“พื้นที่สุขภาวะ” หรือ “Healthy Space” คือการออกแบบพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ในชุมชน ให้กลายเป็นสถานที่ให้ผู้คนออกมาใช้สอยและทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่เขียว ไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ และไม่จำกัดว่าต้องเป็นพื้นที่ออกกำลังกาย แต่เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมได้อย่างครบถ้วนทุกมิติ เพื่อลดความเนือยนิ่ง ความเครียด และปัญหาสุขภาพจิต
เป้าหมายคือการสร้างเมืองให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงทำกิจกรรมใกล้บ้านอย่างสะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องกัดแค่ “พื้นที่สีเขียว” อย่างเดียว แต่ยังครอบคลุมไปถึงพื้นที่ทางธรรมชาติ สวนสาธารณะ พื้นที่พาณิชยกรรม พื้นที่เล่นกีฬา ศาสนสถาน ทางสัญจร พื้นที่การเรียนรู้ สถานศึกษา ลานว่าง และขนส่งสาธารณะ
จากข้อมูลพบว่าการลงุทนในพื้นที่สุขภาวะ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดย 5 ปีที่ผ่านมา สร้างผลประโยชน์ถึง 41,862 ล้านบาท มากกว่าเงินลงทุนถึง 6 เท่า
ในช่วงที่ผ่านมามีโครงการนำร่อง ”Healthy Space Project” ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง we!park สสส. ฯลฯ เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นพื้นที่สุขภาวะ
อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่ชัดเจนของนิยาม ”พื้นที่สุขภาวะ” ทำให้การขับเคลื่อนยังเน้นไปที่ “กิจกรรม” การออกกำลังกาย กีฬา และ นันทนาการ โดยขาดการพูดถึง “การพัฒนาพื้นที่”ที่ส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในทุกมิติ นำมาสู่การเริ่มพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่มิติที่กว้างขวางขึ้น
ย้อนไปก่อนหน้านี้ แผนยุทธศาสตร์ชาติ (2560-2579) ยุทธศาสตร์ 3 ระบุถึงคนไทยในนอนาคตจะต้องมีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญามีพัฒนาการที่ดีรอบด้านมีสุขาภาวะโดยใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการเป็นเครื่องมือ
ในขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9-12 กล่าวถึงสุขภาพและการพัฒนาสภาพแวดล้อม และฉบับล่าสุด ฉบับที่ 13 กล่าวถึงสุขภาพ การพัฒนาสภาพแวดล้อมและการเสริมความเข้มแข็งในการบริการ จัดการพื้นที่และเมือง ซึ่งยังขาดตัวชี้วัดในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะ
สอดรับกับความเคลื่อนไหว ที่หน่วยงานต่าง ๆ เริ่มขับเคลื่อนประเด็นประเด็นนี้ ไล่มาตั้งแต่ 14 ธ.ค. 2561 สมัชชาสุขภาพครั้งที่ 11 มีมติเห็นชอบสร้างพื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะ ต่อเนื่องมาจนถึงที่ประชุม สมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 (77th World Health Assembly, WHA) ประกาศรับมติ เรื่อง “การมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตลอดจนสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีที่ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มขยับตามมติดังกล่าว
แต่ย้อนไปก่อนหน้านี้ภาคประชาชนหลายกลุ่มได้ออกมาขับเคลื่อนเรื่องพื้นที่สุขภาวะอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะช่วงก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. เครือข่ายปลุกกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันก่วา 80 องค์กรที่เปิดตัวในงาน Bangkok Active: ฟังเสียงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2565 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้ ขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ กทม. ให้เป็นรูปธรรม และส่งข้อเสนอปกขาวกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการ กทม.
ถัดมาช่วง เม.ย.2566 เครือข่ายพัฒนาเมือง ร่วมพูดคุยหาแนวทาง UNLOCK CITY POTENTIAL โอกาสของพื้นที่ในการพัฒนาเมือง และการสร้างอนาคตของเมือง : เรียนรู้จากกรณีตัวอย่าง 13 นักพัฒนาเมือง สู่การปลดล็อกข้อจำกัดในการพัฒนาเมือง จาก 39 แนวคิด 9 เมือง ทั่วประเทศ
ต่อเนื่องในช่วงก่อนการเลือกตั้งใหญ่ภายใต้แคมเปญ Hack Thailand 2575 The Active Thai PBS และ we!park และเครือข่ายจัดเวทีสาธารณ Green Spaces นโยบายที่ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ช่วง มิ.ย. 2565
ก่อนจะมาขับเคลื่อนในเชิงรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้นในงาน เสวนา Park Policy ในกิจกรรม “พัก กะ Park พาร์คสร้างสุข เพื่อสุขภาวะ” เมื่อเม.ย. 2567 ที่มองนิยามของสวนเกินกว่าขอบเขต “พื้นที่สีเขียว” ไปสู่ “พื้นที่สาธารณะ” ที่คนออกมาทำกิจกรรมต่าง ๆ
ล่าสุดในงาน Policy Forum ขยับท้องถิ่น ขยายเมืองสุขภาวะ ได้เริ่มชักชวนสนับสุนให้ท้องถิ่นที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะทั่วปประเทศ ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนพัฒนา “สมุดปกขาว“ ซึ่งเป็นเหมือนแผนที่นำทางทั้งรวบรวมข้อมูล ปัญหา อุปสรรค เพื่อนำไปสู่การออกแบบ วางแผนการทำงานในทุกระดับร่วมกัน จนถึงขั้นผลักดันนโยบายเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสมุดปกขาวจะผลักดันใน 2 ทิศทาง ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับ ผ่านองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
23 มี.ค. 2568
27 พ.ย. 2567
1 มิ.ย. 2567
2 พ.ย. 2565
18 เม.ย. 2562
14 ธ.ค. 2561
2561
2561
2561
2559
2559
2554
2550
2549
2544
2529
2523