ThaiPBS Logo

การคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ฯ มีเจตนารมณ์ให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ 2560 มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 กลุ่ม ประมาณ 6.1 ล้านคน ทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

นโยบายเพื่อการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ด้วยความพยายามผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์หลายฉบับ

“รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน”

ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 70 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ จึงจัดทำขึ้น โดยมีเจตนารมณ์ให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิเสมอภาคอย่างไม่เลือกปฏิบัติ เป็นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยวางหลักการและแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 กลุ่ม ประชากรเกือบ 7,000,000 คน

 

ปัจจุบันมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ทั้งหมด 5 ฉบับ

  • 1. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • 2. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร
  • 3. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง โดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ และเครือข่ายชาติพันธุ์
  • 4. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคก้าวไกล
  • 5. ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย โดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

 

ทั้ง 5 ฉบับ มีความแตกต่างกันในเชิงรายละเอียด เนื้อหา และกลไก โดยร่างของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เน้นเรื่องกลไก โครงสร้าง กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาชนเผ่าฯ ประสานงานเครือข่ายชาติพันธุ์ องค์กรต่าง ๆ จัดทำรายงานข้อเสนอที่เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง ต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่วนอีก 4 ฉบับ เน้นเรื่องการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ยึดหลักการสำคัญในทิศทางเดียวกัน 3 ประการ

  1. หลักการ “คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม” มุ่งให้ความคุ้มครอง กลุ่มชาติพันธุ์ในการเลือกดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตน โดยไม่ถูกคุกคามหรือถูกเลือกปฏิบัติจากความไม่เข้าใจวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ถูกละเมิดสิทธิในด้านต่าง ๆ
  2. หลักการ “ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์” โดยปรับกระบวนทัศน์ในการมองกลุ่มชาติพันธุ์จากเดิมที่พิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะผู้ด้อยโอกาส มาเป็นการมองกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยทัศนะที่มองเห็นและเข้าใจถึงศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ และปรับแนวทางในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นแนวทาง “เสริมศักยภาพ” ให้กลุ่มชาติพันธุ์เข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผน และกำหนดแนวทางในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  3. หลักการ “สร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากอคติทางวัฒนธรรมที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์

 

สำหรับสถานะของร่างกฎหมาย 5 ฉบับนั้น ร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เสนอโดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เสนอและบรรจุไว้ในวาระการพิจารณาของสภาแล้ว

อีก 3 ฉบับ ที่เสนอโดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ, กรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลาหลายทางเพศ และฉบับของพรรคก้าวไกล ถูกตีเป็นกฎหมายทางการเงิน ต้องใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีพิจารณาเซ็นรับรอง ขณะที่ล่าสุดพรรคก้าวไกลได้มีการยกร่างกฏหมายใหม่ เพื่อยื่นเสนอไปเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2566

ส่วนอีก 1 ฉบับ ซึ่งถือเป็นร่างรัฐบาล ผ่านกระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว และเสนอไว้รอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบรับหลักการ "ร่างกฎหมายชาติพันธุ์" ทั้ง 5 ฉบับ เดินหน้าตั้งกรรมาธิการพิจารณา  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ลงนามรับรอง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่เสนอโดย ขปส. และเครือข่ายชาติพันธุ์ เข้าชื่อกว่า 15,000 รายชื่อ ซึ่งถูกตีเป็นกม.ทางการเงิน

    19 ก.พ. 2567

  • ครม. อนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ เสนอ   ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.พ. 2567

  • เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม คาดดันร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ (ฉบับรัฐบาล) เข้าครม. ภายใน 2 สัปดาห์ ยืนยันดันทุกร่างฯ เข้าสภาฯ พร้อมกัน

    9 ม.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฏร พิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ แต่ครม. ขอนำกลับไปศึกษาภายใน 60 วัน โดยมีเงื่อนไขให้นำกลับมาพิจารณาในสภาฯ พร้อมกับกฎหมายที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันรวม 4 ฉบับ

    20 ธ.ค. 2566

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย แถลงขอบคุณสภาฯ อภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ เรียกร้องเร่งรับหลักการ ตั้งกมธ. พิจารณากฎหมาย

