ThaiPBS Logo

แท็ก: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นโยบายภาคการเมือง

ความปลอดภัยทางถนน

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

แผนปฏิบัติ 5 ปี แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน ฉบับ 5 (พ.ศ. 2565 - 2570) เพื่อจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้ขับขี่ สภาพถนน ยานพาหนะ การบังคับใช้กฎหมาย และการตอบสนองหลังเกิดเหตุ
เป้าหมายตามนโยบาย : 1. ลดอัตราการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะกลุ่มผู้เดินทางซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง 2. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของยานพาหนะทุกประเภท 3. พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับการสัญจรทางถนน และมีทางเลือกการสัญจรที่ปลอดภัยสำหรับผู้เดินทางทุกรูปแบบ 4.4. วางรากฐานการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีแผนงานที่ใช้ได้จริง สามารถสนับสนุนให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกับทุกภาคส่วน มีกฎหมายที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเทียบเท่าสากล มีการจัดสรรงบประมาณด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างเพียงพอ และเกิดระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์
1. ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2570 เหลือ 8,474 คน หรือ 12 คนต่อแสนประชากร 2. ลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2570 เหลือ 106,376 คน

บทความ

เหลื่อมล้ำทางภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องรอ “อนาฅต”

เหลื่อมล้ำทางภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องรอ “อนาฅต”

ความหลื่อมล้ำในสังคมไทยเกิดขึ้นในหลายมิติ แม้กระทั่งการเผชิญหน้าหรือการจัดการภัยพิบัติ ที่หลายครั้งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจที่ถูกปกป้องคุ้มครองมากกว่าพื้นที่การเกษตร รวมไปถึงในแง่งบประมาณ และองค์ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติที่ยังมีความแตกต่าง

ทำไมแผนรับมือภัยพิบัติ จึงไร้ประสิทธิภาพ?

ทำไมแผนรับมือภัยพิบัติ จึงไร้ประสิทธิภาพ?

รัฐบาลใช้งบประมาณกว่าร้อยล้านบาท ในปี 65 ติดตั้งระบบเตือนเพื่อรับภัยพิบัติทั่วประเทศ แต่รายงานสหประชาชาติกลับพบว่า ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงของไทยมีเพียง 50% เท่านั้น ที่ได้รับการอบรมเตรียมการป้องกันและรู้จักการเตือนภัย ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติของไทย