กระทรวงการคลังได้มีการเปิดรับฟังความเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ….. ผ่านเว็บไซต์ออนไลน์ เมื่อวันที่ 2 – 18 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา จากนั้นกระทรวงคลังจะนำความเห็นทั้งหมดมาพิจารณาและปรับปรุง ก่อนนำร่างกฎหมายนี้ฯเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาลงมติต่อไป
เหตุผลความจำเป็นที่ต้องตรา พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ฉบับนี้ ระบุว่าปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นภาคอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากและธุรกิจสถานบันเทิงเป็นกิจกรรมสำคัญที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวได้ใช้จ่าย การส่งเสริมและกำกับดูแล เพื่อให้เกิดธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวจึงเป็นมาตรการสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมในภาพรวม และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
สำหรับ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ประกอบด้วยกฎหมายแบ่งเป็น 9 หมวด จำนวน 65 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญมีตั้งแต่ การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ การควบคุมและการขออนุญาตประกอบประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ไปจนถึงบทลงโทษหากกระทำผิดกฎหมาย โดยรายละเอียดมีดังนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ….”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่บทบัญญัติแห่งหมวด 6 และหมวด 7 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนด 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
“สถานบันเทิงครบวงจร” หมายความว่า การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้หลายประเภทรวมกัน ร่วมกับกาสิโน
“กาสิโน” หมายความว่า การจัดให้มีการเข้าเล่นหรือการเข้าพนันในสถานที่ที่กำหนดเป็นการเฉพาะ
“ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
“ผู้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
“ผู้บริหาร” หมายความว่า ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการบริหารงานของผู้รับใบอนุญาต ไม่ว่าโดยพฤติการณ์หรือโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารของผู้รับใบอนุญาต
“บริษัทในกลุ่ม” หมายความว่า
(1) นิติบุคคลที่ผู้รับใบอนุญาตถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคล
(2) นิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นทั้งในนิติบุคคลนั้นและในนิติบุคคลที่เป็นผู้รับใบอนุญาต ตั้งแต่ร้อยละ 20 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลและนิติบุคคลที่เป็นผู้รับใบอนุญาต
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกากับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งสำนักงานแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกำกับการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ประกาศของคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการบริหาร และสำนักงานที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด 1 คณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร
มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร” เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการนโยบาย” ประกอบด้วย
(1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
(2) รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตำแหน่ง 9 คน ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาต เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 6 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ กฎหมาย หรือสังคม
ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา 7 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) สัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ในวันที่ได้รับแต่งตั้ง
(3) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้า ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐอื่น หรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่น
(5) ไม่เป็น หรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
(6) ไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการพนักงงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือตำแหน่งอื่นใดในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวเนื่องกับสถานบันเทิงครบวงจร
(7) ไม่เป็น หรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(8) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุกจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(9) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(10) ไม่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
มาตรา 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราว 4 ปี เมื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาะในวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวพ้นจากตาแหน่ง ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจาก ตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้แต่งตั้งใหม่รับหน้าที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตาแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา 9 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ออกจากตำแหน่ง เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้ง
(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายใน 60 วันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
ในกรณีที่วาระการดำรงตาแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึง 120 วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นดำรงตำแหน่งแทนก็ได้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างให้มีวาระการดำรงตาแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนได้รับตำแหน่งแทนในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างลงตามวรรคสอง หรือในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคสาม ให้คณะกรรมการนโยบายประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
