการพัฒนา EV ไว้ในหมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

โดยมีการตั้งเป้าผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ หรือรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ซึ่งเป็นที่มาขอชื่อนโยบาย ‘30@30’ นอกจากนี้ยังมีการการส่งเสริมการใช้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งชิ้นส่วนต่างๆ (EV Hub) ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคและของโลก

นโยบายมาตรการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 (ปี 2564 – 2565) สร้างความต้องการการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นำร่องส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั่วประเทศ 
  • ระยะที่ 2 (ปี 2566 – 2568) พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นให้เกิดการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในประเทศไทย เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ และถือว่าเป็นเป้าหมายการผลิตในระดับ Economy of Scale 
  • ระยะที่ 3 (ปี 2569 – 2573) ผลิตเพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศ ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย 30@30 

มาตรการจากบอร์ด EV

เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 บอร์ดอีวีเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (หรือ EV 3.5) ในช่วงปี 2567 – 2570 โดยรัฐจะมีการให้เงินอุดหนุนยานยนต์ไฟฟ้า ตามประเภทของรถ และขนาดแบตเตอรี่ ดังนี้

  • รถยนต์ไฟฟ้า
    • ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และแบตเตอรี่น้อยกว่า 50 kWh จะได้เงินอุดหนุน 20,000 – 50,000 บาท/คัน
    • ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh ขึ้นไป จะได้เงินอุดหนุน 50,000 – 100,000 บาท/คัน
    • ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท จะลดอากรนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ไม่เกิน 40% ในช่วงปี 2567 – 2568
    • ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิต 2% (จากเดิม 8%)
  • รถกระบะไฟฟ้า
    • ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท และแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh ขึ้นไป จะได้เงินอุดหนุน 50,000 – 100,000 บาท/คัน
  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า
    • ราคาไม่เกิน 150,000 บาท และแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh ขึ้นไป จะได้เงินอุดหนุน 5,000 – 10,000 บาท/คัน

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหารือร่วมกันเพื่อกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสม และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ได้มีการตั้งเงื่อนไขการลงทุนในประเทศ ดังนี้

  • ผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อชดเชยการนำเข้า ในอัตราส่วน 1 : 2 (นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 2 คัน) ภายในปี 2569 และเพิ่มเป็นอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้า 1 คัน ต้องผลิตชดเชย 3 คัน) ภายในปี 2570
  • แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าและที่ผลิตในประเทศไทยจะต้องได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานตามมาตรฐานสากลจากศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดอาคาร Delta Plant 8 และศูนย์วิจัยและการพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้า (R&D Center) ของบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย)จำกัด(มหาชน) ที่นิคมอุตสากรรมบางปู(เหนือ)  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2567

  • คกก.นโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ปรับปรุงมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ทั้งรถโดยสารไฟฟ้า (E-Bus) และรถบรรทุกไฟฟ้า (E-Truck)   ดูเพิ่มเติม ›

    21 ก.พ. 2567

  • ครม. อนุมัติมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) ในช่วงเวลา 4 ปี (ปี 2567 - 2570) จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. 2567

    19 ธ.ค. 2566

  • รายงานในช่วง 11 เดือนของปี 2566 มียอดจดทะเบียนรถไฟฟ้ารวม 67,056 คัน เติบโตกว่า 690% หรือ 7.9 เท่า เมื่อเทียบกับ 8,483 คันในปีก่อนหน้า

    16 ธ.ค. 2566

  • บอร์ด EV เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 (EV 3.5) ในช่วง 4 ปี (ปี 2567-2570)

    1 พ.ย. 2566

  • คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV)

    24 ต.ค. 2566

  • ครม. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,024.41 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟ

    26 ก.ย. 2566

  • ที่ประชุมบอร์ด EV มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion) ภายใต้บอร์ด EV

    27 ก.พ. 2566

  • ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีหมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก

    1 พ.ย. 2565

  • ครม. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ที่ประกอบหรือผลิตในเขตปลอดอากรตามกฎหมายหรือเขตประกอบการเสรีตามกฎหมาย

