ThaiPBS Logo

สมรสเท่าเทียม

นโยบายแก้กฎหมาย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. … หรือ ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมให้กับคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ ให้ได้รับสิทธิและสวัสดิการคู่สมรสเหมือนคู่สมรสชาย-หญิง

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ครม. รับหลักการ เตรียมนำเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

ตัดสินใจ

รัฐสภาอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ดำเนินงาน

กมธ.วุฒิสภาพิจารณาร่างกฎหมายฯเสร็จแล้ว เตรียมเสนอที่ประชุมวุฒิสภาในวาระ 3

ประเมินผล

วุฒิสภามีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้าล่าสุด (18 มิถุนายน 2567)

  • 18 มิ.ย. 2567 ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง
  • 14 มิ.ย.2567 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. ….วุฒิสภาได้ดำเนินการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะส่งที่ประชุมวุฒิสภาในวาระ 3 ในวันที่ 18 มิ.ย. 2567
  • 2 เม.ย. 2567 ที่ประชุมวุฒิสภา ผ่านร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในวาระ 1 โดยเห็นชอบ 147 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง ตั้งกมธ.พิจารณาร่างฯ 27 คน โดยมีตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วม 9 คน
  • 27 มี.ค. 2567 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ผ่านร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในวาระ 3 โดยเห็นชอบ 400 เสียง ไม่เห็นชอบ 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง โดยมีสิทธิสมรส และสิทธิในคู่สมรส แต่ยังไม่มีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรร่วมกัน หลังจากนี้จะเข้าสู่ชั้นพิจารณาของ สว. ต่อไป

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ใน ‘รัฐบาลเศรษฐา’

ถ้อยแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 ต่อรัฐสภาว่ารัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มหลากหลายทางเพศ โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการให้ กระทรวงยุติธรรมเร่งดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม) หวังให้เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในประเทศไทย ทั้งในมิติด้านสังคมและการสร้างครอบครัว โดยจะทำให้เกิดการยอมรับในทางกฎหมายกับการสร้างครอบครัว การอยู่ร่วมกันของบุคคลมีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรส LGBTQ+ ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้รับหลักการเตรียมเข้าสภา 12 ธ.ค. 2566

โดย ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม) โดยภาครัฐ มีประเด็นสำคัญ คือ

  • 1. กำหนดให้บุคคลสองคนไม่ว่าเพศใด สามารถทำการหมั้นหรือสมรสกันได้
  • 2. แก้ไขคำว่า “ชาย” “หญิง” “สามี” “ภริยา” และ “สามีภริยา” เป็น “บุคคล” “ผู้หมั้น” “ผู้รับหมั้น” และ “คู่สมรส” เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมคู่หมั้น หรือคู่สมรส ไม่ว่าจะมีเพศใด
  • 3. เพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไปมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นเพศใด
  • 4. เพิ่มเหตุฟ้องหย่าให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน
  • 5. แก้ไขระยะเวลาการสมรสใหม่ ตามมาตรา 1453 ให้ใช้เฉพาะกับกรณีหญิงที่มีชายเป็นคู่สมรสเดิม จะสมรสใหม่กับชายเท่านั้น
  • 6. กำหนดให้มาตรา 1504 วรรคสอง กรณีหญิงมีครรภ์ ก่อนอายุครบตามมาตรา 1448 มีผลใช้บังคับเฉพาะกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น
  • 7. กำหนดให้มาตรา 1510 วรรคสอง กรณีหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์มีผลใช้บังคับเฉพาะกรณีการสมรสระหว่างชายหญิงเท่านั้น
  • 8. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ดำเนินการทบทวนกฎหมายในความรับผิดชอบที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสามี ภริยา สามีภริยา หรือคู่สมรส เพื่อรองรับสิทธิ หน้าที่ สถานะทางกฎหมาย หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวข้องให้แก่คู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ โดยต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับเพศสภาพของคู่สมรสด้วย และให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการทบทวนตามวรรคหนึ่ง และเสนอผลการทบทวนพร้อมทั้งร่างกฎหมายในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ต่อคณะรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
  • 9. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ

ทำไมต้องมี ‘พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม’

สิทธิในการมีชีวิตครอบครัว (Rights to Form a Family) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเข้าเป็นภาคี และเรื่องการห้ามการเลือกปฏิบัติยังได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดอนุญาตให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว สามารถจดทะเบียนเป็นคู่สมรส และได้รับสิทธิและหน้าที่ที่พึงมีพึงได้ เพราะการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายระบุว่าจะต้องเป็นการสมรสของชายและหญิงเท่านั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448) ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชน และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน

นอกจากนี้กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวของไทยถูกบัญญัติขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดว่าเพศมีเพียง  2 เพศ คือ ชาย และ หญิง เท่านั้น ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้การรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของคู่รัก LGBTQ+ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันที่มีคู่รัก LGBTQ+ อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวจำนวนมาก และการขาดเครื่องมือทางกฎหมายในการจัดการความสัมพันธ์ทางครอบครัว ส่งผลให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น

