ThaiPBS Logo

โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge)

โครงการแลนด์บริดจ์ (หรือชื่อเต็มคือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน) เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เชื่อมโยง 2 ท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

นายกฯประกาศผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ ระหว่างการประชุมที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

วางแผน

อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และเตรียมเสนออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

อัปเดตล่าสุด 8 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุถึงโครงการแลนด์บริดจ์ว่า รัฐบาลจะออกโรดโชว์ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เพื่อโปรโมตโครงการแลนด์บริดจ์ โดยย้ำว่าโครงการนี้เป็นการเสนอทางเลือกสำหรับการสัญจรในช่องแคบมะละกาอันคับคั่ง ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินเรือระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซียที่เป็นเส้นทางการค้าเชื่อมระหว่างเอเชียกับยุโรปและแอฟริกาที่สำคัญ และจะช่วยทำให้ไทยบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจการค้าโลกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตของประเทศ เราต้องการเครื่องมือเหล่านี้เพื่อมั่นใจว่าเรามีที่ยืนในโลก
  • (15 ก.พ. 2567) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง “การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (แลนด์บริดจ์) เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน” ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ ด้วยคะแนน 269 ต่อ 147 เสียง

โครงการแลนด์บริดจ์ (หรือชื่อเต็มคือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน) เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เชื่อมโยง 2 ท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

โครงการจะมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่งทะเล ได้แก่ ที่แหลมอ่าวอ่าง จังหวัดระนอง (ฝั่งทะเลอันดามัน) และที่แหลมริ่ว จังหวัดชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) ซึ่งสามารถรองรับสินค้าได้ฝั่งละ 20 ล้าน TEUs (Twenty-foot Equivalent Unit : ตู้คอนเทนเนอร์ยาว 20 ฟุต) 

มีการสร้างทางเชื่อมระหว่างท่าเรือทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทาง 89.35 กิโลเมตร โดยมีทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) รถไฟทางคู่ (ขนาดราง 1.435 เมตรและ 1 เมตร) ท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ และมีการถมทะเลเพื่อพัฒนากิจการสนับสนุนท่าเรือ

รูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership หรือ PPP) ซึ่งเป็นการให้สิทธิแก่เอกชนลงทุนในการก่อสร้างและการบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 50 ปี โดยกำหนดให้ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งโครงการ ประกอบด้วย ท่าเรือ ทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร และมอเตอร์เวย์ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่หลังท่า โดยภาครัฐทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดิน ลงทุนทางรถไฟขนาด 1.0 เมตร และกำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับเอกชนผู้ร่วมลงทุนในโครงการ

โครงการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ รวมประมาณการลงทุนโครงการ 1,001,206.47 ล้านบาท คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการในเดือนต.ค. 2573 และเสร็จสมบูรณ์ทั้ง 2 ฝั่ง (รองรับได้ฝั่งละ 20 ล้าน TEUs) ภายในปี 2582

โครงการนี้มีพรรคภูมิใจไทยที่ผลักดันตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนที่มีศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และต่อมาในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยก็เป็นพรรคการเมืองเดียวที่นำโครงการนี้มาใช้ในการหาเสียง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่ารัฐบาลจะออกโรดโชว์ในเดือนพ.ค.-มิ.ย. เพื่อโปรโมตโครงการแลนด์บริดจ์

    8 เม.ย. 2567

  • สุรเดช จิรัฐิติเจริญ สว. อภิปรายทั่วไปถึงโครงการแลนด์บริดจ์ว่า รัฐบาลควรศึกษารายละเอียด หวั่นใช้งบมหาศาล ไม่คุ้มค่า

    25 มี.ค. 2567

  • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ตั้งข้อสังเกตเรื่องการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

    20 มี.ค. 2567

  • เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ เครือข่ายรักษ์ระนอง เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อทวงถามความคืบหน้า ข้อร้องเรียนของประชาชนในโครงการแลนด์บริดจ์ ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล  ดูเพิ่มเติม ›