    19 ธ.ค. 2566

  • สภาผู้แทนราษฎร ให้ตัวแทนภาคประชาชนที่เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ ชี้แจงหลักการและสาระสำคัญของร่างกฎหมาย โดยมีการอภิปรายสนับสนุนกฎหมายจากตัวแทนสส. อย่างกว้างขวาง

    14 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมฟื้นฟูวิถีชีวิตทุกมิติ

    24 พ.ย. 2566

  • พีมูฟ ชุมนุมปักหลักประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องนโยบาย 10 ด้าน หนึ่งในนั้นคือนโยบายและการผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์ฯ

    2 ต.ค. 2566

  • กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น ร่วมกับภาคีเซฟบางกลอย จัดเวที 3 ปีบางกลอยคืนถิ่น ยืนยันกลับสู่ที่ดินบรรพบุรุษ พร้อมเรียกร้องผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์

    22 ส.ค. 2566

  • พรรคก้าวไกล ยื่นร่างกฎหมาย 16 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

    9 ส.ค. 2566

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประกาศเจตจำนงเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์ทุกฉบับให้ได้รับการพิจารณาจากรัฐสภา

    9 ส.ค. 2566

  • การลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล 7 พรรคการเมืองนำโดยพรรคก้าวไกล มีเรื่องการแก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินรัฐทับซ้อนที่ดินประชาชน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชุมชนชาติพันธุ์ เป็นหนึ่งในวาระร่วม

    22 พ.ค. 2566

  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ครั้งแรก

    23 พ.ย. 2565

  • ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) กลุ่มชาติพันธุ์ หอบ 16,599 รายชื่อยื่นสภาเสนอร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

    8 ธ.ค. 2564

  • มุกดา พงษ์สมบัติ ประธาน กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคณะ ยื่นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์

    16 มิ.ย. 2564

  • ส.ส.พรรคก้าวไกล ยื่นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร

    9 มิ.ย. 2564

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

    15 ก.พ. 2564

  • คณะทำงานร่างกฎหมายฯ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เปิดร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ครั้งแรก

    29 พ.ย. 2563

  • พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงนโยบายต่อสภาฯ ด้วยการกำหนดให้มีกฎหมาย “การส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์“ ตามแผนปฏิรูปประเทศ

    25 ก.ค. 2562

  • แผนปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม กำหนดให้มีการผลักดันกฎหมายชาติพันธุ์

    6 เม.ย. 2561

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ประกาศเป็นกฎหมาย
สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

เชิงกระบวนการ

กลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์
คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์
สร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เชิงการเมือง

ภาคประชาชนผลักดันกฎหมายได้สำเร็จ
ร่างกฎหมายที่เสนอโดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เสนอโดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ, กรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ถูกผลักดันจนผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้

บทความ/บทวิเคราะห์

ครม.รับพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมือง

ครม.รับพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมือง

ครม.รับพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ที่นายศักดิ์ดา แสนมี่ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 12,888 คน เป็นผู้เสนอ กำหนดเวลาในการพิจารณา 60 วัน
ร่างกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้สิทธิที่ดินทำกิน-ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

ร่างกฎหมายคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ให้สิทธิที่ดินทำกิน-ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

รัฐบาลอนุมัติร่างกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กำหนดเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้าถึงสิทธิที่อยู่อาศัย ประกอบอาชีพ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ในพื้นที่คุ้มครองได้ตามกฎหมายกำหนด แต่ต้องไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
โอกาสและทิศทาง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ใต้อุ้งมือรัฐบาลเศรษฐา

โอกาสและทิศทาง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ใต้อุ้งมือรัฐบาลเศรษฐา

กระแสเรียกร้องให้คุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์มีเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีร่างกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้จากสภาชนเผ่าพื้นเมือง ภาคการเมือง และภาคประชาชน Policy Watch นำบทวิเคราะห์ โดย อภินันท์ ธรรมเสนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ที่สะท้อนถึงสถานการณ์ ความท้าทาย และโอกาสของ พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ในปัจจุบัน