  • สิทธิในการตัดสินใจในการรักษาพยาบาล
  • สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  • สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
  • สิทธิในการรับมรดก 

ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เข้าสภา 4 ฉบับ

  • 1. ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ฉบับภาครัฐ
  • 2. ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ฉบับพรรคก้าวไกล 
  • 3. ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 – 6 พ.ศ. …. ฉบับประชาชน เสนอโดย เพิ่มทรัพย์ แซ่อึ้ง, ชุมาพร แต่งเกลี้ยง, เคท ครั้งพิบูลย์กับคณะ เปิดให้ประชาชนร่วมลงลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ผ่านเว็บไซต์ https://www.support1448.org/
  • 4. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….  ฉบับ พรรคประชาธิปัตย์ 

แนวทางเสนอกฎหมายและขั้นตอนพิจารณา

  • 1. การเสนอกฎหมายสามารถทำได้ผ่าน 3 ช่องทาง คือ
    • (1) คณะรัฐมนตรี
    • (2) ส.ส. 20 คน หรือ
    • (3) ประชาชน 10,000 รายชื่อ
  • 2. ต้องผ่านการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 3 วาระ คือ
    • วาระ 1 รับหลักการ
    • วาระ 2 พิจารณาหลักการ ตั้งคณะกรรมาธิการ และ
    • วาระ 3 ลงมติเห็นชอบ
  • 3. จากนั้นสมาชิกวุฒิสภา พิจารณาอีก 3 วาระ คือ
    • วาระ 1 รับหลักการ
    • วาระ 2 พิจารณาหลักการ ตั้งคณะกรรมาธิการ และ
    • วาระ 3 ลงมติเห็นชอบ
  • 4. ภายหลังวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในวาระ 3 แล้วนายกรัฐมนตรีจะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศ เพื่อประกาศลงในพระราชกิจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2567 หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม  ดูเพิ่มเติม ›

    24 ก.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ประกาศเจตนารมย์ของไทยในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัด InterPride World Conference 2025 และเตรียมเสนอเป็นเจ้าภาพ WorldPride 2030   ดูเพิ่มเติม ›

    13 ส.ค. 2567

  • ครม.รับทราบการแก้ไขถ้อยคำของกรรมาธิการวิสามัญฯ ในร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมแพ่งและพาณิชย์   ดูเพิ่มเติม ›

    13 ส.ค. 2567

  • ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 3 ด้วยคะแนนเสียง เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง  ดูเพิ่มเติม ›

    18 มิ.ย. 2567

  • กรรมาธิการวุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...)พ.ศ....(สมรสเท่าเทียม)

    14 มิ.ย. 2567

  • งาน Bangkok Pride Festival 2024 เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง Pride Month  ดูเพิ่มเติม ›

    1 มิ.ย. 2567

  • วุฒิสภา เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระ 1 ด้วยคะแนน 147 ต่อ 4 ตั้งกมธ. พิจารณาร่าง 27 คน

    2 เม.ย. 2567

  • สภาฯ เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม วาระ 3 ด้วยคะแนน 400 ต่อ 10  ดูเพิ่มเติม ›

    27 มี.ค. 2567

  • ครม. รับทราบข้อเสนอแนะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีสมรสก่อนวัยอันควร ปรับแก้เกณฑ์อายุเป็น 18 ปี

    3 ม.ค. 2567

  • สภาฯ ผ่านวาระแรก 369 ต่อ 10 เสียง รับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ ตั้ง กมธ. พิจารณาวาระสองโดยใช้ร่าง ครม. เป็นหลัก  ดูเพิ่มเติม ›

    21 ธ.ค. 2566

  • เข้าที่ประชุมสภาฯ วาระแรก 4 ฉบับ ไก้แก่ ฉบับรัฐบาล ประชาชน พรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์  ดูเพิ่มเติม ›

    21 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง เผย ครม. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เตรียมเสนอเข้าสภาฯ พิจารณา 21 ธ.ค.นี้ สร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ

    19 ธ.ค. 2566

  • ที่ประชุมสภาฯ มีมติไม่เห็นชอบข้อเสนอเลื่อนวาระการประชุมร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ของพรรคก้าวไกล

    13 ธ.ค. 2566

  • ครม.รับรองร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อใช้รับรองสมรสเท่าเทียม ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

    21 พ.ย. 2566

  • จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้แทนส่วนราชการ โดยส่วนใหญ่เห็นชอบในหลักการ

    14 พ.ย. 2566

  • กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และรับฟังความเห็น ผู้แทนภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม

    13 พ.ย. 2566

  • รับฟังความคิดเห็นร่วมกับผู้แทนกลุ่มศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 4 ครั้ง

    7 - 10 พ.ย. 2566

  • รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม รูปแบบออนไลน์ ทางเว็บไซต์ law.go.th และระบบ google forms

    31 ต.ค. 2566

  • กฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

    31 ต.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ประชุมเกี่ยวกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม กฎหมายรับรองเพศสภาพ เตรียมนำเข้า ครม.