    5 มี.ค. 2567

  • ที่ประชุมสภาฯ เห็นชอบผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ด้วยคะแนน 269 ต่อ 147 เสียง จะส่งผลการศึกษาให้กับครม. ได้พิจารณาต่อไป   ดูเพิ่มเติม ›

    15 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุ หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน แสดงความสนใจ แต่ขอศึกษารายละเอียดเพิ่ม

    29 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง เชิญชวนธุรกิจเยอรมนีลงทุนแลนด์บริดจ์ ในโอกาสที่ ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยือนไทย

    25 ม.ค. 2567

  • เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ ยื่นรัฐบาลทบทวนโครงการแลนด์บริดจ์ หลังประชุมครม.ที่ระนอง

    23 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ลงดูพื้นที่ก่อสร้าง ระหว่างร่วมประชุมครม. สัญจรที่ จ.ระนอง 22-23 ม.ค.

    22 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ระบุจะเชิญซีอีโอของดูไบ พอร์ต เวิลด์ (DP World) มาพูดคุยที่ประเทศไทยในเดือนก.พ.

    19 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง เชิญชวนนักลงทุนในระหว่างประชุม World Economic Forum ประจําปี 2567 ระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค. 2567

    18 ม.ค. 2567

  • กมธ.แลนด์บริดจ์ มีมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ของ กมธ. โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และลงมติเสนอไปยัง ครม. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

    12 ม.ค. 2567

  • สส.พรรคก้าวไกล 4 คน ประกาศลาออกจาก กมธ.แลนด์บริดจ์ มองว่า รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของเรื่องนี้ ยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายประเด็น และต้องการให้ สนข. ชี้แจ้งเพิ่มอีก

    12 ม.ค. 2567

  • กมธ.แลนด์บริดจ์ ลงพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

    6 ม.ค. 2567

  • ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล อภิปรายในระหว่างการพิจารณางบประมาณปี 67 ห่วงแลนด์บริดจ์ไม่คุ้มค่า

    5 ม.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง กล่าวสนับสนุนโครงการระหว่างการพิจารณางบประมาณที่รัฐสภา

    4 ม.ค. 2567

  • สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย แถลงการณ์คัดค้านโครงการ หวั่นผลกระทบ ขอเข้าชี้แจง 21-23 ม.ค.

    25 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ชูแนวคิดโครงการระหว่างประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 4

    25 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง โรดโชว์โครงการกับนักธุรกิจญี่ปุ่น ระหว่างประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น

    18 ธ.ค. 2566

  • วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธาน คณะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ กมธ. ประชุมครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้โครงการ

    30 พ.ย. 2566

  • สภาประชาชนภาคใต้ เและภาคีเครือข่าย ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรื่อง “หยุดแลนด์บริดจ์ ระนอง - ชุมพร” ยืนยันจะร่วมกันคัดค้านโครงการนี้อย่างถึงที่สุดจนกว่ารัฐบาลจะหยุดโครงการนี้

    15 พ.ย. 2566

  • เครือข่ายรักษ์พะโต๊ะ ได้ยื่นหนังสือต่อนายอำเภอพะโต๊ะ เรียกร้องให้ทุกหน่วยงานที่กำลังจัดเวทีต่างๆ ยุติการจัดเวที หรือการดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเอาไว้ก่อน จนกว่าจะมีการเข้ามาชี้แจงข้อสงสัย

    30 ต.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง นำเสนอโครงการ กับกลุ่มซีอีโอบริษัทลงทุนระดับโลกของซาอุดีอาระเบีย ระหว่างการไปเยือนซาอุดีอาระเบีย

    21 ต.ค. 2566

  • สภาผู้แทนราษฎร ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการเชื่อมสะพานเศรษฐกิจเพื่อเชื่อมภูมิภาคระหว่างฝั่งอันดามันและอ่าวไทย (กมธ.แลนด์บริดจ์) กำหนดระยะเวลาพิจารณา 90 วัน

    20 ต.ค. 2566

  • ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ระบุว่ามีการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง เช่น รายงานที่สศช.ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เพิ่งเสร็จไปเมื่อเดือนเม.ย. 2565 ระบุว่าไม่คุ้นค่า