มาตรา 10 การประชุมและการลงมติของคณะกรรมการนโยบาย ให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
มาตรา 11 ให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร
(2) กำหนดนโยบายการบริหารจัดการสถานบันเทิงครบวงจร
(3) กำหนดนโยบายป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานบันเทิงครบวงจร
(4) เสนอแนะแนวทางการกำหนดจำนวนใบอนุญาต และพื้นที่ประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
(5) เสนอแนะอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องกับกาสิโนต่อคณะรัฐมนตรี
(6) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต การให้ใบอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมโดยจะกาหนดเป็นอัตราเดียว หรือหลายอัตราตามปีที่ได้รับใบอนุญาตก็ได้แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้
(7) กำหนดกิจการ หลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ และรายละเอียดของธุรกิจสถานบันเทิงที่อาจดำเนินการได้ในสถานบันเทิงครบวงจรตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้
(8) กำหนดสัดส่วนพื้นที่ของกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจร
(9) กำหนดวันเวลาเปิดปิดและสถานที่ตั้งของสถานบริการ เวลาและสถานที่ห้ามขาย หรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเขตสูบบุหรี่ในเขตสถานบันเทิงครบวงจร
(10) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเลิกประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
(11) กำหนดวิธีการลงทะเบียนและอัตราค่าธรรมเนียมของผู้มีสัญชาติไทยที่จะเข้าสถานประกอบการกาสิโน แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้
(12) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การให้สินเชื่อแก่ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโน
(13) กำหนดลักษณะของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบการกาสิโน
(14) กำหนดหลักเกณฑ์ ประเภท คุณสมบัติ มาตรฐาน ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของพนักงานในสถานบันเทิงครบวงจร
(15) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การเปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น โครงสร้างองค์กร หรือการนำหุ้นไปเป็นหลักประกันการชาระหนี้ ของผู้รับใบอนุญาต
(16) พิจารณาให้ ต่ออายุ หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(17) พิจารณาการโอนสิทธิตามใบอนุญาตให้บุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(18) แต่งตั้งเลขาธิการหรือให้เลขาธิการออก โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
(19) กำกับการดาเนินงานของคณะกรรมการบริหาร
(20) ออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคาสั่ง เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(21) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบาย หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา 12 คณะกรรมการนโยบายอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการนโยบายมอบหมายก็ได้ในการประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำข้อบังคับการประชุมที่คณะกรรมการนโยบายกำหนดตามมาตรา 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 13 ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ประธาน คณะอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน
มาตรา 14 ในการดำเนินการสถานบันเทิงครบวงจร หากคณะกรรมการนโยบายเห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งใดก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือล่าช้า มีความซ้ำซ้อนหรือเป็นการเพิ่มภาระการดำเนินการโดยไม่จำเป็น หรือมีปัญหาหรืออุปสรรคอื่นใดให้ คณะกรรมการนโยบายเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีการดาเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งดังกล่าว หรือมีกฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อให้การดำเนินการสถาบันเทิงครบวงจรมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว ทั้งนี้ ต้องไม่กระทบต่อความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพของประชาชน และต้องไม่เลือกปฏิบัติ
หมวด 2 คณะกรรมการบริหาร
มาตรา 15 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการบริหาร” ประกอบด้วย
(1) บุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นประธานกรรมการ
(2) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 11 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บัญชาการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 3 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์ การบริหารธุรกิจ กฎหมาย หรือสังคมให้เลขาธิการเป็นเลขานุการ
มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 มาใช้บังคับแกผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารโดยอนุโลม
มาตรา 17 ให้คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเชิญชวน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เกี่ยวกับกาสิโน
(2) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบแทนใบอนุญาต
(3) พิจารณาอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายเงินและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสำนักงาน และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบาย
(4) กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสานักงาน
(5) พิจารณาอุทธรณ์เรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับสถานบันเทิงครบวงจร
(6) กำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน
(7) คัดเลือกหรือประเมินความรู้ความสามารถของเลขาธิการ เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลื่อนขั้นเงินเดือน หรือเสนอความเห็นให้เลขาธิการพ้นจากตำแหน่ง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพิจารณา
(8) แต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงาน รวมทั้งกำหนดจำนวน อัตราค่าตอบแทน และระยะเวลาการปฏิบัติงานของตำแหน่งดังกล่าว
