ThaiPBS Logo

การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาล ได้เน้นย้ำนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างสมดุล เปิดประตูการค้าครั้งใหญ่ และยึดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งหวังเป็นผู้นำในอาเซียน หลังจากบทบาทของไทยลดน้อยลงไปในช่วงที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

เร่งเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

  • 30 ต.ค.67 มาทีอัส คอร์มันน์ เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) เข้าพบนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมเปิดกระบวนการรับไทยเข้าเป็นสมาชิก OECD
  • 17 ก.ย. 67 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา โดยย้ำว่านโยบายต่างประเทศของไทยจะเป็นการสานต่อรัฐบาลชุดก่อน
  • 17 มิ.ย. 67 คณะมนตรีองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเชิญประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการการหารือเพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD (accession discussions)

คำแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา เมื่อ 12 ก.ย. 67 ระบุว่า “รัฐบาลของดิฉันจะแปลงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะเสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและเกื้อกูลผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด ดังนี้

1. รัฐบำลจะรักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่ำงประเทศ(Non-Conflict) และจะดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานสากล โดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นแกนกลางสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน (Active Promoter of Peace and Common Prosperity) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดแรงงานทักษะสูง ผู้ประกอบการและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

2. รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบำยกำรทูต เศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญยกระดับมาตรฐานของประเทศ เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่รัฐบาลของดิฉันจะสานต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ไม่มีความต่างจากรัฐรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มีการกล่าวถึงนโยบายต่างประเทศสั้น ๆ ว่ารัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย

รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติรัฐบาลจะมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน อาทิ ความปลอดภัยทางถนน การลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคี นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 ประเด็นขยายเศรษฐกิจและนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2567

  • รัฐบาลคาดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-เปรู เสร็จภายในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันได้บรรลุความตกลงไปแล้ว 70%

    15 พ.ย. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุจะตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) เพื่อเจรจา MOU44 ไทย-กัมพูชา

    8 พ.ย. 2567

  • นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Summit) ครั้งที่ 8 และประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS)ครั้งที่ 10 ที่จีน

    6 พ.ย. 2567

  • มาธิอัส คอร์มันน์ เลขาธิการใหญ่ OECD เปิดตัว “กระบวนการเพื่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 (3rd Asia Cooperation Dialogue: ACD) ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่าง 2–4 ต.ค. 67

    3 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ย้ำสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดก่อน

    17 ก.ย. 2567

  • คณะมนตรีองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเชิญประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการเป็นสมาชิก

    17 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 ที่ฮ่องกง  ดูเพิ่มเติม ›

    29 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29   ดูเพิ่มเติม ›

    24 พ.ค. 2567

  • เมื่อ 17-21 พ.ค. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ

    17 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่าง 15 - 16 พ.ค. 2567 และเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่าง 17 - 21 พ.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    15 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯ ‘มาริษ เสงี่ยมพงษ์’ เป็นรมว.ต่างประเทศคนใหม่   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.การต่างประเทศ ยื่นหนังสือขอลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกปรับเหลือออกจากรองนายกฯ

    28 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ เชค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงร่วมกัน 5 ฉบับ   ดูเพิ่มเติม ›

    26 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลงานในการเดินทางเยือนต่างประเทศ ระบุใช้เวลากว่าจะเห็นผล ขอให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่าด้อยค่าประเทศไทย

    14 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง และ โอลาฟ ชอล์ซ นายกรัฐมนตรีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แถลงความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  ดูเพิ่มเติม ›

    13 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แถลงกระชับความสัมพันธ์ทุกมิติ  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ เยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-14 มี.ค. 2567

    7 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ ร่วมประชุมผู้น่าอาเซียน-ออสเตรเลีย (Plenary) ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 4-6 มี.ค. 2567

    4 มี.ค. 2567

  • ไทย-กัมพูชา ลงนามและแลกเปลี่ยน MoU 5 ฉบับ ยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์”   ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 3-4 ก.พ. 2567 เพื่อเจรจาการค้าและร่่วมนามความตกลงการค้าเสรี (FTA)  ดูเพิ่มเติม ›

    3 ก.พ. 2567

  • มอบนโยบาย “การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” ในการประชุมเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ และฝ่ายส่งเสริมการลงทุน   ดูเพิ่มเติม ›

    21 พ.ย. 2566

  • แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ระบุถึงนโยบายต่างประเทศจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตแบบ "สมดุล"

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สนับสนุนความเป็นหลายขั้วอำนาจ
การต่างประเทศของไทยได้รับการวางแผนเอาไว้ว่าจะต้องเป็นการทูตเพื่อประชาชนและเป็นการทูตเชิงรุก.

เชิงกระบวนการ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

เชิงการเมือง

บทบาทของประเทศไทย
รักษาความสัมพันธ์อันดีระดับทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับพหุภาคีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้สมาคมอาเซียน.

บทความ

ดูทั้งหมด
เศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งสหรัฐ เตรียมรับสงครามการค้า

เศรษฐกิจไทยหลังเลือกตั้งสหรัฐ เตรียมรับสงครามการค้า

ไทยต้องเผชิญกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขึ้นกับความรุนแรงของการกีดกันการค้าหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังขยายตัวภายใต้ความไม่แน่นอนด้านนโยบาย แต่ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วิเคราะห์หลังเลือกตั้งสหรัฐ คาดอาเซียนได้ประโยชน์

วิเคราะห์หลังเลือกตั้งสหรัฐ คาดอาเซียนได้ประโยชน์

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้น 5 พ.ย. 67 เป็นตัวแปรที่กำหนดทิศทางนโยบายของสหรัฐฯ ในอีก 4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลต่อไปยังแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเศรษฐกิจโลก

OECD เริ่มกระบวนการ รับไทยเข้าเป็นสมาชิก

OECD เริ่มกระบวนการ รับไทยเข้าเป็นสมาชิก

OECD เริ่มเดินหน้ากระบวนการเข้าเป็นสมาชิกของประเทศไทย เป็นประเทศที่สองในอาเซียนต่อจากอินโดนีเซีย หวังการวิเคราะห์ทบทวนนโยบายสาธารณะอย่างเคร่งครัด จะช่วยผลักดันระเบียบวาระการปฏิรูป เพื่อที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580