    20 ต.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.กระทรวงการคลัง เริ่มโรดโชว์โครงการ ระหว่างการเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ต.ค. 2566

  • สภาประชาชนภาคใต้ และภาคีเครือข่าย ออกแถลงการณ์เรื่อง คณะรัฐมนตรีต้องทบทวนมติ และต้องพิจารณาความเป็นไปได้ที่แท้จริงของโครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร – ระนอง

    17 ต.ค. 2566

  • ครม. มีมติรับทราบโครงการ และให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการรับฟังความเห็นจากนักลงทุนต่างประเทศ (Road Show)

    16 ต.ค. 2566

  • พรรคภูมิใจไทย เรียกร้อง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทย สานต่อนโยบายโครงการแลนด์บริดจ์ ขณะที่ สุริยะ ยืนยันเดินหน้าโครงการฯ แต่รอสนข. ศึกษารายละเอียดให้แล้วเสร็จ

    20 ก.ย. 2566

  • การรถไฟแห่งประเทศไทยเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนตามแนวเส้นก่อสร้างทางรถไฟแลนด์บริดจ์เชื่อมชุมพร-ระนอง

    4-8 ก.ย. 2566

  • กลุ่มชาวบ้านใน อ.หลังสวน และ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ได้ส่งหนังสือขอคัดค้านโครงการ ต่อผู้อำนวยการ สนข. โดยคัดค้านแนวเส้นทางของท่าเรือน้ำลึก ทางรถไฟ ถนนมอเตอร์เวย์ ท่อน้ำมัน

    31 ส.ค. 2566

  • ศักระ กบิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยในระหว่างการประชุมคณะกรรมการจังหวัด ถึงความคืบหน้าโครงการฯคาดว่าจะนำเสนอเข้า ครม.ในช่วงเดือนต.ค. 2566

    30 ส.ค. 2566

  • สมนึก จงมีวศิน ผู้นำกลุ่มศึกษาการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก แสดงความกังวลต่อโครงการว่า ผลกระทบจากการสร้างแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง อาจซ้ำรอยกับกรณีมาบตาพุดและกรณีท่าเรือแหลมฉบังได้

    29 ส.ค. 2566

  • จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาท่าเรือบริเวณแหลมอ่าวอ่าง อ.เมือง จ.ระนอง และท่าเรือบริเวณแหลมริ่วในฝั่งอ่าวไทยที่ จ.ชุมพร เพื่อจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

    16-18 ส.ค. 2566

  • ธรรมนูญ มีเพียร ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากแลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง และตัวแทนเครือข่ายฯ ยื่นหนังสือถึงสนข.คัดค้านเวทีรับฟังความคิดเห็นและเรียกร้องเปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง

    16 ส.ค. 2566

  • อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หาเสียง จ.ระนอง จะผลักดันโครงการแลนด์บริดจ์ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เปลี่ยนระนองเป็นเมืองเศรษฐกิจระดับโลก

    23 เม.ย. 2566

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งการให้ สนข. พิจารณาการพัฒนาแผนแม่บทการพัฒนาในระยะยาว

    27 ม.ค. 2566

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งตรวจสอบตัวเลขลงทุนโครงการ กังวลตัวเลขสูงไป

    11 พ.ย. 2565

  • รายงานฉบับสมบรูณ์ ‘โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย’ จัดทำโดยสศช.และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬา ระบุว่าทางเลือกที่เหมาะสม คือ พัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก

    8 พ.ย. 2565

  • ครม. มีมติเห็นชอบให้พื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

    20 ก.ย. 2565

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม โชว์โครงการแลนด์บริดจ์ ในเวทีเอเปกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ พร้อมประกาศเร่งเสนอครม.

    14 ก.ย. 2565

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ประชุมคกก.ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ฯ ครั้งที่ 2/2565 ระบุว่าที่ปรึกษาเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม คือ แหลมอ่าวอ่าง ระนอง และแหลมริ่ว ชุมพร

    22 เม.ย. 2565

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม สั่งเดินหน้าแลนด์บริดจ์ "ชุมพร-ระนอง" พร้อมเร่ง สนข. ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

    9 ธ.ค. 2564

  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ลงนามจ้างบริษัทที่ปรึกษา งบประมาณ 68 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเป็นไปได้

    31 มี.ค. 2564

  • ครม. ประกาศระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2564 กำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

    4 ก.พ. 2564

  • สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้ตั้ง กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

    16 ม.ค. 2563

  • มติครม. มอบหมายให้ สศช.ศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการพัฒนาในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่

    21 ส.ค. 2561

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ผลต่อเศรษฐกิจ
คาดว่าจะทำให้จีดีพีขยายตัวเป็น 5% (จาก 4.0%) และจะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ทั้งหมด 280,000 ตำแหน่ง
ที่มา: สนข.อ้างสภาพัฒนฯ
ความคุ้มค่าจาการลงทุน
สนข.อ้างถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ แต่จากการศึกษาของสศช.ระบุว่าโครงการดังกล่าวไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

เชิงกระบวนการ

รับฟังความคิดเห็น
อยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ขณะที่คนในพื้นที่เรียกร้องให้ยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็น และเรียกร้องให้ทบทวนโครงการ

เชิงการเมือง

ผลักดันโดยพรรคภูมิใจไทย
ไม่มีการแถลงในนโยบายรัฐบาล แต่ถูกหยิบยกขึ้นมาภายหลัง โดยหวังว่าจะดึงเงินลงทุนจากต่างชาติและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้
ความขัดแย้งในพื้นที่
ความขัดแย้งในการพัฒนาโครงการเกิดขึ้นมานานตั้งแต่รัฐบาลก่อน ๆ ที่เสนอโครงการขุดคอคอดกระ ก่อนจะมาเป็นแลนด์บริดจ์ ซึ่งมีการต่อต้านจากคนในพื้นที่ จนมีการปรับแนวโครงการในปัจจุบัน

อินโฟกราฟิก

1_%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%88%e0%b9%8c3-034-3ct-202301-landbridgecompare-02ct-thmapeconomiccorridor-240209

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
"แลนด์บริดจ์" เมกะโปรเจกต์ขาจร ไร้เงาในแผนระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

"แลนด์บริดจ์" เมกะโปรเจกต์ขาจร ไร้เงาในแผนระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

แลนด์บริดจ์ เมกะโปรเจกต์ที่อยู่ ๆ รัฐบาลเพื่อไทยก็ผลักดันขึ้นมา โหมกันหนัก โดยอ้างเหตุผลการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่โครงกานี้มีศึกษามาก่อนและได้ข้อสรุปมานานว่าไม่คุ้มค่า โดยล่าสุดสศช. ออกรายงานประจำปี ไม่ปรากฏโครงการนี้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของประเทศ
แลนด์บริดจ์กับความสับสน ในนโยบายพัฒนาประเทศ

แลนด์บริดจ์กับความสับสน ในนโยบายพัฒนาประเทศ

แลนด์บริดจ์ ยังคงถกเถียงกันไปอีกนาน ทั้งฝ่ายต้องการผลักดันและฝ่ายคัดค้าน ซึ่งความพยายามผลักดันของรัฐบาล ทำให้เห็นความสับสนในนโยบายการพัฒนาประเทศของหน่วยงานรัฐ เพราะขณะนี้ที่กระทรวงคมนาคมพยายามเร่งดำเนินการ แต่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรครั้งนี้กลับเดินหน้าผลักดันเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยว
บทเรียนจากท่าเรือคลองใหญ่ ความสูญเปล่าจากประเมินผิดพลาด

บทเรียนจากท่าเรือคลองใหญ่ ความสูญเปล่าจากประเมินผิดพลาด

แลนด์บริดจ์ กำลังเผชิญกับคำถามเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจว่าคุ้มค่าตามที่สำนักนโยบายและแผนขนส่งและจราจร(สนข.) รายงานผลการศึกษาหรือไม่ เพราะบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางเรือเห็นว่า "เป็นไปได้ยาก"