(9) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการมอบอานาจของเลขาธิการ
(10) กำหนดข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัสดุการตรวจสอบภายใน การสงเคราะห์ และสวัสดิการต่าง ๆ ของสำนักงาน
(11) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้เงิน ทุน หรือทรัพย์สินของสำนักงาน
(12) พิจารณาคำอุทธรณ์หรือคำร้องทุกข์ และดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานหรือลูกจ้างของสำนักงาน
(13) กำหนดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน
(14) รายงานการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะกรรมการนโยบาย
(15) ออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(16) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบาย
มาตรา 18 คณะกรรมการบริหารอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมายก็ได้
มาตรา 19 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ ให้นำข้อบังคับการประชุมที่คณะกรรมการนโยบายกาหนดตามมาตรา 10 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด 3 สำนักงานกำกับการประกอบสถานบันเทิงครบวงจร
มาตรา 20 ให้มีสำนักงานกำกับการประกอบสถานบันเทิงครบวงจร มีวัตถุประสงค์ในการกำกับ ดูแล ควบคุม ส่งเสริม และสนับสนุนสถานบันเทิงครบวงจรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
สำนักงานเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่น
กิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของสานักงานต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
มาตรา 21 ให้สำนักงานมีสานักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานครและจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้
มาตรา 22 นอกจากหน้าที่และอำนาจในการดาเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ให้สำนักงานมีหน้าที่ปฏิบัติงานธุรการให้แก่คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการบริหาร รวมทั้งให้มีหน้าที่และอานาจ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานบันเทิงครบวงจร
(2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการดำเนินงาน แผนการใช้จ่ายเงินและงบประมาณรายจ่ายประจำปีของสานักงาน เสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา
(3) ดำเนินการตามนโยบายป้องกัน แก้ไข หรือเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานบันเทิงครบวงจรตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด
(4) กำกับ ตรวจสอบ ควบคุม และติดตามสถานบันเทิงครบวงจรของผู้รับใบอนุญาต
(5) กำหนดหลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ วิธีการเล่น และรายละเอียดในสถานประกอบการกาสิโน
(6) กำหนดลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้เข้าสถานประกอบการกาสิโน หรือออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดเข้าสถานประกอบการกาสิโน
(7) รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานบันเทิงครบวงจร เพื่อตรวจสอบ และพิจารณออกคำสั่งให้ผู้ใดหรือผู้รับใบอนุญาตแก้ไขหรือดาเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(8) เสนอแนะข้อมูลและความเห็นต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณาให้ ต่ออายุ หรือเพิกถอนใบอนุญาต
(9) เสนอแนะหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้จ่ายเงิน ทุน หรือทรัพย์สินของสานักงานต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา
(10) ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน
(11) ออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อดาเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 23 ในการดำเนินงานของสานักงาน นอกจากหน้าที่และอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แล้ว ให้สำนักงานมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ
(2) ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนนิติกรรมอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสานักงาน
(3) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของสำนักงาน
(4) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของสำนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการบริหาร หรือเลขาธิการ
มาตรา 24 ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินงานของสำนักงานประกอบด้วย
(1) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสมเป็นรายปี
(2) เงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล
(3) ค่าธรรมเนียมการขอใบอนุญาต ใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการเข้าสถานประกอบการกาสิโนของผู้มีสัญชาติไทย
(4) ค่าธรรมเนียม ค่าบารุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อันเกิดจากการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน
(5) ค่าปรับตามมาตรา 61 และมาตรา 62
(6) ดอกผลของเงิน หรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน เงินและทรัพย์สินของสานักงานตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด เหลือเท่าใดให้สำนักงานนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 25 บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสำนักงานให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา 26 การบัญชีและรายงานการเงินของสำนักงานให้จัดตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกาหนด
ให้สำนักงานจัดให้มีผู้ทำบัญชีตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กระทรวงการคลังกำหนด เพื่อจัดทำบัญชีและรายงานการเงิน
มาตรา 27 ให้สำนักงานจัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใด รวมถึงการก่อหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด แล้วส่งรายงานทางการเงินให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ
ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่สานักงานตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบเป็นผู้ตรวจสอบรายงานทางการเงินของสำนักงาน
มาตรา 28 ให้สำนักงานนำส่งรายงานการเงินประจาปีพร้อมกับรายงานผลการตรวจสอบของสานักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักนายกรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ทั้งนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
