ThaiPBS Logo

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา ย้ำจุดยืนทางการทูตของไทยในเรื่องการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก ทั้งเปิดตลาดใหม่และเร่งเจรจากรอบความร่วมมือ ในขณะที่รักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างสมดุล ทั้งในระดับภูมิภาคและความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ

อ่านเพิ่มเติม

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวกับแนวนโยบายการต่างประเทศ) โดยรัฐบาลมีแนวทางที่จะสร้างรายได้ โดยการใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุกเพื่อเปิดประตูการค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้สินค้าและบริการของประเทศไทย อาทิ กลุ่มสหภาพยุโรปกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง อินเดีย แอฟริกา อเมริกาใต้ รวมถึงการให้ความสำคัญกับตลาดเดิมที่รวมถึงประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง โดยการออกไปพบผู้นำประเทศต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้มาค้าขายสินค้าและบริการของกันและกัน ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้กับสินค้าและบริการที่คิดและผลิตจากฝีมือของคนไทยมากขึ้น เร่งการเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเพื่อยกระดับหนังสือเดินทางไทย (Passport) ให้สามารถเดินทางได้หลายประเทศมากยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า ปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อดึงดูดการลงทุนที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและวางรากฐานให้เศรษฐกิจในระยะยาว

รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าที่ถูกกฎหมายตามแนวชายแดน เพื่อสร้างเงิน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน และเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพให้เกิดขึ้น เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศ ตลอดจนการเป็นผู้นำในการส่งเสริมสันติภาพและผลประโยชน์ร่วมกันของโลก และบริหารสถานการณ์ภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศอย่างเหมาะสม

รัฐบาลจะเปิดประตูค้าขายและเปิดโอกาสของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างประโยชน์จากสินทรัพย์ของประเทศและของประชาชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ของโลก

รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ กระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านและรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย

รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน

นโยบายภาคการเมือง

การทูตแบบสมดุล

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

นโยบายไม่เป็นกลาง
รักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง ไม่ได้เป็นนโยบายที่เป็นศัตรู
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)
เป้าหมายนโยบาย
นโยบายการต่างประเทศเพื่อประชาชน และ มีเป้าหมายชัดเจนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ใช้มิติการต่างประเทศเข้ามาช่วยส่งเสริมนโยบายภายในประเทศ

การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

สนับสนุนความเป็นหลายขั้วอำนาจ
การต่างประเทศของไทยได้รับการวางแผนเอาไว้ว่าจะต้องเป็นการทูตเพื่อประชาชนและเป็นการทูตเชิงรุก.
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)
บทบาทของประเทศไทย
รักษาความสัมพันธ์อันดีระดับทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับพหุภาคีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้สมาคมอาเซียน.

บทความ

ดูทั้งหมด
เทียบ”Trump Effect” จาก “อเมริกาเฟิสต์” ถึง “ยุคทองของอเมริกา”

เทียบ”Trump Effect” จาก “อเมริกาเฟิสต์” ถึง “ยุคทองของอเมริกา”

จับตา "Trump Effect" หลังทรัมป์สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง 20 ม.ค. 68 ทั้งนโยบายการค้าแบบกลับด้าน จากสงครามการค้ารอบใหม่ และนโยบายความมั่นคงท่ามกลางสถานการณ์สงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก

ระวัง! ควันหลง สงครามการค้าสหรัฐ-จีน

ระวัง! ควันหลง สงครามการค้าสหรัฐ-จีน

สภาพัฒน์ประเมิน 4 แนวทางที่ 'ทรัมป์' ประธานนาธิบดีคนใหม่สหรัฐฯ ใช้เป็นช่องทางขึ้นภาษีสินค้าจีน คาดเริ่มมีผลใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เผยในอดีตสงครามการค้าหนุนสหรัฐฯนำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น แต่ไทยก็นำเข้าสินค้าจีนมากขึ้นเช่นกัน

นโยบายทรัมป์เริ่มออกฤทธิ์ปี’68 กระทบหนักปี’69

นโยบายทรัมป์เริ่มออกฤทธิ์ปี’68 กระทบหนักปี’69

ผลกระทบจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ มีการวิเคราะห์ในหลายด้าน แต่ล่าสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินผลกระทบทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรอบด้าน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวกว่าที่ประเมินไว้ หากสหรัฐฯเปิดสงครามการค้าอย่างดุเดือด ซึ่งคนไทยเคยเจอมาแล้วในสงครามการค้าครั้งก่อน