    26 ก.ค. 2565

  • ครม. อนุมัติงบ 2,923.397 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ EV ตามประกาศกรมสรรพสามิตที่ประกาศเมื่อ 21 มี.ค. 2565)

    23 ส.ค. 2565

  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน

    3 พ.ค. 2565

  • ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

    21 มี.ค. 2565

  • ครม. เห็นชอบตามแนวทางตามนโยบาย 30@30 และมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบ โดยจะมีผลบังคับใช้เดือน พ.ค. 2565

    15 ก.พ. 2565

  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ได้กำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้ EV แบ่งมาตรการออกเป็น 3 ระยะ

    12 พ.ค. 2564

  • ที่ประชุมบอร์ด EV มีแนวทางในการเร่งรัดให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก

    24 มี.ค. 2564

  • บอร์ด BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 6 โครงการ มูลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท ในการผลิตรถ EV - โรงไฟฟ้า

    4 พ.ย. 2563

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV)

    7 ก.พ. 2563

  • ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลรูปธรรม

    28 มี.ค. 2560

  • ครม. มีมติเห็นชอบข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย : กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต หนึ่งในนั้นคือการต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive)

    17 พ.ย. 2558

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ผลิตรถยนต์นั่งและรถกระบะ 725,000 คัน
ผลิตรถจักรยานยนต์ 675,000 คัน
ผลิตรถบัสและรถบรรทุก 34,000 คัน
ส่งเสริมการผลิตรถสามล้อ เรือโดยสาร และรถไฟระบบราง
ส่งเสริมการใช้รถยนต์นั่งและรถกระบะ 440,000 คัน
ส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ 650,000 คัน
ส่งเสริมการใช้รถบัสและรถบรรทุก 33,000 คัน
ส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge 12,000 หัวจ่าย
ส่งเสริมสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swap) สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1,450 สถานี

อินโฟกราฟิก

ev-ev700-s-8028215700-ct-ev2024-a-240219

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
เทรนด์รถอีวีมาแรง เขย่าอุตฯยานยนต์ไทยครั้งใหญ่

เทรนด์รถอีวีมาแรง เขย่าอุตฯยานยนต์ไทยครั้งใหญ่

นโยบายสนับสนุนให้ใช้รถยนต์อีวีของรัฐบาลไทย เปิดทางให้รถอีวีสัญชาติจีนทะลักเข้ามาขายในประเทศอย่างหนัก และกำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยแบบรุนแรงตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เนื่องจากฐานผลิตในประเทศยังเป็นรถสันดาป เอฟทีเอเอื้อรถอีวีจีนนำเข้าราคาถูก และไทยยังไม่มีแหล่งแร่สำคัญที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่
ศูนย์บริการรถใช้น้ำมัน "ถึงจุดเปลี่ยน"จากกระแสอีวี

ศูนย์บริการรถใช้น้ำมัน "ถึงจุดเปลี่ยน"จากกระแสอีวี

การมาของรถยนต์ไฟฟ้า กำลังส่งผลกระทบหลายด้านต่ออุสาหกรรม นอกจากกระทบต่อรถยนต์ใช้น้ำมันแล้ว ยังกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ใช้น้ำมัน โดยคาดว่าศูนย์บริการจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก หากคนนิยมใช้รถอีวีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคาดว่าในปีนี้ จะมีสัดส่วนเกือบ 27% ของยอดขายรถยนต์นั่ง
ถึงเวลา"รถบัส-รถบรรทุก"ไฟฟ้า หนุนไทยฮับอีวีภูมิภาค

ถึงเวลา"รถบัส-รถบรรทุก"ไฟฟ้า หนุนไทยฮับอีวีภูมิภาค

บอร์ดอีวี เร่งเดินหน้าผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาคในรถยนต์ทุกประเภท โดยออกมาตรการลดภาษีสูงสุด 2 เท่า ให้กับบริษัทเอกชนที่ซื้อรถบัสไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้า ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 10,000 คน รวมถึงยังให้สิทธิประโยชน์กับผู้ผลิตแบตเตอรีรถไฟฟ้าระดับต้นน้ำ ให้สนใจเข้ามาลงทุนในไทย