แนวคิดในการ “เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” ถูกนำเสนอต่อสังคมหลายครั้ง ตั้งแต่แนวคิดทฤษฎี มุมมองทางวิชาการ ข้อเสนอจากภาคประชาสังคม รวมถึงการยกตัวอย่างต่างประเทศ ฯลฯ หนึ่งในเหตุผลที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเสมอ คือเพื่อแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจการบริหารประเทศไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้หลากหลายมิติมากขึ้น
แต่แทบทุกครั้งที่มีข้อเสนอให้ “เลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด” เพื่อเดินหน้าปฏิรูประบบราชการและสนับสนุนการกระจายอำนาจเต็มรูปแบบ ข้อเสนอดังกล่าวมักถูกต่อต้านจาก “ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย” เป็นอย่างมาก
นอกจากการแสดงทรรศนะในระดับผู้บริหารของกระทรวงฯ ส่วนกลาง หลายครั้งยังมีความเคลื่อนไหวโดยกลุ่มข้าราชการในระดับภูมิภาค ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัด กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
หนึ่งในเหตุผลที่มักถูกหยิบยกมาถกเถียงในเชิงวิชาการ คือ การที่ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ประชาชนไม่พร้อม รายได้แต่ละจังหวัดไม่เพียงพอต่อการจัดการงบประมาณและค่าใช้จ่าย รวมถึงความกังวลว่าจะมีผู้มีอิทธิพลเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ เพราะเห็นตัวอย่างในการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ
กระทั่งปี 2565 มีการเกิดขึ้นของแคมเปญ #เลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วประเทศ ความหวัง กระจายอำนาจสู่ต่างจังหวัด โดยกลุ่ม We’re All Voters เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนผ่าน Change.org แต่ดูเหมือนว่ากระแสของสังคมยังไม่ได้ผลักให้ข้อเสนอนี้ถูกขยายผลไปสู่การรับรู้ของประชาชนในวงกว้าง หรือท่าทีตอบรับจากภาครัฐ มีเพียงการถูกยกระดับไปสู่การจัดทำเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองหลายพรรค ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แต่แตกต่างกันที่รายละเอียด
เมื่อรัฐบาล ‘เศรษฐา ทวีสิน’ เข้ามาบริหารประเทศ มีการนำเสนอแนวคิดนี้อีกครั้ง โดย ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P Move ช่วงเดือนตุลาคม 2566 โดยเป็น 1 ใน 10 ข้อเสนอเชิงนโยบายที่ยื่นต่อรัฐบาล ด้านการกระจายอำนาจ ขอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง เพื่อปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
10 ต.ค. 2566
3 ต.ค. 2566
23 เม.ย. 2566
12 เม.ย. 2565
19 มิ.ย. 2558
24 มิ.ย. 2555
1 ม.ค. 2554