    26 ต.ค. 2566

  • แถลงนโยบายต่อสภาฯ จะผลักดันกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มหลากหลายทางเพศ

    11 ก.ย. 2566

  • สภาผู้แทนราษฎร รับหลักการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ 4 ฉบับ

    15 มิ.ย. 2565

  • Bangkok Naruemit Pride 2022 จัดขบวนฉลอง Pride Month ครั้งแรกของ กทม. เรียกร้องสิทธิเท่าเทียม สิทธิทางก.ม.

    5 มิ.ย. 2565

  • “กลุ่มภาคีสีรุ้งเพื่อการสมรสเท่าเทียม” จัดชุมนุมสี่แยกราชประสงค์ พร้อมเปิดเข้าชื่อเพื่อนำเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมภาคประชาชน ผ่าน www.support1448.org

    28 พ.ย. 2564

  • ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ “เอกฉันท์” ว่า มาตรา 1448 ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่แนะให้ทุกภาคส่วน เร่งตรากฎหมายเพื่อรับรองสิทธิเพศหลากหลาย

    17 พ.ย. 2564

  • “เพชร-ดาว” คู่รักเพศหลากหลาย ถูกปฏิเสธจดทะเบียนสมรส ทั้งคู่จึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่า การสมรสเพียงเพศชายและหญิง ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1448 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

    2564

  • ดลวัฒน์ ไชยชมภู ครูหญิงข้ามเพศ สูญเสียคู่ชีวิตที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โดยไม่สามารถมอบสิทธิ สวัสดิการ เบิกจ่ายยา ค่ารักษาพยาบาล ให้กับคนรักได้ เนื่องจากเป็นคู่รักเพศเดียวกัน

    31 ธ.ค. 2563

  • แนวคิด “พ.ร.บ. คู่ชีวิต” ถูกนำกลับมาปัดฝุ่นใหม่ใน รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ภายใต้คำใหม่ “สมรสเท่าเทียม” ร่างกฎหมายภาคประชาชนชน และ พรรคก้าวไกล ผ่านได้แค่วาระ 1 ทำให้กฎหมายตกไปในที่สุด

    2563

  • การผลักดันร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ยุติลง ภายหลังเกิดรัฐประหาร

    2557

  • เริ่มดำเนินการร่างกฎหมาย “พ.ร.บ.คู่ชีวิต” ในสมัย รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ แต่ไม่ได้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ขณะที่ตะวันตก มี พ.ร.บ.คู่ชีวิต ออกมาบังคับใช้ ไทยจึงเริ่มขับเคลื่อนอย่างจริงจัง

    2556

  • เกิดกรณีคู่รักเพศหลากหลายถูกปฏิเสธการจดทะเบียนสมรส จึงร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

    2554

  • เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกที่รับรองให้การแต่งงานของเพศหลากหลาย ถูกต้องตามกฎหมาย ไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ พยายามขับเคลื่อนประเด็นนี้แต่แนวคิดนี้ตกไปเพราะกระแสสังคมเวลานั้นยังไม่พร้อมสำหรับเรื่องนี้

    2544

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ประกาศเป็นกฎหมาย
มีการแก้เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เชิงกระบวนการ

ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน
กฎหมายที่ประกาศมีผลบังคับใช้ โดยผ่านการมีส่วนร่วมของทั้งฝ่ายการเมือง และภาคประชาชน ให้ความเห็นชอบและไม่มีข้อโต้แย้ง

เชิงการเมือง

ตอบโจทย์พื้นฐานโครงสร้างสังคม
กฎหมายที่ประกาศใช้ สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนที่มีความหลากหลาย ให้ได้รับความเสมอภาคในการสร้างครอบครัวโดยมีกฎหมายรองรับ

อินโฟกราฟิก

Image 0

บทความ

ดูทั้งหมด
เตรียมตัวอย่างไรดี รับกฎหมายสมรสเท่าเทียม

เตรียมตัวอย่างไรดี รับกฎหมายสมรสเท่าเทียม

กฎหมายสมรสเท่าเทียมที่มาพร้อมกับสิทธิต่าง ๆ มากมาย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการแต่งงาน แต่ยังมีผลกระทบต่อทั้งตัวคู่รักเพศหลากหลาย และต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ดังนั้นยังมีประเด็นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องเตรียมความพร้อม เพื่อบังคับใช้กฎหมายสมรสอย่างมีประสิทธิภาพ

แก้ถ้อยคำในร่างก.ม.สมรสเท่าเทียม ให้ครอบคลุมทุกเพศ

แก้ถ้อยคำในร่างก.ม.สมรสเท่าเทียม ให้ครอบคลุมทุกเพศ

ครม.เห็นชอบปรับถ้วยคำในร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม หรือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯเสนอ ปรับบางถ้วยคำให้ครอบคลุมมากขึ้น ให้มีความเป็น"กลางทางเพศ" และ รองรับ "อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ"

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ปลดล็อกที่อยู่อาศัย LGBTQIAN+

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ปลดล็อกที่อยู่อาศัย LGBTQIAN+

กฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องความเสมอภาคทางเพศในสังคมไทย หลังมีการต่อสู้เรียกร้องมายาวนาน ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะเปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย