ThaiPBS Logo

เลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

การเลือกวุฒิสมาชิก (สว.) ในปี 2567 เป็นการเลือกภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญก่อนหน้านั้น แม้ว่าจะมีเจตนารมย์เพื่อให้มีวุฒิสมาชิกที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมากในเรื่องของกฏกติกาในการเลือกตั้ง เพราะเป็นการเลือกตั้งโดยผู้สมัคร

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ตามรัฐธรรมนูญ 2560

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเหมือนกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่มีข้อแตกต่างกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ในเรื่องของจำนวนสว. ที่มา และการสังกัดพรรคการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กําหนดวุฒิสภามี 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เป็นไปตามบทเฉพาะกาลที่กําหนดให้วุฒิสภามีจํานวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคําแนะนํา โดยมาจากการดําเนินการจัดให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภาของคณะกรรมการการเลือกตั้งจํานวน 50 คน และมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาจํานวน 194 คน รวมกับผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการ ทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ โดยดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ช่วงที่ 2  หลังจากพ้นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกในช่วงแรก กำหนดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสมาชิก 200 คน

แต่แทนที่จะมีการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง เปลี่ยนเป็นมาจากการเลือกกันเองของบุคคล ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์อาชีพ โดยแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มอาชีพ และขั้นตอนการเลือกตั้งมีหลายระดับ จากระดับอำเภอ สู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งจะได้สว. จำนวน 200 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้ที่สนใจและประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เตรียมความพร้อมตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัคร โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก

(3) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 10 ปี (ไม่ใช้บังคับแก่สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น ซึ่งสมัครในกลุ่มตามมาตรา 11 (14) และ (15))

(4) ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย

  • เป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  • ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
  • เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณีเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา

ผู้สมัครจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561

หากผู้ใดฝ่าฝืน รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกไม่ว่าเพราะเหตุใด ได้สมัครรับเลือกต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี นอกจากนี้ ผู้ใดรับรองหรือเป็นพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี

ลักษณะต้องห้าม

ลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา 3 ประเด็น ดังนี้

  • กรณีเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ออกจากการเป็นสมาชิกกี่วัน
  • กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่
  • กรณีบุคคลดำรงตำแหน่งคณะกรรมการชุมชน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชน พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่สอง พ.ศ.2566 ข้อ 16 และ ข้อ 18 วรรคสอง ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ถ้าไม่ ต้องลาออกในวันรับสมัครหรือไม่ และกี่วัน

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาแล้ว มีความเห็นดังนี้

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 14 (21) กำหนดว่า ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในวันสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา บุคคลซึ่งสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใด ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครตามมาตรา 14 (21) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 4 กำหนดคำนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ซึ่งหมายความว่า (1) นายกรัฐมนตรี (2) รัฐมนตรี (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (4) สมาชิกวุฒิสภา (5) ข้าราชการการเมืองอื่นนอกจาก (1) และ (2) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง (6) ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา กรณีตามข้อหารือเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง จึงเทียบเคียงจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยมีคำวินิจฉัยที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543สรุปลักษณะของ “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ไว้ โดยเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งตามกฎหมายรวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการหรือหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติงานประจำโดยอยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลของรัฐและมีเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนตามกฎหมาย

ดังนั้น บุคคลใดจะมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐหรือไม่ ต้องพิจารณาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ควรหารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อวินิจฉัยว่าตำแหน่งคณะกรรมการชุมชนอยู่ในความหมายของคำว่า “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามแนวคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้นหรือไม่

การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ก่อนที่ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 มีผลใช้บังคับ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอเรียนว่า ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 เมษายน 2567 และระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ดังนั้น เพื่อให้การแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอให้ผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 และพึงระมัดระวังในการดำเนินการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกำหนดด้วย

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เก็บรวบรวมข้อมูลของบุคคล กลุ่มบุคคล ที่ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ รวมถึงการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้ด้วยแล้ว และหากพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิด จักดำเนินการตามที่กฎหมายและระเบียบกำหนดต่อไป

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • กกต.ชี้แจงสื่อกรณีการคัดเลือก สว. ยืนยันได้ครบ 200 คนตามไทม์ไลน์ เผยปรับแก้ระเบียบให้ผู้สมัครแนะนำตัวผ่านโซเชียลได้ แจงแนวทางการปฏิบัติตัวของสื่อยังทำหน้าที่ได้ตามปกติ  ดูเพิ่มเติม ›