หมวด 4 เลขาธิการ
มาตรา 29 ให้สำนักงานมีเลขาธิการคนหนึ่งซึ่งคณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงาน
มาตรา 30 ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่ได้รับการแต่งตั้ง
(3) สามารถปฏิบัติงานให้แก่สำนักงานได้เต็มเวลา
(4) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับภารกิจของสำนักงานและการบริหารจัดการ
(5) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐอื่น หรือราชการส่วนท้องถิ่น และไม่เป็นกรรมการหรือที่ปรึกษาของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐอื่น
(7) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
(8) ไม่ดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอานาจในการจัดการพนักงานลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือตำแหน่งอื่นใดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับสถานบันเทิงครบวงจร
(9) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(10) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(11) ไม่เคยต้องคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่เป็นโทษสาหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(12) ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคาสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
(13) ไม่เคยพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุตามมาตรา 34 (4)
มาตรา 31 เลขาธิการมีวาระการดำรงตาแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตาแหน่งเกินสองวาระไม่ได้
ก่อนครบกำหนดตามวาระการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน หรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลขาธิการพ้นจากตาแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการนโยบายแต่งตั้งเลขาธิการคนใหม่ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา 32 ให้เลขาธิการได้รับอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกาหนด
มาตรา 33 ในแต่ละปี ให้คณะกรรมการบริหารประเมินผลการปฏิบัติงานของเลขาธิการ
มาตรา 34 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 30
(4) คณะกรรมการนโยบายโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีคาสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะไม่ผ่านการประเมินตามมาตรา 33 หรือทุจริตต่อหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าวต้องแสดงเหตุผลอย่างชัดแจ้ง
มาตรา 35 ให้เลขาธิการมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) บริหารงานของสำนักงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของสำนักงาน และตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี นโยบายของคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร และออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และมติของคณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการบริหาร
(2) วางระเบียบการดำเนินงานของสำนักงานโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี และข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง และมติของคณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการบริหาร
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสานักงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับหรือระเบียบของสานักงาน
(4) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการบริหารกำหนด กรณีในการเลิกจ้างผู้ตรวจสอบภายในของสำนักงาน ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารก่อน
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายหรือคณะกรรมการบริหาร
มาตรา 36 ในกิจการของสานักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสานักงาน เพื่อการนี้ เลขาธิการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
มาตรา 37 ภายในสองปีนับแต่วันพ้นจากตาแหน่ง เลขาธิการจะประกอบธุรกิจ หรือทำงานให้แก่ผู้ใดที่มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมกับสถานบันเทิงครบวงจรไม่ได้
หมวด 5 พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 38 ให้สำนักงานแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในสถานที่ดำเนินการสถานบันเทิงครบจรหรือสถานที่ตั้งของผู้รับใบอนุญาตในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการได้ เพื่อสังเกตการณ์หรือตรวจสอบการดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(2) เรียกเอกสารหรือหลักฐานจากผู้รับใบอนุญาต กรรมการหรือพนักงานของผู้รับใบอนุญาต หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรียกให้บุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคา เพื่อตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
(3) ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือการดำเนินคดี ทั้งนี้ การออกคำสั่งยึดหรืออายัดดังกล่าวจะต้องระบุเหตุผล ความจาเป็น และสิทธิของผู้ถูกยึดหรืออายัดนั้น
(4) รับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนหรือข้อพิพาทจากผู้ใช้บริการในสถานประกอบการกาสิโน
(5) สั่งให้หยุดการเล่นหรือการเข้าพนันใด ๆ ในสถานประกอบการกาสิโนที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือความวุ่นวาย
(6) ตรวจสอบหรือทดสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกาสิโน และสั่งให้หยุดใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดังกล่าวในกรณีที่พบว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ดังกล่าวไม่อยู่ในสภาพที่สมควรใช้งาน
(7) สั่งให้บุคคลซึ่งอยู่ในสถานประกอบการกาสิโนแจ้งชื่อ หรือข้อมูลอื่นใดเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าบุคคลดังกล่าวดาเนินการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
(8) ตรวจสอบการดำเนินงานของผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับการเชิญชวน โฆษณาประชาสัมพันธ์ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เกี่ยวกับกาสิโนแล้วรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร
(9) รายงานผลการดาเนินงานของผู้รับใบอนุญาตต่อเลขาธิการ
(10) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหารหรือเลขาธิการ
มาตรา 39 ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจาตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 40 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด 6 การอนุญาตให้ประกอบสถานบันเทิงครบวงจร
มาตรา 41 ให้สถานบันเทิงครบวงจรตั้งอยู่ในบริเวณเขตพื้นที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเท่านั้น โดยจะต้องประกอบไปด้วยธุรกิจสถานบันเทิงตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้อย่างน้อยสี่ประเภท ร่วมกับกาสิโน ทั้งนี้ สัดส่วนพื้นที่ของกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจรให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
สถานบันเทิงครบวงจรจะกระทำได้เฉพาะบริษัทจากัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีทุนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท โดยได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการนโยบาย ทั้งนี้ จำนวนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
การขอรับใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
การประกอบธุรกิจของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับใบอนุญาต ให้ได้รับยกเว้นจากกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมิให้นำความในมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และมาตรา 1105 วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ
มาตรา 42 กรรมการของผู้รับใบอนุญาตต้องเป็นบุคคลธรรมดา และ
(1) บรรลุนิติภาวะ
(2) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(3) ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ได้กระทำโดยทุจริต
(4) ไม่เคยถูกลงโทษไล่ออกหรือปลดออกจากราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฐานทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา 43 ในการขอรับใบอนุญาต ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อสำนักงานพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(1) รูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจร ซึ่งอย่างน้อยจะต้องระบุระยะเวลาดำเนินการ แผนการลงทุนในสถานบันเทิงครบวงจร แผนสัดส่วนการจ้างแรงงานไทยในสถานบันเทิงครบวงจร ประเภทของธุรกิจที่จะประกอบการในสถานบันเทิงครบวงจร และรายการ คำขออนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต เห็นชอบ จดทะเบียน หรือจดแจ้งจากหน่วยงานของรัฐ หรือคณะกรรมการตามกฎหมายอื่น ที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) รายละเอียดโครงสร้างองค์กร โครงสร้างกรรมการ ผู้บริหารและผู้ถือหุ้น รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแลธุรกิจและการควบคุมภายในที่ดี
(3) เอกสารแสดงแผนการจัดให้มีระบบการควบคุมกาสิโนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้
(4) เอกสารแสดงแผนการจัดให้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสถานบันเทิงครบวงจร
(5) เอกสารอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
เมื่อสำนักงานได้รับคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้สำนักงานตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของคำขอ หากคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้สำนักงานแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบภายใน 15 วันนับแต่วันยื่นคำขอ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไข หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ให้สำนักงานคืนคำขอแก่ผู้ขอรับใบอนุญาต
กรณีสำนักงานพิจารณาแล้วเห็นว่า คำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งถูกต้องและครบถ้วน หรือผู้รับใบอนุญาตได้แก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดในวรรคสองแล้ว ให้สำนักงานเสนอคำขอรับใบอนุญาตให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาโดยไม่ชักช้า
มาตรา 44 เมื่อได้รับใบอนุญาต ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขออนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต เห็นชอบ จดทะเบียน หรือจดแจ้ง ตามกฎหมายอื่น ตามรายการที่กำหนดไว้ในรูปแบบ และแผนการประกอบการธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรต่อสานักงาน และให้สำนักงานส่งคำขอนั้นไปยังหน่วยงานผู้มีหน้าที่และอำนาจพิจารณาโดยไม่ชักช้า
ในการอนุมัติ อนุญาต ให้ใบอนุญาต ให้ความเห็นชอบ รับจดทะเบียน หรือรับจดแจ้ง ให้สำนักงานมีอำนาจเรียกค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย หรือค่าอื่นใด ที่กฎหมายข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติว่าด้วยการนั้นกำหนดไว้ และให้สำนักงานนำส่งค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทนค่าใช้จ่าย หรือค่าอื่นใด ให้แก่หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจเรียกนั้น
เมื่อผู้มีอานาจพิจารณาได้รับคำขอตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ผู้มีอานาจพิจารณานั้นแจ้งถึงความไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาแก้ไขมายังสำนักงาน และให้สำนักงานแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขโดยไม่ชักช้า หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน ให้สำนักงานคืนคาขอแก่ผู้รับใบอนุญาต ให้ถือว่าคำขอที่ผู้รับใบอนุญาตยื่นต่อสานักงานตามวรรคหนึ่ง เป็นการยื่นคาขออนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต เห็นชอบ จดทะเบียน หรือจดแจ้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้ว
มาตรา 45 ผู้รับใบอนุญาตจะเริ่มประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรได้ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติ อนุญาต ใบอนุญาต ความเห็นชอบ การจดทะเบียน หรือการจดแจ้ง ครบถ้วนตามรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจร
ผู้รับใบอนุญาตต้องเริ่มประกอบสถานบันเทิงครบวงจรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้ยื่นไว้ขณะขออนุญาต หากผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ด้วยเหตุจำเป็น ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นขอขยายระยะเวลาการเริ่มประกอบสถานบันเทิงครบวงจรต่อคณะกรรมการนโยบายได้ และให้คณะกรรมการนโยบายพิจารณาขยายระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม
ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถดำเนินการได้ตามวรรคสอง สำนักงานอาจเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตได้
มาตรา 46 การเช่า เช่าช่วง ให้เช่า หรือให้เช่าช่วงที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เพื่อประกอบการสถานบันเทิงครบวงจร มิให้นำความในมาตรา 540 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ. 2542 และข้อ 9 ของกฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 มาใช้บังคับ
การเช่า เช่าช่วง ให้เช่า หรือให้เช่าช่วงตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ทำสัญญาเช่าเป็นกำหนดเวลาเกิน 50 ปี ถ้าได้ทำสัญญากันไว้เป็นกำหนดเวลานานกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็น 50 ปี การต่อสัญญาเช่าอาจทำได้แต่จะต่อสัญญาเกิน 49 ปี นับแต่วัน 50 ปีไม่ได้
การเช่า เช่าช่วง ให้เช่า หรือให้เช่าช่วงตามมาตรานี้ไม่ถือว่าเป็นการร่วมทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
มาตรา 47 ผู้รับใบอนุญาตจะประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรได้เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้ยื่นไว้ขณะขออนุญาตผู้รับใบอนุญาตจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมกาสิโนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และจะต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสถานบันเทิงครบวงจรไม่ต่ำกว่าที่ได้ยื่นไว้ขณะขออนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตจะประกอบธุรกิจนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้ยื่นไว้ขณะขออนุญาตได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย
หากผู้รับใบอนุญาตประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรไม่เป็นไปตามรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้ยื่นไว้ขณะขออนุญาต หรือที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายตามวรรคสาม ให้สำนักงานมีคาสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้อง พร้อมทั้งกาหนดระยะเวลาให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไข หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน ให้สำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 48 ผู้รับใบอนุญาตต้องประกอบสถานบันเทิงครบวงจรด้วยตนเอง โดยจะมอบการบริหารจัดการทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบธุรกิจแทนไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการนโยบายก่อน
ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตโอนสิทธิตามใบอนุญาตให้บุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย
ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงกรรมการ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น หรือโครงสร้างองค์กร ของผู้รับใบอนุญาต รวมถึงการนำหุ้นไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายกาหนด
ในกรณีที่บริษัทในกลุ่มของผู้รับใบอนุญาตเข้ามาบริหารจัดการสถานบันเทิงครบวงจร กรรมการของบริษัทในกลุ่มดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจากัด
กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามความในมาตรานี้ ให้สำนักงานมีคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไข พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไข หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน ให้สำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 49 ใบอนุญาตมีอายุ 30 ปีนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต โดยผู้รับใบอนุญาตจะต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปีตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้
ทุก 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต ให้สำนักงานประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจรของผู้รับใบอนุญาต และรายงานต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่ออาจพิจารณาทบทวนรูปแบบและแผนการประกอบการสถานบันเทิงครบวงจร
เมื่อใบอนุญาตครบอายุ ให้คณะกรรมการนโยบายมีอำนาจให้การพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตได้คราวละไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ การขอต่ออายุใบอนุญาตและอัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำ
ขอรับใบแทนใบอนุญาตจากสำนักงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบการสูญหายหรือการถูกทำลายดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารประกาศกาหนด
มาตรา 50 การเลิกประกอบสถานบันเทิงครบวงจรไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้รับใบอนุญาตต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการนโยบายก่อน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
หมวด 7 การควบคุมการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร
มาตรา 51 การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงในสถานบันเทิงครบวงจร จะกระทำได้เฉพาะตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ และรายละเอียดที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
กิจกรรมใดของสถานบันเทิงในสถานบันเทิงครบวงจรที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติหรือการกำกับดูแลตามกฎหมายอื่น ให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เว้นแต่การกาหนดวันเวลาเปิดปิดและสถานที่ตั้งของสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ การกำหนดเวลาและสถานที่ห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเขตสูบบุหรี่ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
การจัดให้มีการเข้าเล่นหรือการเข้าพนัน ในสถานประกอบการกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจร ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หนี้ที่เกิดจากการจัดให้มีการเข้าเล่นหรือเข้าพนันหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดให้มีการเข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโนในสถานบันเทิงครบวงจรที่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นหนี้ที่บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 52 กาสิโนให้กระทำได้เฉพาะในสถานบันเทิงครบวงจรโดยผู้รับใบอนุญาตและให้มีเฉพาะประเภท ดังต่อไปนี้
(1) ใช้เครื่องเล่นซึ่งใช้เครื่องกล พลังไฟฟ้า พลังแสงสว่าง หรือพลังอื่นใดที่ใช้เล่นโดยวิธีสัมผัส เลื่อน กด ดีด ดึง ยิง โยน โยก หมุน หรือวิธีอื่นใดซึ่งสามารถทำให้แพ้ชนะกันได้ ไม่ว่าจะโดยการนับแต้มหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม
(2) ใช้อุปกรณ์ซึ่งสามารถทาให้แพ้ชนะกันได้ ไม่ว่าจะโดยการนับแต้มหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ก็ตาม
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ ประเภท ลักษณะ วิธีการเล่น และรายละเอียดที่สานักงานประกาศกำหนด
มาตรา 54 ผู้รับใบอนุญาตจะต้องจัดให้มีเขตบริเวณของสถานประกอบการกาสิโนที่ชัดเจน โดยมีการควบคุมการเข้าออก มีการรักษาความปลอดภัย และตรวจสอบผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันให้เป็นไปตามมาตรา 55
มาตรา 55 ห้ามมิให้บุคคลดังต่อไปนี้ เข้าไปในสถานประกอบการกาสิโน
(1) ผู้มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) ผู้ซึ่งสำนักงานสั่งห้ามเข้าสถานประกอบการกาสิโน
(3) ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งยังมิได้ลงทะเบียนและชำระค่าธรรมเนียมตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
(4) ผู้ที่มีลักษณะของบุคคลต้องห้ามตามที่สำนักงานประกาศกำหนด
มาตรา 56 ในการประกอบการกาสิโน ผู้รับใบอนุญาตต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตามที่สานักงานประกาศกำหนด และดูแลรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดี และสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่ขัดข้อง ผู้รับใบอนุญาตต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ หรือทดสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในสถานประกอบการกาสิโน
มาตรา 57 ผู้รับใบอนุญาตต้องมีสัดส่วนของพนักงานคนไทยและต่างด้าวในสถานบันเทิงครบวงจรตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกาสิโนต้องมีลักษณะตามที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด
มาตรา 58 ห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการ เชิญชวน โฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เกี่ยวกับกาสิโน หรือให้ผู้ใดดำเนินการดังกล่าว เว้นแต่จะเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนด ให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดให้แก่บุคคลใด โดยผู้รับใบอนุญาตหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้รับใบอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลผู้รับค่าจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใดต้องเพิ่มยอดการเข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโน ไม่ว่าการจ่ายค่าจ้างหรือผลตอบแทนจะคำนวณจากมูลค่าการเข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโนหรือไม่ก็ตาม เป็นการเชิญชวนหรือโฆษณาตามวรรคหนึ่ง
ให้ถือว่าการจัดกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการชักจูงให้บุคคลใดมีความประสงค์จะเข้าเล่น หรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโน เป็นกิจกรรมส่งเสริมการขายตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 59 ผู้รับใบอนุญาตสามารถให้สินเชื่อแก่ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในสถานประกอบการกาสิโนได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการนโยบายประกาศกาหนด
หมวด 8 บทกำหนดโทษ
มาตรา 60 ผู้รับใบอนุญาตที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 51 มาตรา 52 มาตรา 53 และมาตรา 59 ให้สำนักงานมีคาสั่งให้ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดาเนินการภายในระยะเวลาที่สำนักงานกาหนดตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานรายงานต่อคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาเพื่อสั่งให้แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด
หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารกำหนดตามวรรคสอง ให้คณะกรรมการบริหารเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา 61 ผู้รับใบอนุญาตที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 54 มาตรา 56 มาตรา 57 หรือมาตรา 58 ให้สำนักงานมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กาหนด
หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่สำนักงานกาหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าปรับเป็นรายวันในอัตราไม่เกินวันละ 5 แสนบาท ให้แก่สำนักงานจนกว่าจะดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ
มาตรา 62 ผู้รับใบอนุญาตที่ปล่อยปละละเลยหรือยินยอมให้บุคคลต้องห้ามตามมาตรา 55 เข้าไปในสถานประกอบกาสิโน ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าปรับไม่เกิน 1 แสนบาท ให้แก่สำนักงาน
หมวด 9 บทเฉพาะกาล
มาตรา 63 ในวาระเริ่มแรก ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นกรรมการ และให้ข้าราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นเลขานุการ ทำหน้าที่คณะกรรมการนโยบาย และคณะกรรมการบริหารตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 6 และมาตรา 15 ทั้งนี้ ต้องแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 64 ในวาระเริ่มแรก ให้ข้าราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง ทำหน้าที่เลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตามมาตรา 29 ทั้งนี้ ต้องแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 65 ในวาระเริ่มแรก ให้รัฐบาลพิจารณาจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่สำนักงานในการจัดจ้างพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานในสานักงานไปพลางก่อน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