    14 พ.ค. 2567

  • กกต.มีมติเปิดรับสมัครเลือก สว. วันที่ 20-24 พ.ค.67 และกำหนดเลือก สว.ระดับอำเภอ 9 มิ.ย. ระดับจังหวัด 16 มิ.ย.67และระดับประเทศ 26 มิ.ย.67  ดูเพิ่มเติม ›

    13 พ.ค. 2567

  • สว. ชุดที่ 13 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2560 จากการเลือกกันเอง จำนวน 200 คน มีวาระ 5 ปี

  • (คาด) ประกาศผลการเลือก สว. ชุดที่ 13  ดูเพิ่มเติม ›

    2 ก.ค. 2567

  • เลือก สว. ระดับประเทศ  ดูเพิ่มเติม ›

    26 มิ.ย. 2567

  • เลือก สว. ระดับจังหวัด  ดูเพิ่มเติม ›

    16 มิ.ย. 2567

  • เลือก สว. ระดับอำเภอ  ดูเพิ่มเติม ›

    9 มิ.ย. 2567

  • รับสมัครผู้ประสงค์อยากเป็น สว.  ดูเพิ่มเติม ›

    20 - 24 พ.ค. 2567

  • กกต. ประกาศวันกำหนดและวันที่รับสมัคร สว.  ดูเพิ่มเติม ›

    13 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พ.ร.ก. ให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567

    11 พ.ค. 2567

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 12 ตามวาระ 5 ปี

    10 พ.ค. 2567

  • สว. ชุดที่ 12 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2560 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ตามที่ คสช. ถวายคำแนะนำ จำนวน 250 คน มีวาระ 5 ปี

    11 พ.ค. 2562 - 11 พ.ค. 2567

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 11 จากประกาศ คสช. 30/2557 เรื่อง ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง

    24 พ.ค. 2557

  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก่อรัฐประหาร

    22 พ.ค. 2557

  • สว. ชุดที่ 11 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2550 จากการเลือกตั้ง (77 คน - จังหวัดละ 1 คน และมีการตั้ง จ.บึงกาฬ เพิ่มขึ้นมา) และสรรหา (73 คน) จำนวน 150 คน มีวาระ 6 ปี

    มี.ค. 2557- 24 พ.ค. 2557

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 10 ตามวาระ 6 ปี

    มี.ค. 2557

  • สว. ชุดที่ 10 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2550 จากการเลือกตั้ง (76 คน - จังหวัดละ 1 คน) และสรรหา (74 คน) จำนวน 150 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    มี.ค. 2551 - มี.ค. 2557

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 9 จากการที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อรัฐประหาร

    19 ก.ย. 2549

  • สว. ชุดที่ 9 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 จากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 200 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    9 พ.ค. 2549 - 19 ก.ย. 2549

  • เลือกตั้ง สว. ครั้งที่สอง (วุฒิสภาชุดที่ 9)

    19 เม.ย. 2549

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 8 ตามวาระ 6 ปี

    22 มี.ค. 2549

  • สว. ชุดที่ 8 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 จากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 200 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2543 - 22 มี.ค. 2549

  • เลือกตั้ง สว. ครั้งแรก (วุฒิสภาชุดที่ 8)

    4 มี.ค. 2543

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 7 ตามวาระ 4 ปี

    22 มี.ค. 2543

  • สว. ชุดที่ 7 กำหนดในรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2538 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 260 คน (2/3 ของจำนวนสส.) มีวาระ 4 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2539 - 22 มี.ค. 2543

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 6 ตามวาระ 6 ปี

    22 มี.ค. 2539

  • สว. ชุดที่ 6 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2534 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 270 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 มี.ค. 2535 - 22 มี.ค. 2539

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 5 จากการที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ก่อรัฐประหาร

    23 ก.พ. 2534

  • สว. ชุดที่ 5 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2521 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 225 คน (ไม่เกิน 3/4 ของจำนวนสส.) มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    22 เม.ย. 2522 - 23 ก.พ. 2534

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 4 จากเหตุุการณ์ 6 ต.ค. 2519 และ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ก่อรัฐประหาร

    6 ต.ค. 2519

  • สว. ชุดที่ 4 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2517 จากการเลือกและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 100 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    26 ม.ค. 2518 - 6 ต.ค 2519

  • เหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516

    14 ต.ค. 2516

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 3 จากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเอง

    17 พ.ย. 2514

  • สว. ชุดที่ 3 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2511 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 120 คน (3 ใน 4 ของจำนวน สส.) มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    4 ก.ค. 2511 - 17 พ.ย. 2514

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 2 จากการที่ จอมพลป. พิบูลสงคราม รัฐประหารตัวเอง

    29 พ.ย. 2494

  • สว. ชุดที่ 2 กำหนดในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2490 จากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ จำนวน 100 คน (เท่าจำนวน สส.) มีวาระ 6 ปั  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2490 - 29 พ.ย. 2494

  • สิ้นสุดสมาชิกภาพของ สว. ชุดที่ 1 จากการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ก่อรัฐประหาร

    8 พ.ย. 2490

  • สว. ชุดที่ 1 กำหนดในรัฐธรรมนูญ 2489 จากการเลือกตั้งโดยทางอ้อมและลับ จำนวน 80 คน มีวาระ 6 ปี  ดูเพิ่มเติม ›

    24 พ.ค. 2489 - 8 พ.ย. 2490

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

การเลือกสว.
เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เป็นการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัคร

เชิงกระบวนการ

การเลือกสว.ระดับอำเภอ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ผู้ได้คะแนนสูงสุด 1-5 จะเข้าไปเลือกรอบที่ 2 โดยเลือกในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน โดยผู้ได้รับ 3 อันดับแรกจะเป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอ
การเลือกสว.ระดับจังหวัด
การเลือกรอบที่ 1 โดยเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน โดยได้ผู้มีคะแนนสูงสุด 1-5 อันดับแรกเหมือนระดับอำเภอ แต่เลือกรอบที่ 2 ผู้ได้รับเลือกสูงสุด 2 อันดับแรก
การเลือกสว.ระดับประเทศ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่ม 1-40 อันดับแรก และในรอบที่ 2 เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นสายเดียวกัน 1-10 เป็นสว.

เชิงการเมือง

การมีส่วนร่วม
เลือกจากผู้สมัครรับเลือกตั้ง

อินโฟกราฟิก

policy-forum-9-i-s-9961482-0policy-forum-9-i-s-9961484-0policy-forum-9-i-s-9961485-0

บทความ/บทวิเคราะห์

กติกาเลือกสว. แก้บล็อกโหวต-ได้คนคุณภาพจริงหรือ?

กติกาเลือกสว. แก้บล็อกโหวต-ได้คนคุณภาพจริงหรือ?

กติกาเลือกสว. แม้จะมีเจตนาเพื่อต้องการให้เกิดความอิสระและปลอดอิทธิพลพรรคการเมือง แต่กลับสร้างความสับสนและความไม่เชื่อมั่นต่อระบบเลือกตั้ง นักวิชาการไม่เชื่อสว.ใหม่เปลี่ยนบ้านเมืองได้ ด้านภาคประชาชนกังวลมีช่องโหว่เสี่ยงฮั้วกัน เปิดทางให้เทคะแนนโหวตเพื่อบล็อกคู่แข่ง
เปิดบันทึก "มีชัย ฤชุพันธ์" ต้นคิดที่มาสว.

เปิดบันทึก "มีชัย ฤชุพันธ์" ต้นคิดที่มาสว.

การเลือกตั้งสว.ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมด้วยกติกาใหม่ที่หลายคนงง และออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) อย่างรุนแรง แต่จะรู้หรือไม่ว่ากติกาที่ว่ามาจากไหน และใครเป็นผู้เสนอ ถ้าไม่ใช่ มีชัย ฤชุพันธ์ุ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
จับตาสว.ชุดใหม่ มีอำนาจโหวตแก้รธน.-ตั้งองค์กรอิสระ

จับตาสว.ชุดใหม่ มีอำนาจโหวตแก้รธน.-ตั้งองค์กรอิสระ

การเลือกตั้ง สว.ชุดใหม่ของไทย เป็นเรื่องที่ควรจับตา หลัง ชุดเดิมยุคแต่งตั้งจาก คสช.ใกล้หมดวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ซึ่ง สว.มีอำนาจสูงสุด คือ โหวตแก้รัฐญธรรมนูญ และแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตรวจสอบอิสระต่าง ๆ